ข่าวเศรษฐกิจ

เปิดวิสัยทัศน์ เลขาธิการ กบข.คนใหม่ เล็งสร้างที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ เพิ่มทางเลือกผลตอบแทน

23 พ.ค. 67
เปิดวิสัยทัศน์ เลขาธิการ กบข.คนใหม่ เล็งสร้างที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ เพิ่มทางเลือกผลตอบแทน

เปิดวิสัยทัศน์ เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คนใหม่ หลังเข้ามารับตำแหน่งได้เพียง 2 เดือน ทิศทางของกบข.จะเป็นอย่างไร? 

จากความท้าทายที่ต้องเผชิญรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย การบริหารกองทุน กบข.เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี และมีทางเลือกอะไรใหม่ๆ ให้กับสมาชิกหรือไม่

SPOTLIGHT จะมาพาเปิดวิสัยทัศน์ เลขาธิการ กบข.คนใหม่ จะนำไปกบข.ไปทางใด มีอะไรใหม่? เข้ามาเป็นทางเลือกให้กับสมาชิกได้บ้าง

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการ กบข. ผู้บริหารที่ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง มากด้วยประสบการณ์การเงิน จากผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ทั้งธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ล่าสุด ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จนก้าวมาสู่เลขาธิการ กบข.นั้น ได้แสดงวิสัยทัศน์  

โดยเลขาธิการ กบข. พร้อมขับเคลื่อนกองทุนให้มั่นคง หวังสร้างผลตอบแทนที่ดีให้สมาชิก เพื่อให้สมาชิกมี “Freedom for Living” เกษียณมีสุข ไร้ความกังวล ภารกิจแรกทบทวนความเพียงพอของเงินเกษียณ และศึกษาทางเลือกรับผลตอบแทน วางรากฐานการบริหารกองทุนให้มั่นคง

เลขาธิการ กบข.

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดวิสัยทัศน์ว่า กบข. ได้กำหนดแผนงานวางรากฐานการบริหารกองทุน ในการขับเคลื่อน กบข. ให้เป็นกองทุนที่มีความมั่นคง สร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะยาว มากกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 ปี บวก 2% ต่อปี และเพิ่มระดับความไว้วางใจของสมาชิกที่มีต่อ กบข. เพื่อให้สมาชิกมุ่งสู่การมี “Freedom for Living เกษียณมีสุข” 

โดยภารกิจแรก คือ การทบทวนความเพียงพอของเงิน ณ วันเกษียณ โดยเพิ่มตัวแปรหนี้สิน การมีอายุยืนยาวของคนไทย และระดับความเพียงพอของสมาชิกแต่ละกลุ่มอาชีพเข้ามาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ระดับความเพียงพอมีค่าเป็นปัจจุบันมากที่สุด และนำผลศึกษามาปรับปรุงแผนการจัดสรรการลงทุนของ กบข.  

ความต้องการของสมาชิก กบข.พบว่า 

  1. ไม่มีหนี้สิน
  2. สุขภาพแข็งแรง
  3. มีเงินพอใช้
  4. มีความสุข มีอิสนระ
  5. มีเงินเดือนละ 5-7 หมื่นบาท
  6. มีบ้าน มีรถ
  7. มีทุนสำรองเกิน 5 ล้านบาท

ภารกิจที่สอง คือ การศึกษาเพิ่มทางเลือกในการรับผลตอบแทนรูปแบบอื่นใหกับสมาชิก โดยทางเลือกในการรับผลตอบแทนรูปแบบอื่นออกแบบสำหรับส่วนเพิ่มเงินออมที่สมาชิกเพิ่มเติมจากภาคบังคับ เนื่องจากความต้องการของสมาชิกในการออมเพิ่มนั้นอาจมีลักษณะผลตอบแทน อาทิ ต้องการรับเงินปันผลระหว่างทาง ต้องการทางเลือกในการออมเพิ่มเติม และอาจรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น สิทธิ์ในการใช้บริการ Retirement Home & Care เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ และอาจต้องมีการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ 

นอกจากนี้ เนื่องด้วยการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรสูงวัย (Aging Society) จะมีส่วนในการปรับปรุงการลงทุนในอนาคตด้วย  

เลขาธิการ กบข.

เล็งสร้างที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ

กบข. อยู่ระหว่างการศึกษาการสร้างที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ (Retirement Complex) เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรับผลตอบแทนรูปแบบอื่นให้กับสมาชิก โดยเบื้องต้นจะทำเองก่อนสำหรับวัยเกษียณที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น 

ขณะเดียวกัน กบข. จะมีการทบทวนความเพียงพอของเงิน ณ วันเกษียณ โดยเพิ่มตัวแปรหนี้สิน การมีอายุยืนยาวของคนไทย และระดับความเพียงพอของสมาชิกแต่ละกลุ่มอาชีพเข้ามาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ระดับความเพียงพอมีค่าเป็นปัจจุบันมากที่สุด และนำผลศึกษามาปรับปรุงแผนการจัดสรรการลงทุนของ กบข.

ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบัน อยู่ที่ราว 3% ปีนี้สูงกว่าปีก่อนที่ 1.46%

ในปี 2567 ตั้งเป้าผลตอบแทนสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 1.46% โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ราว 3% โดยกบข. มุ่งสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีในระยะยาว มากกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 ปี บวก 2% ต่อปี 

โดยกบข.ได้มีการปรับพอร์ตบริหารความเสี่ยงรองรับความไม่แน่นอนด้านต่างๆ ไว้  เช่น มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ น้ำมัน และมีการลงทุนในตลาดต่างประเทศสัดส่วนที่ 60% และตลาดในประเทศ 40% และมองว่าสัดส่วนนี้เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมในการลงทุน แต่กบข.จะมีการติดตามสถานการณ์การลงทุนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งจะมีการติดตามผลการลงทุนกันทุกสัปดาห์ จากเดิมเดือนละครั้ง

สำหรับสัดส่วนการลงทุนที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่กำหนดให้ลงทุนต่างประเทศไม่เกิน 60% และในประเทศ 40% เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว ไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่ม ส่วนแผนการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล กบข.ยังไม่มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุน เนื่องจากยังไม่มีความเข้าใจดีพอ และกบข.ก็สามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายเพียงพออยู่แล้ว ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์อื่นๆ

ติดตามปัจจัยความขัดแย้งในตะวันออกกลาง-การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สำหรับปี 2567 นี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้นได้ทันการณ์ ทั้งสงครามตะวันออกกลาง ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน และความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ผลการเลือกตั้งและแนวนโยบายในหลายประเทศ 

โดยเฉพาะประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ และแนวนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยที่คงอยู่ในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา จะลดทอนความสามารถในการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง เงินเฟ้อปรับตัวลดลงแบบชะลอตัวและยังคงสูงกว่าเป้าหมายระยะยาวของธนาคารกลาง 

ขณะที่เศรษฐกิจไทย ยังต้องติดตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้มีความเชื่อมั่นในการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว และการกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง โดยปีนี้มีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปี 2566 ที่ผ่านมา

เลขาธิการ กบข.

เปิดประวัติ เลขาธิการ กบข.คนใหม่

นายทรงพล  ชีวะปัญญาโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข.อายุ 52 ปี

ประวัติการศึกษาประวัติการศึกษา

  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัย Case Western Reserve ประเทศสหรัฐอเมริกาวิทยาศาสตร์บัณฑิต
  • สาขาวิชาการเงิน The University of Findlay ประเทศสหรัฐอเมริกา

การฝีกอบรม

  • หลักสูตรนักบริหารการเงินการคลังระดับสูง รุ่นที่ 3 โดยสถาบันพัฒนา บุคลากรด้านการคลังและบัญชีภาครัฐกรมบัญชีกลา
  • อบรมหลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 231/2016 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
  • อบรมหลักสูตร Corporate Governance for Capital Market Intermediaries (CGI) รุ่นที่ 7/2015 โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ประวัติการทํางาน

  • สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 - 2567)พ.ศ. 2562 – 2567  ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝากบริษัท
  • บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2567) กรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมกา
  • บริหารความเสี่ยงองค์การเภสัชกรรม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2562) พ.ศ. 2560 – 2562  กรรมการ ประธานคณะกรรมการกำกับความเสี่ยง
  • บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - 2562)พ.ศ. 2561 – 2562 กรรมการ รักษาการกรรมการผู้จัดการพ.ศ. 2560 – 2561 กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 - 2560)พ.ศ. 2558 - 2560  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พ.ศ. 2557 ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 - 2557)พ.ศ. 2553 – 2557  รองกรรมการผู้จัดการพ.ศ. 2551 – 2552  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการพ.ศ. 2549 - 2550  ผู้บริหารงานธุรกิจตลาดทุนพ.ศ. 2546 – 2548  ผู้อำนวยการ
  • ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์บริหารเงินธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น. เอ. (ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 - 2546)

advertisement

SPOTLIGHT