ข่าวเศรษฐกิจ

ส่งออกไทย ก.พ.ติดลบ 4.7% เศรษฐกิจโลกชะลอนำเข้าน้อยลง สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น

30 มี.ค. 66
ส่งออกไทย ก.พ.ติดลบ 4.7% เศรษฐกิจโลกชะลอนำเข้าน้อยลง สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น

ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นไปแล้ว สะท้อนความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อยังเป็นประเด็นสำคัญของไทย ขณะที่สถานการณ์ในต่างประเทศ ยังมีความวิตกกังวลวิกฤตภาคธนาคารของสหรัฐฯ และยุโรปอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทุกคนต่างกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตัวเลขหนึ่งที่จะสะท้อนได้ดี คือ ตัวเลขการส่งออกของไทย

ล่าสุด ตัวเลขการส่งออกของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ออกมาพบว่า ติดลบ 4.7% มีมูลค่า  22,376.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (730,123 ล้านบาท) จากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า และแรงกดดันด้านเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว 

การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่า 22,376.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (730,123 ล้านบาท) หดตัว 4.7% จากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า และแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กระทบต่อความต้องการสินค้า โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงหดตัว รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน (โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์) และทองคำ มีการปรับลดลงจากปัจจัยราคาเป็นหลัก” นายสินิตย์  เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2566 การส่งออก มีมูลค่า 22,376.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 4.7% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,489.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 1.1% ดุลการค้า ขาดดุล 1,113.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้ามูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกุมภาพันธ์ 2566 การส่งออก มีมูลค่า 730,123 ล้านบาท หดตัว 5.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 776,425 ล้านบาท ขยายตัว 0.5% ดุลการค้า ขาดดุล 46,301 ล้านบาท 

info-intertradepptfeb23

โดยตลาดสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น 

  1. ยางพารา หดตัว 34.0% หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน เป็นการหดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตุรกี
  2. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัว 9.1% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์ 
  3. อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัว 23.4% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และอิตาลี 
  4. ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัว 23.9% หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย กัมพูชา และเนเธอร์แลนด์ 

ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 6.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดจะหดตัว โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น 

  1. สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว 20.6% หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน โดยหดตัวในตลาดจีน อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว 22.9% หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ 
  3. เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ หดตัว 12.9% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ภาพรวมส่วนใหญ่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดการส่งออกหลัก อย่างตลาดหลัก หดตัว 5.9% หดตัวในสหรัฐฯ 9.5% จีน 7.9% ญี่ปุ่น 2.5% CLMV  4.9% และอาเซียน 6.4%

โดยตลาดสหรัฐฯ หดตัว 9.5% เป็นการหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 7.2%

ตลาดจีน หดตัว 7.9% จากหดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และยางพารา เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ทั้งนี้ 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 9.6%

ตลาดญี่ปุ่น หดตัว 2.5% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 5.9%

ตลาดอาเซียน กลับมาหดตัว 6.4% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 2.4%

ตลาด CLMV หดตัว 4.9% เป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก
อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น โดย 2 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 7.9%

สำหรับแนวโน้มการส่งออกไทย กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ประเทศคู่ค้าหลักยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ 

โดยคาดว่าช่วงหลังของปีนี้ การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามแนวโน้มราคาพลังงาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่ทยอยคลี่คลาย รวมถึง แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน และการฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวจะช่วยหนุนอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเชิงรุกและลึก โดยในเดือนที่ผ่านมา เช่น

   1. การผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าทำตลาดข้าวผ่านงานแสดงสินค้านานาชาติ 

ตั้งเป้าการส่งออกปี 2566 ที่ 7.5 ล้านตัน ด้วยปัจจัยหนุนจากอินเดียและเวียดนามมีนโยบายเก็บสต๊อกข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการบริโภคข้าวในอินโดนีเซีย บังกลาเทศ และตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้น 

   2. การเดินหน้าสร้างความร่วมมือระดับท้องถิ่น ด้วยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Mini FTA) ระหว่างไทยและ

เซินเจิ้น ตั้งเป้าการค้าระหว่างกันอีก 43,000 ล้านบาท ปี 2566 - 2567 เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง และมีขนาดเศรษฐกิจเกือบเท่าไทย 

   3. การเร่งเปิดเจรจา FTA คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) โดยหลังจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการเปิดการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนของไทยร่วมประชุมกับฝ่ายยูเออี เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน และเปิดโครงการไทยซุค (Thai Souq) ที่เป็นแหล่งรวมและกระจายสินค้าและบริการของไทยในเมืองดูไบ โดยยูเออีเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและจะเป็นประตูเข้าสู่การค้าของกลุ่มประเทศอาหรับต่อไป

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT