อินไซต์เศรษฐกิจ

รู้จัก TU เจ้าตลาด 'ซีฟู้ด' แสนล้านสัญชาติไทย Top 3 โลกใหญ่แค่ไหน

5 ก.ย. 65
รู้จัก TU เจ้าตลาด 'ซีฟู้ด' แสนล้านสัญชาติไทย Top 3 โลกใหญ่แค่ไหน
ไฮไลท์ Highlight
  • TU ปี 2564 ทำยอดขายอาหารทะเลมากที่สุดเป็น Top 3 ของโลก
  • ปี 2564 TU มีผลการดำเนินงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์มีกำไรที่ 8,013 ล้านบาท-ยอดขายที่ 1.41 แสนล้าน
  • TU  ตั้งเป้ายอดขายปี 2565 โต 4-5% -มีแผนที่จะใช้เงินลงทุนจำนวน 6 พันล้านบาท ใช้ขยายธุรกิจ

ในปี 2564 ที่ผ่านเป็นปีที่ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจและธุรกิจเอกชนทั่วโลกยังคงโดนผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะหลายประเทศทั่วโลกเลือกใช้วิธีการล็อกดาวน์หยุดการเดินทางเพื่อควบคุมโรคทำให้ธุรกิจจำนวนมาก ส่วนใหญ่โดนผลกระทบทั้งยอดขายและกำไรให้หดหายไปแบบที่จะเลี่ยงได้ยาก

แต่มีหนึ่งในบริษัทของไทยที่ถือได้ว่าเป็นผู้เจ้าตลาดโลกในธุรกิจปลาทูน่า รวมถึงกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลคือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU โดยในปี 2564 สามารถทำยอดขายเติบโตและกำไรออกมาเติบโตออกมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำยอดขาย 141,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% จากปี 2563 และสามารถทำกำไรสุทธิที่ 8,013 ล้านบาท เติบโต 28.3% จากปี 2563

TU เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารรทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเลชั้นนำต่างๆ ในหลายๆ ตลาดหลัก ในปี 2564 สามารถทำยอดขายเป็น Top 3 ของโลก แต่ถ้าจะเปิดอาณาจักรของ TU ที่มีจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจเกิดขึ้นในปี 2520 โดยบริษัทแรกที่ตั้้งขึ้นมาคือ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง 

จากนั้น ในปี 2531 ได้ก่อตั้ง บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF  ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 25 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง จากนั้นใน 2535 บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับบริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท ฮาโกโรโม่ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น และเป็นลูกค้าและผู้จำหน่ายของบริษัทฯ โดยทั้งสองบริษัทมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่อง ต่อมาบริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2537 ปัจจุบัน TUF ได้เปลี่ยนชื่อเป็น 'บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU' 

 

เปิดเส้นทางบุกลงทุนต่างประเทศของ TU

เปิดเส้นทางบุกลงทุนต่างประเทศของ TUt

  • ปี 2540 เข้าลงทุนในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ในชิกเก้นออฟเดอะซี ซึ่งเป็นแบรนด์ปลาทูน่ากระป๋องอันดับ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • ปี 2546 เข้าลงทุนในบริษัท เอ็มเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็งในสหรัฐอเมริก
  • ปี 2549  ตั้งบริษัท ชิกเก้นออฟเดอะซี โฟรเซ่น ฟู้ดส์ ทำธุรกิจผลิตอาหารทะเลแช่แข็งในสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้ควบรวมกิจการกับบริษัท เอ็มเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท ไทร-ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด” เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็ง และในปีเดียวกันบริษัทฯ ได้เข้าลงทุนใน บริษัท พีที จุยฟา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในประเทศอินโดนีเซียปี
  • 2551 ลงทุนในบริษัท ยู่เฉียงแคนฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลบรรจุกระป๋องในประเทศเวียดนามปี
  • 2552 ลงทุนในบริษัท อะแวนติ ฟีด จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกอาหารกุ้งและกุ้งแช่แข็งที่ประเทศอินเดียปี
  • 2553  ขยายการลงทุนเข้าไปในภูมิภาคยุโรป ด้วยการเข้าซื้อกิจการของบริษัท เอ็มดับบลิว แบรนด์ส เอสเอเอส (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยยูเนี่ยน ยุโรป) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋องและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายชั้นนำในยุโรปภายใต้แบรนด์ John West, Petit Navire, Parmentier และ Mareblu และในปีเดียวกันยังได้เข้าลงทุนใน บริษัท ยูเอสเพ็ท นูทรีชั่น จำกัด ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกาปี
  • 2557 เข้าซื้อกิจการในภูมิภาคยุโรปอีกครั้ง ด้วยการซื้อบริษัท เมอร์อไลอันซ์ เอสเอเอส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลาแซลมอนรมควันชั้นนำของยุโรป และติดอันดับ 4 ผู้ผลิตปลาแซลมอนรมควันในยุโรป ซึ่งในปีเดียวกันนี้ยังเข้าซื้อกิจการแบรนด์ 'คิง ออสการ์' ผู้ผลิตปลาบรรจุกระป๋องในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งปลาซาร์ดีนระดับพรีเมี่ยมในประเทศนอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีอายุกว่า 140 ปี
  • ปี 2559 เข้าซื้อหุ้นบริษัท Rügen Fisch ช่วยให้กลุ่มบริษัทเข้าสู่ตลาดเยอรมัน ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป, ซื้อหุ้น 40% ของ Avanti Feeds Limited ซึ่งเป็นหน่วยงานแปรรูปกุ้งของ Avanti Frozen Foods Private Limited ในอินเดีย, เข้าลงทุนใน Red Lobster Seafood Co. มูลค่า 575 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นบริษัทร้านอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก Golden Gate Capital ยังคงเป็นเจ้าของส่วนใหญ่และยังคงควบคุมการดำเนินงานของ Red Lobsterปี
  • 2561 ซื้อหุ้นสัดส่วน 25.1% ในบริษัท ธรรมชาตซีฟู้ด รีเทล จำกัด(TSR) ราคาประมาณ 37 ล้านบาท ซึ่งทำฑชธุรกิจให้บริการจัดการอย่างมืออาชีพแก่ผู้ค้าปลีกไทยสำหรับเคาน์เตอร์อาหารทะเลปี
  • 2562 เข้าลงทุน ในบริษัท อีเจียร์ ซีฟู้ด ผู้นำการผลิตตับปลาค็อดจากประเทศไอซ์แลนด์ การลงทุน ในครั้งนี้จะสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจตับปลาค็อดของไทยยูเนี่ยนภายใต้แบรนด์คิง ออสการ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตตับปลาค็อด ซาร์ดีน และแมคเคอเรล ที่ตั้งอยู่ในประเทศนอร์เวย์2563 เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 90% ในบริษัท TUMD Luxembourg S.a.r.l. ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทค้าปลีกอาหารทะเล 3 แห่ง ทำให้มีบทบาทในการควบคุมการดำเนินงานธุรกิจในประเทศรัสเซียม

 

TU เป็นเจ้าของแบรนด์อาหารทะเล 10 แบรนด์ระดับโลก

ตลาดเอเชีย

แบรนด์ SEALECT

ซีเล็คทูน่า

 

ในปี 2535 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวซีเล็ค ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องมาตรฐานระดับโลกในประเทศไทย ซีเล็คได้เติบโตจนกลายเป็นแบรนด์ปลาทูน่าชั้นนำในประเทศไทยและขยายการส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง ผลิตภัณฑ์ซีเล็คยังคงเดินหน้าสร้างความหลากหลายของสินค้าภายใต้แบรนด์ โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพและคุ้มราคา ภารกิจของซีเล็คคือการช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากอาหารทะเลให้ได้มากที่สุด โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ในสูตรใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการและเมนูสร้างสรรค์ จากซีเล็ค เราเปิดรับโอกาสการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรหลักทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อเติมเติมและตอบสนองความต้องการของตลาด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคของเราได้ลิ้มรสปลาทูน่าเมนูโปรดที่มาพร้อมความอร่อยและประโยชน์ทางโภชนาการ และผลักดันการบริโภคปลาทูน่าโดยรวมให้เติบโตยิ่งขึ้นไป

 

แบรนด์ FISHO

ปลาเส้น Fisho

 

เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2539 ฟิชโช เป็นแบรนด์อาหารทานเล่นแบรนด์แรกของไทยยูเนี่ยนสำหรับตลาดไทย สร้างสรรค์จากการผสมผสานที่ลงตัวของปลาที่มีคุณภาพและเครื่องปรุงรสครบเครื่อง ฟิชโชมีพันธกิจในการนำเสนออาหารทานเล่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายรูปแบบ ปัจจุบันมีวางจำาหน่ายทั้งในรูปปลาเส้น แบบแผ่น และแบบแท่ง เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและคนหนุ่มสาววัยทำางานที่สามารถเพลิดเพลินกับของว่างโดยไม่ต้องกังวล


แบรนด์ QFRESH คิวเฟรช

qfresh

 

ส่งมอบผลิตภัณฑ์ "คุณภาพสดใหม่" ด้วยเมนูที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแบบพร้อมปรุง หรือแบบพร้อมรับประทาน รวมไปถึงอาหารประเภทติ่มซำด้วยผลิตภัณฑ์ของคิวเฟรชมาจากการจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ และเก็บรักษาเป็นอย่างดีเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพของรสชาติ ผู้บริโภคสินค้าของคิวเฟรชสามารถเพลิดเพลินไปกับอาหารทะเลในราคาที่เหมาะสม สามารถหาซื้อได้สะดวกและมีคุณค่าทางโภชนาการ คิวเฟรชให้ความสำาคัญกับนวัตกรรมการผลิตและการเก็บรักษา รวมถึงวิธีการจัดส่งสมัยใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะคงความสดตามมาตรฐานสูงสุด คงรสชาติดั้งเดิม และปลอดภัยในการบริโภค

 

แบรนด์  MONORI

monori

เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารทานเล่นที่ทำจากอาหารทะเลแปรรูปประเภทแรก ๆ ของไทยยูเนี่ยน โมโนริ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำทำจากแก้มกุ้ง มีรสชาติถูกปาก และมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งทำมาจากส่วนประกอบอาหารทะเลคุณภาพสูง นำมาปรุงจนกรอบได้ที่ ขนมทานเล่นโมโนริเป็นทางเลือกขนมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับขนมอื่น ๆ เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ของไทยยูเนี่ยน โมโนริมีพันธกิจในการหาวัตถุดิบมาเป็นส่วนประกอบขนมด้วยคุณภาพและรสชาติที่ดีที่สุด

 

ตลาดอเมริกาเหนือ

 แบรนด์ CHICKEN OF THE SEA-CHICKEN OF THE SEA FROZEN FOODS

chicken_sea_logo

เริ่มก่อตั้งบริษัทผลิตอาหารทะเลกระป๋องในแคลิฟอร์เนีย ในปี 2457 เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นางเงือกซึ่งเป็นสัญลักษณ์และสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพจนได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าประจำครัวเรือน และอีกกว่าศตวรรษต่อมา Chicken of the Sea® ได้รับยกย่องให้เป็นแบรนด์ที่สะท้อนถึงผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และบริโภคได้ง่าย สะดวกสบาย นอกเหนือจากปลาทูน่าแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ เช่น ปลาซาร์ดีน กุ้ง ล็อบสเตอร์ ปลาแซลมอน และปู สำาหรับพันธกิจของ Chicken of the Sea® คือการนำาเสนออาหารทะเลที่มีประโยชน์ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป และยังเป็นบริษัทนำาร่องในการริเริ่มโครงการจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นการรับรองความปลอดภัยของปลาโลมา (Dolphin-Safe Policy) โครงการต่อต้านการล่าหูฉลาม (Shark Finning Ban) รวมถึงความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง (Marine Stewardship Council: MSC) และมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF)

 

ตลาดยุโรป

แบรนด์ JOHN WEST

john west

นับตั้งแต่ปี 2400 JOHN WEST ได้สร้างความแตกต่างในตลาดด้วยคุณภาพที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน และพันธกิจต่อเนื่องในการส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลคุณภาพสูงสุด พันธกิจของแบรนด์ JOHN WEST ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สะท้อนให้เห็นได้จากนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และในปี 2495 JOHN WEST เปิดตัวผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องเป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมากลายเป็นสินค้าที่มีประจำทุกครัวเรือน ในปี 2557 JOHN WEST และไทยยูเนี่ยน ยุโรปให้คำมั่นในการพัฒนาความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ซึ่งต่อมาขยายวงกว้างครอบคลุมธุรกิจของไทยยูเนี่ยนทั่วโลก

รวมไปถึงการดำเนินโครงการปรับปรุงการประมง การดำเนินงานตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง (MSC) การพัฒนาการจัดการอุปกรณ์ล่อปล่าในการประมงทูน่า และการปกป้องสิทธิของแรงงาน โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัติให้กับเรือในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผลัตภัณฑ์ของ JOHN WEST ได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ โดยไม่เพียงแต่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มาในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ชีวิตแบบเร่งด่วนของผู้บริโภค แต่ยังได้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายซึ่งมาพร้อมกับคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพ

 

 แบรนด์ PETIT NAVIRE

petit_navire_logo

นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ในตลาดเมื่อปี 2475 Petit Navire ถือเป็นแบรนด์ปลาทูน่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศฝรั่งเศส ในปี 2525 แคมเปญโฆษณาของบริษัทได้สร้างการจดจำาให้กับผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสด้วยสโลแกน "รสชาติอันโอชะจากท้องทะเล" (Le bon goût du large) Petit Navire มีการเติบโตในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเสมอมา และถือเป็นตัวอย่างของความทันสมัยของทั้งอุตสาหกรรม


 แบรนด์ PARMENTIER

แบรนด์ PARMENTIER

นับตั้งแต่ปี 2426 แบรนด์ Parmentier ได้พัฒนาเทคนิควิธีการบรรจุปลากระป๋องให้เป็นเลิศ เพื่อสร้างช่วงเวลาแห่งความสุขที่แท้จริงให้แก่ผู้ที่ชื่นชอบในอาหารชั้นเยี่ยม ปลาซาร์ดีนของ Parmentier ได้รับการคัดสรรและปรุงอย่างพิถีพิถันด้วยส่วนผสมคุณภาพสูงจนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารรสชาติระดับตำนานที่คงอยู่ข้ามกาลเวลามาจวบจนปัจจุบัน เพื่อสืบสานคุณภาพที่ยึดมั่นมาอย่างยาวนาน การจับปลาซาร์ดีนของ Parmentier จะทำในบางฤดูเท่านั้น โดยทั่วไปจะอยู่ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม โดย Parmentier จะคัดสรรเฉพาะปลาที่ดีที่สุดเท่านั้น อีกทั้งยังควบคุมคุณภาพในระหว่างกระบวนการหมักบ่มปลาที่ผลิตขึ้นด้วยมืออย่างพิถีพิถันอีกด้วย
 

แบรนด์ KING OSCARKing Oscar

king oscar

เกิดขึ้นจากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงโปรดปรานปลาซาร์ดีน ในปี 2445 สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษแก่ บริษัท Christian Bjelland หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำของประเทศนอร์เวย์ให้ประทับพระนามและพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์บนกระป๋องปลาซาร์ดีนที่ทรงโปรดปราน นับตั้งแต่ก่อตั้ง King Oscar ได้นำอาหารทะเลคุณภาพเยี่ยมจากแหล่งน้ำใสสะอาดจากทะเลนอร์วีเจียนมาถึงผู้บริโภคด้วยความพิถีพิถัน King Oscar เป็นแบรนด์ปลาซาร์ดีนพรีเมียมอันดับหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ และออสเตรเลีย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาแมคเคอเรลภายใต้แบรนด์เดียวกันก็เป็นอันดับหนึ่งในประเทศโปแลนด์ ส่วนผลิตภัณฑ์ตับปลาค็อดและปลาแมคเคอเรลมุ่งเน้นไปตลาดพรีเมียมตลาดเฉพาะกลุ่ม และตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ

 

TU มี 3 กลุ่มธุรกิจหลัก

กลุ่มที่ 1 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป

กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป TU

กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (Ambient Seafood) ประกอบด้วยสินค้าหลักคือสินค้าบรรจุกระป๋องที่จําหน่ายให้ผู้บริโภคผ่านช่องทางค้าปลีกและบางส่วนผ่านช่องทางค้าส่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มนี้รวมถึงปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริ่ง โดยลักษณะการทําธุรกิจและอัตราการทํากําไรของสินค้าต่างๆ ในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกัน โดยผู้บริโภคจะให้ความสนใจในตัวแบรนด์สินค้าเป็นหลัก ซึ่งเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้ารวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักแพร่หลายจะสามารถตั้งราคาได้สูงกว่าสินค้ารับจ้างผลิตที่ติดตราของผู้ค้าปลีกทั่วไปได้

ซึ่งเป็นผลพวงจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ และส่วนต่างทางด้านราคานั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานะทางการตลาดของแบรนด์ ลักษณะการแข่งขันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์และความรู้สึกผูกพันของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ เป็นต้นในปี 2564 ยอดขายของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คิดเป็นเงิน 58,955 ล้านบาท คิดเป็น 42%  ของยอดขายรวมทั้งกลุ่มบริษัทซึ่งมาจากผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าเป็นหลัก และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดของกลุ่มบริษัทอีกด้วย 

นอกจากนี้กว่า 59% ของยอดขายจากกลุ่มสินค้านี้มาจากสินค้าที่ขายภายใต้แบรนด์ของบริษัท โดยส่วนที่เหลือนั้นมาจากยอดขายที่เกิดจากธุรกิจรับจ้างผลิตหรือการผลิตตามสัญญาการขาย และธุรกิจบริการด้านอาหาร สําหรับลูกค้าหลักของกลุ่มสินค้านี้ส่วนมากเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านรวมสินค้าราคาพิเศษ ร้านค้า สมาชิก ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายยา รวมทั้งช่องทางการขายตามโมเดิร์นเทรดต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ส่วนมากจะเป็นสินค้าที่บรรจุในรูปกระป๋องและสามารถบริโภคได้ทัน

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง 

อาหารทะเลแช่แข็ง TU

ประกอบด้วยสินค้าอาหารทะเลเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจัดจําหน่ายตรงให้กับร้านอาหาร โรงแรม ผู้ประกอบการอาหาร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อจําหน่ายให้แก่ ลูกค้าของทางร้าน อย่างไรก็ตาม ยังมีผลิตภัณฑ์บางส่วนที่จําหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางค้าปลีก ซึ่งสินค้าเหล่านี้มักถูกจัดเก็บอยู่ในตู้เย็นหรือตู้แช่เพื่อทําให้อายุการจัดเก็บสินค้ายาวขึ้น และเนื่องจากอาหารสัตว์น้ำทั้งกุ้งและปลาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจกุ้ง ดังนั้น อาหารสัตว์น้ำจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ด้วย

ในปี 2564 ยอดขายของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คิดเป็นเงิน 58,417 ล้านบาท คิดเป็น 41% ของยอดขายรวมทั้งกลุ่ม บริษัท โดยกุ้งเป็นสินค้าที่คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ตามด้วยกุ้งล็อบสเตอร์และปลาแซลมอน ส่วนสินค้าที่จําหน่ายภายใต้แบรนด์ของบริษัท มีสัดส่วน 38% ของยอดขายจากกลุ่มสินค้านี้ 

ในขณะที่ยอดขายส่วนที่เหลือนั้นมาจากยอดขายของธุรกิจรับจ้างผลิตและธุรกิจบริการด้านอาหาร อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่สามารถรับประทานได้ทันทีและมีอายุการเก็บสั้นกว่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (Ambient Seafood) โดยมีอายุในการจัดเก็บตั้งแต่เพียงไม่กี่วันจนถึงหนึ่งปี

 

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์-ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า

ธุรกิจอาหารสัตว์ TU

ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าหลายประเภท ซึ่งจะรวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารทะเล อาหารที่นอกเหนือจากอาหารทะเล สินค้า บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขายส่วนผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิต ตัวอย่างของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ได้แก่ สินค้าจาพวกขนมปลาเส้น ตับปลาค็อดบรรจุกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป พร้อมรับประทาน สินค้าติ่มซำซอสปรุงรส ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตปลาและกุ้ง, ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่, ภาชนะบรรจุภัณฑ์ หรือกระป๋องสําหรับอาหารแปรรูป บริการสิ่งพิมพ์สําหรับฉลากกระป๋องและผลิตภัณฑ์อื่น และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย 

เนื่องจากสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ดังนั้น โครงสร้างในแง่ของการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การจัดจําหน่ายและการบริโภคนั้นจึงมีลักษณะแตกต่างกันไป ในปี 2564 ยอดขายของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คิดเป็น 23,675 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17% ของยอดขายรวมทั้งกลุ่มบริษัท โดยกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสินค้าที่คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ และ 6%  ของยอดขายจากกลุ่มสินค้านี้มาจากสินค้าที่จาหน่ายภายใต้แบรนด์ของบริษัท ซึ่งกล่าวได้ว่าสินค้าเกือบทั้งหมดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้เป็นสินค้ารับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้า หรือไม่ก็จัดจําหน่ายผ่านช่องทางการจัดจําหน่ายของลูกค้า 

ทั้งนี้ แม้ว่าสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้จะไม่มีลักษณะที่คล้ายกัน แต่โดยรวมแล้วกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้สามารถทาอัตรากำไรได้สูง เนื่องจากมีกระบวนการ ในการผลิตหลายขั้นตอน มีการผลิตที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าและมีมาตรฐานสูง อีกทั้งกลุ่มสินค้านี้ไม่มีรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ที่ตายตัว เนื่องจากความหลากหลายของสินค้าในกลุ่มน

 

เปิดเหตุผล ปี 2564 TU ทำยอดขาย-กำไรสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 

ส่วนแบง่การตลาด TU

ในปี 2564 TU สามารถทำผลการดำเนินงานออกมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งในส่วนของยอดขายและกำไรสุทธิ โดยมียอดขายออกมาที่ 1.41 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 6.5% มีกำไรสุทธิที่ 8,013 ล้านบาท เติบโตขึ้น 28.3%  เพราะในปี 2564 ที่ผ่านธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นฟื้นตัว 17.8% ส่วนธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 17.9% จากปี 2563 ในขณะที่ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปมียอดขายลดลง 6% จากปีก่อนเนื่องจากในปี 2563 มีการกักตุนสินค้าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ขณะที่มีสัดส่วนยอดขายในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สัดส่วน 43% ของยอดขายรวม, ยุโรป 28% ของยอดขายรวม และประเทศไทยสัดส่วน 10% ของยอดขายรวม ส่วนที่เหลือเป็นตลาดอื่นๆ เนื่องจากยอดขายธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็นฟื้นตัวเป็นอย่างดี และเงินบาทอ่อนค่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 เทียบกับเงินดอลาร์ เงินบาทอ่อนค่า 2.2% เทียบกับยูโรบาทอ่อนค่า 6% และบาทอ่อนค่า 9.6% เทียบปอนด์สเตอร์ลิง

สำหรับยอดขายในตลาดสหรัฐอเมริกาในปี 2564 เติบโต 9.6% จากปี 2563 เนื่องจากมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน การฟื้นตัวของธุรกิจอาหารแช่แข็งและแช่เย็น และความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่ยอดขายธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปปรับลดลงสู่ระดับปกติจากความต้องการสินค้าที่ลดลงและผลกระทบจากการขาดแคลนตู้เรือขนส่งสินค้ายอดขายในตลาดยุโรปในปี 2564 เติบโตจาก 4.1% จากปีก่อนหน้าเนื่องจากมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และปริมาณขายสินค้าอาหารทะเลแปรรูปที่เพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี จากแบรนด์ที่แข็งแกร่งในภูมิภาคยุโรปยอดขายจากประเทศไทยในปี 2564 เติบโตจากปีก่อนหน้า 9.7% เพราะธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศมีการฟื้นตัว ยอดขายอาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้น และผลประกอบการที่ดีขึ้นในธุรกิจบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้ในปี 2565 ไทยยูเนี่ยนตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายเติบโต 4-5% อีกทั้งในปี 2565 ไทยยูเนี่ยนมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนจำนวน 6 พันล้านบาท สำหรับหรับการลงทุนในกลุ่มธุรกิจใหม่ รวมทั้งการพัฒนาและปรับปรุงการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบันเพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ขณะที่การลงทุนหลักของเราในปีนี้คือการลงทุนในโรงงานอาหารพร้อมทาน Culinary และโรงงาน Protein Hydrolysateและ Collagen Peptide ในประเทศไทย รวมถึงลงทุนและปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ และอาคารอื่นๆ ทั้งนี้การให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจพร้อมกับการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จะช่วยส่งผลให้สถานะทางการเงินของบริษัทเข้มแข็งขึ้น

ด้วยพร้อมทั้งตั้งเป้าหมายในปี 2568 จะมีกำไรก่อนภาษี, ค่าเสื่อม และดอกเบี้ยจ่าย(EBITDA) ที่ 450-550 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 16,515-20,185 ล้านบาท 

 

TU ใหญ่แค่ไหนในเวทีอาหารทะเลโลก

รู้จัก TU เจ้าตลาดซีฟู้ดแสนล้าน

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT