ธุรกิจการตลาด

แอร์บัส เร่งพัฒนาเครื่องบินใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

28 พ.ค. 65
แอร์บัส เร่งพัฒนาเครื่องบินใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

อนาคตเครื่องเครื่องบินจะเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่เชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยบริษัทผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ของโลก ทั้งแอร์บัส โบอิ้ง โรลส์รอยซ์  ต่างกำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน“ หรือ  SAF ย่อมาจาก Sustainable aviation fuel 



ล่าสุดบริษัทแอร์บัส ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องบินจากยุโรปได้เปิดตัว  ศูนย์พัฒนาการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ในฟิลตัน บริสตอล สหราชอาณาจักร  ตัวย่อคือ  ZEDC ศูนย์แห่งนี้กำลังวิจัย และพัฒนา เพื่อออกแบบให้การผลิตเครื่องบินเจเนอเรชั่นถัดของแอร์บัสสามารถนำเอาเทคโนโลยีไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้จริง  และเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคือ ต้องทำให้เทคโนโลยนี้เป็นต้นทุนที่แข่งขันได้  



การศึกษาและพัฒนาเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้เริ่มมาหลายปีแล้ว แต่เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน“ หรือ  SAF ยังคงมีต้นทุนที่สูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก ดังนั้นจึงยังคงมีการวิจัยและพัฒนาอย่างมากที่จะหาวิธีทำให้ต้นทุนของเชื้อเพลิงแบบ  SAF สามารถนำมาใช้ได้จริง   

Airbus ZEROe

ภาพAFP จำลองครื่องบินแบบผสมผสานของเครื่องบิน "Airbus ZEROe"

ที่ปล่อยก๊าซไฮโดรเจนเป็นศูนย์   ที่บูธของ Airbus SE งาน Dubai Airshow ปี 2021

 

 

สำหรับแอร์บัสมุ่งเน้นไปที่พลังงานไฮไดรเจน  มีภาพการจำลองในคอนพิวเตอร์ โดยพัฒนาเครื่องบินต้นแบบ "ไฮบริด-ไฮโดรเจน" ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ 3 ลำภายใต้ชื่อเล่น ZEROe และเปิดตัวตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 และแอร์บัส มีเป้าหมายพัฒนา "เครื่องบินพาณิชย์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์" ภายในปี 2035 หรือ พ.ศ. 2578 อีก 13 ปีข้างหน้า 

 

Airbus ZEROe
ภาพจำลองเครื่อง Airbus ZEROe"

 

ศูนย์พัฒนาการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ZED จะช่วยเสริมงานวิจัยและเทคโนโลยีที่มีอยู่ของแอร์บัสในสหราชอาณาจักร  และZEDC ของแอร์บัสยังมีอยู่ในอีก 3  ประเทศ  คือ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน   รวมทั้ง 4 ศูนย์ที่จะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนกับเครื่องบิน โดยเฉพาะที่สหราชอาณาจักร  จะช่วยขยายขีดความสามารถในอุตสาหกรรมของแอร์บัสในการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และผลิตถังเก็บไฮโดรเจนแบบแช่เยือกแข็ง และระบบที่เกี่ยวข้องสำหรับโครงการ ZEROe ทั่วทั้งสี่ประเทศบ้านเกิดของแอร์บัส 



Sabine Klauke หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของแอร์บัส  คาดว่า ZEDC ของแอร์บัสทั้งหมดจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์และพร้อมทดสอบภาคพื้นดินด้วยถังไฮโดรเจนแช่แข็งที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ถังแรกในช่วงปี 2566 และจะเริ่มทำการทดสอบการบินในปี 2569 หรือ ปี2026 

 

อุตสาหกรรมการบินกำลังตระหนักถึงความสำคัญ ที่ตัวเองได้การปล่อยก๊าซคาร์บอน และเป็นสาเหตุสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และไม่เพียงแต่แอร์บัสเท่านั้น หลายแห่งกำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเช่นกัน 

 

Guillaume Faury ซีอีโอของแอร์บัสให้สัมภาษณ์กับ CNBC เมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่า การบินจะ “อาจเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ หากเราไม่สามารถจัดการกำจัดคาร์บอนด้วยความเร็วที่เหมาะสม” ขณะที่ปัจจุบันเครื่องบินที่บริษัทแอร์บัสส่งมอบ สามารถมีกำลังการผลิตที่ผ่านการรับรองสำหรับเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน  SAF ได้ 50% แล้วและแอร์บัสจะพยายามไปถึง 100% ภายในสิ้นทศวรรษนี้ซึ่งนั่นหมายถึงการที่บริษัทจะต้องมีภาระทั้งด้านวิศวกรรม การวิจัย และเงินทุนจำนวนมาก

 

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ อธิบายว่า ไฮโดรเจนมีการใช้งานที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายเช่นกัน มันสามารถผลิตได้หลายวิธี วิธีหนึ่งคือ การใช้อิเล็กโทรไลซิสด้วยกระแสไฟฟ้าที่แยกน้ำออกเป็นออกซิเจนและไฮโดรเจน

 

ภาพจำลองเครื่อง Airbus ZEROe
ภาพจำลองเครื่อง Airbus ZEROe"

 

 

ที่มา 

https://www.cnbc.com/2022/05/27/airbus-sets-up-uk-facility-to-focus-on-hydrogen-tech-for-aircraft.html

https://www.airbus.com/en/newsroom/press-releases/2022-05-airbus-increases-its-uk-innovation-footprint-to-develop-new

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT