อินไซต์เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยจะเดินหน้าอย่างไร? หลังเผชิญหน้าความเสี่ยงรอบด้าน

16 ก.ค. 66
เศรษฐกิจไทยจะเดินหน้าอย่างไร? หลังเผชิญหน้าความเสี่ยงรอบด้าน
ไฮไลท์ Highlight
“เชื่อว่าปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลให้การอนุมัติงบประมาณนี้ในปีนี้ล่าช้าออกไปประมาณ 3 เดือน ในทางปฏิบัติน่าจะมีการเตรียมความพร้อมเรื่องการใช้งบประมาณจ่ายไปพลางไว้ก่อนแล้ว จึงไม่น่ากระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมาก” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว

สถานการณ์ของไทยขณะนี้ ทุกสายตาทั่วโลกจับจ้องไปที่ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย การเมืองไทยจะไปทางไหน? จัดตั้งรัฐบาลได้เมื่อไหร่? ยืดเยื้อไปปีหน้าหรือไม่ ?

ปัจจัยนี้ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันเศรษฐกิจไทย จากปัจจัยรุมเร้าจากรอบทิศทางทาง ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มีเพียงงการท่องเที่ยวเท่านั้น เป็นแรงผลักดันสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

ทีม SPOTLIGHT ได้รวมรวมความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ ทั้งจาก ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ศูนย์วิจัยกรรมการรองผู้จัดการใหญ่  และเลขานุการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และKrungthai COMPASS ต่อเศรษฐกิจไทย และมุมมองทางเศรษฐกิจจากการความไม่แน่นอนของการเมือง

bbl_01

เศรษฐกิจไทยในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่

ดร.กอบศักดิ์ มองว่า แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว อยู่ในระดับประคับประคองกันไป และได้แรงขับเคลื่อนหลักจากภาคอุตสหกรรมการท่องเที่ยว จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งจะมีตลาดนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยจะช่วยชดเชยภาคการส่งออกและภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบ 

โจทย์สำคัญของรัฐบาลขณะนี้ คือ การสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยได้ง่ายขึ้น เช่น การผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าเดินทางเข้าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยอัตโนมัติเช่นกัน ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นต้น 

ที่สำคัญเมื่อภาคการท่องเที่ยวช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเดินหน้า จะช่วยสร้างรายได้ในประเทศให้หมุนต่อไปได้เช่นกัน ประชาชนมีความเชื่อมั่น กล้าใช้จ่าย เป็นผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศอีกทางหนึ่งเช่นกัน

“เชื่อว่าปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลให้การอนุมัติงบประมาณนี้ในปีนี้ล่าช้าออกไปประมาณ 3 เดือน ในทางปฏิบัติน่าจะมีการเตรียมความพร้อมเรื่องการใช้งบประมาณจ่ายไปพลางไว้ก่อนแล้ว จึงไม่น่ากระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมาก” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว

เมื่อตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ สามารถพิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปีได้ น่าจะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ก็ยังทันเวลาที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าลากยาวไปเป็นปี 

ด้าน Krungthai COMPASS ยังมองว่า การเมืองที่ไม่แน่นอนส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้และยังมีความเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญภาวะหดตัวในปลายปีนี้ และ ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง

กระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้วยการท่องเที่ยว

Krungthai COMPASS คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะเติบโตได้ 3.4% ด้วยการขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมได้มีการเติบโตมากกว่าที่เคยประเมินไว้ ซึ่งคาดว่าตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 2566 มีโอกาสที่จะแตะระดับ 29.0 ล้านคน สูงกว่า 27.1 ล้านคนที่เคยคาดการณ์ไว้ และค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังมีทิศทางเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจไทยด้วยการการท่องเที่ยว นับว่าเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลในระยะนี้ โดยการสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศไทยได้ง่ายขึ้น เช่น การผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าเดินทางเข้าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยอัตโนมัติเช่นกัน ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ในประเทศให้หมุนต่อไปได้ และทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น กล้าใช้จ่าย เป็นผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศอีกด้วย

s__17473884

ปัญหาระบบตลาดและทุนนิยม

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ (มหาชน) เผย แม้ว่า ระบบตลาดและทุนนิยมซึ่งเป็นแนวคิดหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลากหลายด้าน รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นมาตลอดหลายทศวรรษ แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้สร้างปัญหาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การบุกรุกป่า ปัญหามลพิษ PM2.5 ทรัพยากรน้ำขาดแคลน ชนบทที่อ่อนแอลง ปัญหาแรงงานในชุมชนเมือง และความเหลื่อมล้ำในมิติการพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงสะท้อนบอกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน และยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ยังสร้าง 3 ปัญหาหลักในสังคมไทย นั้นก็คือ

  • หนี้นอกระบบ ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงมากจนไม่มีทางจ่ายคืนเงินต้นได้หมด ทำให้คนที่เข้าไปสู่วงจรนี้ไม่สามารถหลุดออกมาได้ง่าย
  • ระบบคนกลาง ที่ครอบครองส่วนต่างมากเกินไปจนทำให้รายได้ไปถึงเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • การขาดแคลนความรู้และนวัตกรรมใหม่ ที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น

เสริม 3 ความแข็งแกร่งจากรากฐาน

1.สร้างผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถแนะนำให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการสร้างพื้นฐานการเก็บออม และสกัดปัญหาหนี้นอกระบบ

2.การลดบทบาทของระบบคนกลาง เช่น การรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และขายสินค้าตรงไปที่ผู้บริโภค ซึ่งอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น E-Commerce

3.ควรสนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนชุมชนและภาคเกษตรโดยตรง มีแนวทางที่ชัดเจนและยั่งยืน เช่น การหาตลาดมารองรับกับสินค้าเกษตรโดยตรง ในราคาที่เหมาะสม และอาจส่งเสริมด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจูงใจให้เอกชนดำเนินการลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้น

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT