Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สหรัฐฯ เลิกแชร์ข้อมูลคุณภาพอากาศ ผู้เชี่ยวชาญชี้กระทบทั่วโลก
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

สหรัฐฯ เลิกแชร์ข้อมูลคุณภาพอากาศ ผู้เชี่ยวชาญชี้กระทบทั่วโลก

7 มี.ค. 68
14:22 น.
แชร์

5 มีนาคม 2568 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (U.S. Department of State) ประกาศเลิกเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศในโครงการตรวจสอบสภาพอากาศ (air quality monitoring program) ที่เก็บจากสถานเอกอักครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่สหรัฐทั่วโลก 

ข้อมูลคุณภาพอากาศดังกล่าวคือข้อมูลที่ปรากฎบนแอพพลิเคชัน AirNow แอพพลิเคชันรายงานคุณภาพอากาศที่อ้างอิงข้อมูล Air Quality Index (AQI) จากทางการสหรัฐฯ และยังเผยแพร่บนช่องทางอื่นๆ อย่างแอพพลิเคชัน ZephAir ที่ช่วยให้ผู้คนมากมาย รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากทั่วโลกสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพอากาศได้


ทำไมสหรัฐฯ เลิกแชร์ข้อมูลอากาศ?

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้เหตุผลผ่านแถลงการณ์เมื่อวันพุธว่าเป็นเพราะข้อจำกัดด้านแหล่งทุนที่ทำให้แผนกต้องปิดเครือข่ายบางส่วน และยังบอกอีกว่าสถานเอกอัครรราชทูตและสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ทั่วโลกจะยังคงเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศต่อไป และสามารถกลับมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้หากสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในอนาคต

แม้แถลงการจะไม่ได้ระบุเอาไว้แน่ชัดว่า “ข้อจำกัดด้านงบประมาณ” ที่เป็นสาเหตุการเลิกแบ่งปันข้อมูลหายไปได้อย่างไร และเป็นงบประมาณส่วนไหน แต่สื่อต่างประเทศ EuroNews อ้างอิงการรายงานของ the New York Times ว่าเป็นส่วนหนึ่งขอการตัดงบประมาณของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ


นักวิทยาศาสตร์กังวล

ภาร์กาฟ คริชนา ผู้เชี่ยวชาญด้านมลภาวะทางอากาศในกรุงนิวเดลีกล่าวว่า “ข้อมูลนี้เป็นหนึ่งในเซ็นเซอร์ที่เรามีอยู่น้อยนิดในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ มันเป็นแหล่งอ้างอิงที่ทำให้เราเข้าใจคุณภาพอากาศ [...] แล้วยังเป็นแหล่งเปรียบเทียบที่ดีและไม่มีอคติที่เราใช้ตรวจสอบเปรียบเทียบกับข้อมูลท้องถิ่นเวลาที่เรากังวลเรื่องมลภาวะทางอากาศได้ด้วย

ด้านคาลิด คาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมจากปากีสถานกล่าวว่าการหยุดเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศของสหรัฐฯ ครั้งนี้จะ “มีผลลัพธ์ร้ายแรงตามมา” และยังบอกอีกว่า “ข้อมูลนี้เป็นแหล่งข้อมูลคุณภาพอากาศที่เป็นอิสระจากเครือข่ายการตรวจสอบท้องถิ่น เป็นข้อมูลอีกชุดให้เราเปรียบเทียบ” 

คานผู้มาจากเมืองเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน หนึ่งในเมืองที่ประสบปัญหาคุณภาพอากาศมากที่สุดในโลกอธิบายเพิ่มเติมว่าข้อมูลที่ทางการสหรัฐฯ เผยแพร่มาตลอดนั้น เป็นข้อมูลเรียลไทม์ที่ผู้เขียนนโยบาย นักวิจัย และประชาชนใช้งาน

“การถอนตัวครั้งนี้หมายถึงช่องว่างขนาดใหญ่ในการสังเกตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึงประชาชนไม่มีข้อมูลที่แน่นอนว่าอากาศที่เป็นอันตรายเป็นอย่างไร” คานกล่าวเสริม

มากกว่าสิบประเทศในแอฟริกาใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศจากทางการสหรัฐฯ และหลายประเทศเชื่อถือข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลหลัก โดยเฉพาะในประเทศยากจน เนื่องจากสถานีติดตามคุณภาพอากาศมีราคาแพงและยากต่อการดูแล

โครงการตรวจสอบคุณภาพอากาศโดยทางการสหรัฐฯ เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2008 ที่สถานเอกอัคราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงปักกิ่ง ปัจจุบันแอพพลิเคชัน ZephAir จากทางการสหรัฐฯ เผยแพร่ข้อมูลให้สถานที่กว่า 80 แห่งทั่วโลก

อ้างอิง: The Hill, EuroNews, กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ


แชร์
สหรัฐฯ เลิกแชร์ข้อมูลคุณภาพอากาศ ผู้เชี่ยวชาญชี้กระทบทั่วโลก