ข่าวเศรษฐกิจ

“นิด้าโพล”เปิดผลสำรวจ คนส่วนใหญ่อยากได้นโยบายเงินเดือนป.ตรี 25,000 บาท

5 ก.ย. 66
“นิด้าโพล”เปิดผลสำรวจ คนส่วนใหญ่อยากได้นโยบายเงินเดือนป.ตรี 25,000 บาท
รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี น่าจะเริ่มประชุมครม.นัดแรกได้ในสัปดาห์หน้านี้ และ 11 กันยายน 2566 คาดว่าจะสามารถแถลงนโยบายต่อรัฐสภาได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า นโยบายเด่นที่รัฐบาลเศรษฐา 1 ได้ประกาศไว้ (รวมของพรรคร่วม) ถูกคาดหวังจะสามารถฟื้นเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นได้ แต่ก็ยังมีคำถามว่า หลายนโยบายที่ว่านั้นจะสามารถทำได้จริงหรือไม่?
.
มีผลสำรวจของ “นิด้าโพล” สอบถามประชาชนในหัวข้อ “นโยบายพรรคเพื่อไทย ทำได้หรือไม่?”พบข้อมูลที่น่าสนใจ ทั้งนโยบายที่ประชาชนอยากได้คือ เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท สัดส่วน80% รองลงมาคือ ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท สัดส่วน 78% ส่วนเงินดิจิทัล 10,000 บาทมีกลุ่มตัวอย่างอยากได้สัดส่วน 36%
.
แต่เมื่อถามความมั่นใจของประชาชนว่า นโยบายเหล่านี้จะสามารถทำได้จริงหรือไม่ พบว่า สัดส่วนกลุ่มตัวอย่าง 82% คิดว่านโยบาย เงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำได้จริง แต่กลุ่มตัวอย่าง 41.98 % ไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ได้สำเร็จ เช่นเดียวกับเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 ที่กลุ่มตัวอย่าง 41.14 % ไม่เชื่อว่าทำได้จริง

756087

นโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนอยากได้มีดังนี้  

  • พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 25 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.89 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • ทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 18 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 5.42 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 36 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 4.65 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 80.08 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.79 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 70 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.86 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • กทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 78.17 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 10.46 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 78.09 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.09 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 51 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 8.47 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 1.15 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 90 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 13.97 ระบุว่า เฉย ๆ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ไม่อยากได้ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ
  • แก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 32 ระบุว่า อยากได้ รองลงมา ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ไม่อยากได้ ร้อยละ 6.56 ระบุว่า เฉย ๆ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ

    นโยบายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่จะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่  พบว่า

  • พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ทั้งต้น ทั้งดอกทันที ตัวอย่าง ร้อยละ 68.32 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 18.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 82 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 29.01 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ ในจังหวัดนำร่อง ตัวอย่าง ร้อยละ 98 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • กทม. ทั้ง 50 เขต มีโรงพยาบาลประจำเขต ตัวอย่าง ร้อยละ 15 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 17.86 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 3.36 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 30.15 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 18.78 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • ทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตัวอย่าง ร้อยละ 31 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ และไม่เชื่อว่าทำได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • แก้ไขกฎหมาย เพื่อยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ตัวอย่าง ร้อยละ 74 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 39.69 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตัวอย่าง ร้อยละ 01 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 35.72 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 23.51 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 37.18 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 20.46 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ

  • เงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570 ตัวอย่าง ร้อยละ 41.14 ระบุว่า ไม่เชื่อว่าทำได้ รองลงมา ร้อยละ 36.64 ระบุว่า เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

อายุของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.79 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.37 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ

สถานะของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34.35 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.13 สมรส และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 26.34 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.51 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.54 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.11 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.05 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.72 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

รายได้ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 20.30 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 30.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.84 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.17 ไม่ระบุรายได้

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT