ข่าวเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าคาด ปี 66 เหลือ 1.5%  ส่วนปีหน้า โต 3.2%

20 พ.ย. 66
เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าคาด ปี 66 เหลือ 1.5%  ส่วนปีหน้า โต 3.2%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปีนี้ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนเหลือ 1.5% หากเทียบกับไตรมาส 2 ที่ 1.8 % คาดการณ์ GDP ไทยปี 66 โตเหลือ 2.5 % ส่วนปีหน้าคาดโต 3.2%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภสวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปี 2566 พบว่า ขยายตัวได้ 1.5 % เป็นการขยายตัวที่ชะลอลงจากไตรมาส 2 ที่ 1.8%  รวม 9 เดือนแรกของ ปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9

สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงในไตรมาสที่3 นี้เป็นผลจากการส่งออกรวมหด 3.1% นับเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ขณะเดียวกันการผลิตในประเทศที่ชะลอลง ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐบาล และการนำเข้าสินค้ายังคงลดลงเช่นกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3  

สำหรับการประเมินเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2566 สภาพัฒน์ฯ คาดว่า GDP ไทยจะขยายตัว 2.5% ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ขยายตัว 2.6% อัตราเงินเฟ้อปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.4%  และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.0%  ของ GDP

ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2567  คาดว่าจะขยายตัวในช่วง  2.7 - 3.7 % หรือ ค่ากลางคือ 3.2%  โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวในเกณฑ์ดี รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอีก

ทั้งนี้ คาดว่า ปี 2567 การบริโภค จะขยายตัว  3.2 % การลงทุนภาคเอกชน จะขยายตัว  2.8%   การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัว 3.8 %  ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่ว1.7 - 2.7 % ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5%  ของ GDP

เลขาฯสภาพัฒน์  ยังบอกด้วยว่า ตัวเลข GDP ปี 2567 สภาพัฒน์ยังไม่ได้รวมผลของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตไว้ เพราะต้องรอดูว่า นโยบายนี้จะใช้วงเงินเท่าไร ใช้เงินจากแหล่งไหน ใช้เงินกู้ หรือไม่ใช้ และคงต้องรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้ดำเนินการไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความรอบคอบ

GDP ไทยไตรมาส /2566

ทั้งนี้นายดนุชา ยังระบุด้วยว่า  โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดี แต่หากจะให้ดีกว่านี้ ก็ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคใหญ่ และมีความเกี่ยวข้องกับการส่งออก

ส่วนที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีหน้าไว้ที่ระดับ 5% นายดนุชา มองว่า เป็นเป้าหมายในการบริหารด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งการจะทำให้เศรษฐกิจไทยไปถึงระดับนั้นได้ ต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทั้งด้านการส่งออก และการลงทุนเป็นสำคัญ เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในเรื่องเสถียรภาพการเติบโตของประเทศในระยะยาว ตลอดจนการท่องเที่ยว ที่ต้องทำให้เป็นการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ เพื่อสามารถเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น และใช้เวลาอยู่ในไทยนานขึ้น

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3

ทั้งนี้ การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2566 และในปี 2567 ควรให้ความสาคัญกับ 7 ประเด็นดังนี้ 

1.การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศ

2.การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 

3.การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้าให้กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

  • การเร่งรัดการส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังขยายตัวดี และการสร้างตลาดใหม่ 
  • การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก
  • การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี 
  • การอานวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
  •  การป้องกันและแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้าโดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ทางภาษี 
  • การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการ ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
  • การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการผลิตสินค้า
  • การเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางของประเทศ 

4.การสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน 

  • การขับเคลื่อนการส่งออกให้กลับมาขยายตัว
  • การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน ให้เกิดการลงทุนจริง และเร่งอนุมัติโครงการที่เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้เริ่มประกอบกิจการได้เร็วขึ้น
  • การแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สาคัญต่อการลงทุน 
  • การดาเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 
  • การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 
  • การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนที่กาหนด 

5.การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง 

  •  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ LTR
  • การติดตามประเมินผลมาตรการการยกเว้นการตรวจลงตรานักท่องเที่ยว
  • การกระจายตลาดนักท่องเที่ยวให้สมดุล
  • การส่งเสริมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 
  • การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง 

6.การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร 

  • การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง
  • การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านระบบประกันภัยพืชผล 
  • การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย
  • การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มและผลิตภาพการผลิต
  • การส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ย วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ

 7.การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจาก การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

  • การเร่งรัดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2567 ยังไม่มีผลบังคับใช้
  • การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2567 ไม่ให้ล่าช้ากว่า ที่คาด
  • การเตรียมโครงการให้มีความพร้อมสาหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายได้โดยเร็ว 
  • การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

 

 

advertisement

SPOTLIGHT