ข่าวเศรษฐกิจ

เปิด 5 เหตุผลที่เราควรมองเศรษฐกิจในแง่ดี ในปี 2024 จากบทสัมภาษณ์ CNN โดยนักเศรษฐศาสตร์

3 ม.ค. 67
เปิด 5 เหตุผลที่เราควรมองเศรษฐกิจในแง่ดี ในปี 2024 จากบทสัมภาษณ์ CNN โดยนักเศรษฐศาสตร์
ไฮไลท์ Highlight
เศรษฐกิจไม่เพียงฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่ยังสามารถเอาชนะจนปัญหาราคาน้ำมันระหว่างสงครามในยูเครน ที่ยังไม่ร่วมกับความผิดปกติของการเมืองโลก และปัญหาอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

หลายๆคนมักมองว่า ปี 2023 จะเป็นปีแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง เนื่องจากผลกระทบที่ทิ้งไว้ของโควิด-19 แต่สุดท้าย ปี 2023 กลับกลายมาเป็นปีแห่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่ง

เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีการคงที่ เหมือนกับเครื่องบินที่กำลังลงจอดอย่างนุ่มนวล หรือ soft landing อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างมาก ขณะที่การว่างงานก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนธนาคารกลางสหรัฐอาจประกาศลดดอกเบี้ยโดยเร็วที่สุดภายในเดือน มี.ค.67 นี้

Justin Wolfers ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ตั้งข้อสังเกตว่า

เศรษฐกิจไม่เพียงฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่ยังสามารถเอาชนะจนปัญหาราคาน้ำมันระหว่างสงครามในยูเครน ที่ยังไม่ร่วมกับความผิดปกติของการเมืองโลก และปัญหาอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

at-home-in-dc-e1620874634127

โดยภาพรวมแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายมากมาย ตั้งแต่สงครามอิสราเอล-ฮามาส ไปจนถึงตลาดที่อยู่อาศัยที่มีราคาตกต่ำ

แต่สำหรับในปี 2024 บรรดาเหล่านักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่าปีนี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯมีความหวังที่จะสามารถขยับขยายและเติบโตในทิศทางบวกได้มากขึ้น

SPOTLIGHT ได้ถอดบทสัมภาษณ์จากนักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ชื่อดังจากบทความของ CNN ในหัวข้อ 5 เหตุผลที่เราควรมองเศรษฐกิจในแง่ดี ในปี 2024

1.การลดอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว

istock-1469852122

บรรดานักวิเคราะห์และนักลงทุนในตลาด Wall Street ต่างคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอีกในปี 2024 หลังจากทุบสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปีเมื่อเดือนมิ.ย. 2022 

แต่มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคาดเดาอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะชะลอตัวได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน โดยขณะนี้มาตรวัดเงินเฟ้ออย่างดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนพ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.1% แต่ก็ถือว่าลดลงอย่างมากจาก 9.1% ในเดือนมิ.ย. 2022 

Mark Zandi หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Moody’s Analytics คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาใกล้เป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ภายในสิ้นปี 2024 

นอกจากนี้ GasBuddy ยังคาดการณ์ว่า ราคาก๊าซในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยต่อปีจะลดลงอีกในปี 2024 ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเชื้อเพลิงประหยัดเงินได้มากกว่า 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากปี 2023

2.การประกาศชัยชนะเหนือเงินเฟ้อของ Fed

istock-1404926736

ในช่วงที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อได้ชะงักตัวลงมากจน Fed สามารถระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขนาดใหญ่ซึ่งคุกคามต่อเศรษฐกิจตกต่ำและทำให้นักลงทุนวิตกกังวล โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ของ Fed กำลังเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ถือเป็นตัวแทนผลลัพธ์การประกาศชัยชนะในสงครามเงินเฟ้อในครั้งนี้ 

ด้าน Zandi ประเมินว่า Fed น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยอาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังในช่วงเดือนพ.ค. 2024 ขณะที่รายงานของ Goldman Sachs คาดว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2024

อย่างไรก็ตาม การลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะช่วยคลายแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ทั้งการลดต้นทุนในการจำนอง การปล่อยสินเชื่อรถยนต์ และการแบกรับยอดหนี้บัตรเครดิต และอัตราการจำนองที่อาจลดลงเหลือ 6.6% ภายในสื้นปี 2024

3.ปีทองของหุ้น / Blockbuster year for stocks

istock-1487894858

จากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้ความหวาดกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มจางหายไป ประชาชนเริ่มกลับมีความเชื่อมั่นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่กำลังเกิดขึ้น กระตุ้นให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนอย่างคึกคักในตลาด Wall Street อีกครั้ง 

หุ้นสหรัฐฯ ได้ปิดท้ายปี 2023 ด้วยการปรับตัวพุ่งขึ้นอย่างถล่มทลาย โดยดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นมา 9 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี ซึ่งเป็นการชนะติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2004 ดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 43% แม้จะพลาดปีที่ดีที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษไปอย่างหวุดหวิดก็ตาม 

แม้ว่าตลาด Wall Street จะไม่ใช่ภาพสะท้อนเศรษฐกิจทั้งหมด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมองว่า ในกรณีนี้การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ ทั้งจาก Wall Street และ Main Street

4.อัตราการเลิกจ้างงานในระดับต่ำมาก

istock-1648451801

แม้ว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่เพียง 3.7% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบครึ่งศตวรรษ เช่นเดียวกันกับการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกซึ่งเป็นตัวแทนของการเลิกจ้างยังคงต่ำเป็นประวัติการณ์เพียง 218,000 ราย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า นายจ้างจำนวนมากไม่เต็มใจที่จะปล่อยคนงานที่พวกเขามีให้หลุดลอยไป

หากแนวโน้มการเลิกจ้างงานระดับต่ำยังคงอยู่ ก็จะส่งผลสนับสนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

Zandi ได้กล่าวกับ CNN ว่า ปกติแล้วจะต้องมีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานมากกว่า 300,000 ครั้ง ถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำลง และตราบใดที่การเลิกจ้างยังค่อนข้างต่ำ เศรษฐกิจก็น่าจะไปได้สวย 

5.เงินเดือนมากกว่าราคาค่าครองชีพ

istock-1428386188

หลังจากโควิด-19 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากราคาที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเช็คเงินเดือน และนั้นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างจริงไม่ทันกับการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทำให้การใช้จ่ายลดลงและเศรษฐกิจหดตัวลง สำหรับแนวโน้มเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อเงินเฟ้อเริ่มลดลง ทำให้ตัวเลขเงินเดือนกลับมาเพิ่มขึ้น

Zandi และ Wolfers ได้ต่างแสดงความคิดเห็นในแง่บวกกับทาง CNN ว่า การเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริงจะได้รับแรงผลักดันในปี 2024 เมื่อเวลาผ่านไป อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ รายได้จะไล่ตามและแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ผู้คนรู้สึกดีและมีความเชื่อมั่นที่จะจับจ่ายมากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม จากบทเรียนช่วงปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดของโควิด-19 การรุกรานยูเครนของรัสเซีย หรือสงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส

รวมถึงปัจจัยเสี่ยงคุกคามอื่นๆ เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2024 ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การแข่งขันชิงเก้าอี้ทำเนียบขาว ย่อมส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกแน่นอน

ทำให้เหล่านักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายสรุปว่าต่อให้เป็นปีที่มีแนวโน้มบวกมากมาย นักธุรกิจและนักลงทุนทั้งหลายยังคงต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบให้มาก รวมถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารและหมั่นบริหารความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อลดผลกระทบทางลบจากเหตุไม่คาดฝัน 

ที่มา : CNN 

advertisement

SPOTLIGHT