เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 สำนักงานเลขาธิการ Ramsar หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เผยแพร่รายงาน Global Wetland Outlook 2025
มีใจความสำคัญเตือนถึงการหายไปอย่างรสดเร้วของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก และมากกว่าระบบนิเวศตามธรรมชาติใด และยังให้แนวทางการรักษาและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ด้วย
พื้นที่ชุ่มน้ำคือ ลักษณะทางภูมิประเทศรูปแบบหนึ่ง ที่น้ำเป็นส่วนประกอบหลักในการควบคุมสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะชีวิตพืชและสัตว์ และหมายถึงพื้นที่ที่ระดับน้ำใต้ดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน หรือผิวหน้าปกคลุมไปด้วยน้ำ มีน้ำขัง นับรวมทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น
พื้นที่ชุ่มน้ำมี 5 ประเภทหลักคือ:
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้าง เช่น บ่อกุ้ง บ่อปลา ที่ดินเกษตรชลประทาน นาเกลือ อ่างเก็บน้ำ บ่อกรวด ฟาร์มบำบัดน้ำเสีย และ คลอง
พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถเกิดได้ทุกที่ ตั้งแต่ทุ่งหญ้าทุนดราจนถึงป่าเขตร้อน โดยศูนย์ติดตามการอนุรักษ์โลกแห่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP-WCMC) ได้เสนอค่าประมาณการอยู่ที่ 570 ล้านเฮกตาร์ (5.7 ล้านตารางกิโลเมตร) หรือราว 6% ของพื้นที่ผิวแผ่นดินของโลก
อย่างไรก็ตาม การทบทวนทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกที่การประชุม COP7 ของอนุสัญญาแรมซาร์ในปี 1999 แม้จะยืนยันว่า ระบุขนาดพื่นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกไม่ได้ แต่ประมาณพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกไว้ที่ระหว่าง 748 ถึง 778 ล้านเฮกตาร์ หรือราว 7.48 ถึง 7.78 ล้านตารางกิโลเมตร
สำหรับประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ 22,885,100 ไร่ หรือราว 7.5% ของพื้นที่ประเทศ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ตั้งแต่ปี 2541
ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมพื้นที่ประมาณ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541 โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) จำนวน 14 แห่ง เรียงตามลำดับ ดังนี้
1) พรุควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง
2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จ.หนองคาย
3) ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม
4) ปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่
5) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย
6) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ (พรุโต๊ะแดง) จ.นราธิวาส
7) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง จ.ตรัง
8) อุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ จ.ระนอง
9) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
10) อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา
11) กุดทิง จ.บึงกาฬ
12) อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
13) เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช
14) เกาะระ เกาะพระทอง จ.พังงา
หมายเหตุ มีพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ จำนวน 6 แห่ง
แม้พื้นที่ชุ่มน้ำจะมีสัดส่วนไม่มาก หรือครอบคลุมพื้นผิวโลกเพียง 6% แต่ก็เป็นบริเวณที่มีระบบนิเวศโลกอยู่มาก โดยคิดเป็น 7.5% ของ GDP โลก หรือ 1,420 ล้านล้านบาทต่อปี
ฮิวจ์ โรเบิร์ตสัน ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และการทบทวนทางเทคนิคของอนุสัญญาแรมซาร์กล่าวถึงความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ
“พื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญต่อวัฏจักรน้ำ ต่อการตอบสนองระดับโลกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และต่อความเป็นอยู่ของผู้คนนับพันล้าน”
แต่แม้จะมีมูลค่าสูงมากด้านนิเวศวิทยา พื้นที่ชุ่มน้ำกลับได้งบประมาณสนับสนุนไม่มากนัก โดยได้รับเงินทุนด้านภูมิอากาศที่จัดสรรสำหรับแนวทางจากธรรมชาติน้อยกว่า 9% ของทั้งหมด มูซอนดา มุมบา เลขาธิการอนุสัญญาแรมซาร์สะท้อนการมองข้ามพื้นที่ชุ่มน้ำ
“พื้นที่ชุ่มน้ำยังคงถูกมองข้ามในงบประมาณ เป็นตัวแทนน้อยมากในแผน และได้รับการสนับสนุนน้อยในการดำเนินงาน”
นอกจากนี้ Ramsar เปิดเผยผ่านรายงานประจำปีว่า ตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา ราว 22% ของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกสูญหายไป และราว 1 ใน 5 ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังอยู่ในโลกตอนนี้จะเข้าสู่ภาวะเสี่ยงภายในครึ่งทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม รายงานเน้นย้ำว่า การแก้ปัญหาต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน และได้ให้ 4 ขั้นตอนในการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ คือ:
และรายงานประจำปีของแรมซาร์ชี้ว่า เราสามารถเปลี่ยนความเสียหายได้ด้วยการลงทุนเชิงรุก ได้แก่
อ้างอิง: Ramsar, Mongabay , ONEP