ไลฟ์สไตล์

ฝึกชื่นชมคนอื่นแบบจริงใจ เพราะคำพูดดีๆ คือ พลังที่ยิ่งใหญ่ในการทำงาน

5 พ.ค. 66
ฝึกชื่นชมคนอื่นแบบจริงใจ เพราะคำพูดดีๆ คือ พลังที่ยิ่งใหญ่ในการทำงาน
ไฮไลท์ Highlight
‘ไม่มีความหวานใด จะสร้างความพึงพอใจให้กับคนเรา ได้เท่าคำพูดหวานหูเพียงไม่กี่คำ และไม่มีอาวุธใดที่จะฆ่าคนให้ตายทั้งเป็น ได้เท่าคำพูดเพียงไม่กี่คำเช่นกัน’ การชื่นชมก็เช่นกัน

ฝึกชื่นชมคนอื่นแบบจริงใจ เพราะคำพูดดีๆ คือ พลังที่ยิ่งใหญ่ในการทำงาน

การชื่นชมคือสิ่งดีๆ ที่ส่งต่อกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

‘ไม่มีความหวานใด จะสร้างความพึงพอใจให้กับคนเรา ได้เท่าคำพูดหวานหูเพียงไม่กี่คำ และไม่มีอาวุธใดที่จะฆ่าคนให้ตายทั้งเป็น ได้เท่าคำพูดเพียงไม่กี่คำเช่นกัน’ การชื่นชมก็เช่นกัน

ทำไมการชื่นชม ถึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการถูกยอมรับและรับรู้ว่าตัวเองมีค่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของการอยู่ร่วมในสังคม ตามที่อับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์ นักจิตวิทยา ได้เสนอทฤษฎีลำดับความต้องการของมาสโลว์ (Maslow) ว่ามนุษย์ต้องการความรักและสังคม (Belonging and Love Needs) ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีความปลอดภัยในชีวิตและมั่นคงในการงานแล้ว เราจะต้องการความรักและการได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม และการชื่นชมหรือการชมเชยนั้นเป็นการที่แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในความคิดเห็นและการกระทำที่ง่ายและทรงพลังที่สุดในการสื่อสาร

maslow-hierarchy-of-needs-102
ภาพจากเว็บไซต์ https://helpfulprofessor.com/social-needs-examples/

 

ดังนั้น หากเราต้องเริ่มชื่นชมใครซักคน โดยคนฟังไม่รู้สึกว่าปลอม เทคนิคและขั้นตอนง่ายๆ ที่ทำให้เราเป็นดูเป็นมืออาชีพ โดยที่คนฟังก็รู้สึกดี  

  1. ระบุพฤติกรรมที่ชัดเจน: คำชมที่ดีควรระบุการกระทำที่ชัดเจน แค่ชมว่า “ทำงานดี” อาจดูธรรมดาไปคนรับสารอาจยังไม่รู้สึกอะไร ดังนั้น STAR Technique ย่อมาจาก
    S / T - Situation / Task  คือสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
    A- Action คือ วิธีการ/ขั้นตอนที่ส่งผลให้งานสำเร็จ
    R-  Result  คือ ผลลัพธ์หรือความสำเร็จ จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ดังกล่าว

STAR Technique  จะเข้ามาช่วยระบุการกระทำให้มันชัดเจน เช่น ชื่นชมลูกน้อง ที่สามารถคิดระบบงานแบบใหม่ (Situation/Task) จนช่วยลดขั้นตอนความยุ่งยาก (Action) และทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง  (Result)

  1. ชื่นชมความงดงามระหว่างทางก่อนถึงเป้าหมาย:  ในบางสถานการณ์ควรให้คุณค่ากับความพยายามระหว่างทางโดยไม่ต้องรอให้เกิดผลสำเร็จก่อนค่อยชม เพราะคนทำงานอาจหมดแรงก่อนโดยเฉพาะงานหรือ Project ที่อาจต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลลัพธ์
  2. เรื่องยิ่งใหญ่สำหรับคนตัวเล็ก: ไม่จำเป็นเลยที่การชมเชยต้องมาจากสถานการณ์ที่ยิ่งใหญ่ตลอดเวลา เริ่มจากการให้คุณค่าเรื่องเล็กในแต่ละวัน เช่น ขอบคุณที่เพื่อนร่วมงานถือเอกสารมาให้ หรือ การที่ลูกน้องช่วยเตรียมข้อมูลให้ ฝึกใส่ใจและให้ความหมายกับทุกเรื่องดีๆ ที่มีคนทำให้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่อาจก็เป็นเรื่องที่มีความหมายของอีกคนได้
  3. ฝึกทำให้เป็นนิสัยประจำวัน: เอาจริงๆ เราสามารถรับรู้ได้ว่า การชมนั้น มันมาจากความตั้งใจหรือไม่ ดังนั้นเราจำเป็นต้องฝึกให้รู้จักชื่นชมไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามให้เป็นนิสัย จนเกิดคุ้นชินในชีวิตประจำวัน ฝึกใจของเราให้มองถึงรายละเอียดและทุกการกระทำด้วยความยินดี ตลอดจนแสดงออกถึงการขอบคุณ รับรู้ถึงเจตนาที่ดีที่ได้รับกลับมา เชื่อเถอะเค้าดูออกว่าเราจริงใจหรือป่าว 

แม้ว่าการบริหารงานแบบรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี จะเป็นการแสดงถึงความใส่ใจและปรารถนาดีที่ต้องการติเพื่อก่อ แต่มันคงดีกว่ามากถ้าการตินั้นเราไม่ได้สร้าง “บาดแผล” ที่ไม่ตั้งใจเกิดขึ้นในใจกับใคร การให้ชมเชย อาจเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สร้างกำลังใจสำคัญในการผลักดันผลงานโดยไม่ให้เกิดคามบอบช้ำในแต่ละฝ่าย

สุดท้ายตามที่ Voltaire ได้กล่าวไว้ว่า

Appreciation is a wonderful thing: It makes what is excellent in others belong to us as well. การชื่นชมผู้อื่นเป็นสิ่งดีงาม ทำให้ความเยี่ยมยอดของเขากลายเป็นสิ่งดีในตัวเราไปด้วย 

 

advertisement

SPOTLIGHT