ข่าวเศรษฐกิจ

เคาะ! แล้ว ค่าไฟ 4.77 บาท/หน่วย แพงขึ้นกว่าเดิม มีผลพ.ค.-ส.ค.นี้.

23 มี.ค. 66
เคาะ! แล้ว ค่าไฟ 4.77 บาท/หน่วย แพงขึ้นกว่าเดิม มีผลพ.ค.-ส.ค.นี้.

เคาะแล้ว! ค่าไฟฟ้าแล้ว หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้เปิดรับการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือนพ.ค. – ส.ค.2566 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 10 – 20 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา

โดยกกพ.ได้เคาะค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชน ภาคธุรกิจในอัตราเดียว คือ 4.77 บาท/หน่วย พร้อมทั้งเคาะค่าเอฟที 98.27 สตางค์/หน่วย จะมีผลรอบเดือนพ.ค.-ส.ค.2566

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กกพ.มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย และกกพ. ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วย ประกอบด้วย

“ในการพิจารณาค่าเอฟทีในงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลจริงเฉลี่ยในเดือน ม.ค.2566 หากการดำเนินการจริงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าประมาณการดังกล่าว กกพ.จะนำส่วนต่างค่าใช้จ่ายมาปรับปรุงการคิดค่าเอฟที ในรอบต่อๆ ไป ตามหลักเกณฑ์การคำนวณค่าเอฟที” นายคมกฤช กล่าว

โดยผลจากการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที และได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวด พ.ค. - ส.ค. 2566  

โดยมีแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่

กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย

ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ไปตั้งแต่วันที่ 10 – 20 มีนาคม 2566 นั้น ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้รวบรวมและสรุปประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับค่าเอฟทีครั้งนี้ ได้ดังนี้

 

สรุปความเห็นการรับฟังความคิดเห็น

ค่าเอฟทีสำหรับเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2566

ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ.

 

ร้อยละ

เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 1 (ค่าเอฟที 293.60 สต.ต่อหน่วย)

 15

เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 2 (ค่าเอฟที 105.25 สต.ต่อหน่วย)

 10

เห็นด้วยกับกรณีศึกษาที่ 3 (ค่าเอฟที 98.27 สต.ต่อหน่วย)

30

ให้คงค่าเอฟที เท่ากับ 93.43 สต.ต่อหน่วย

10

ความเห็นอื่นๆ

25

คำถาม

10

รวมทั้งสิ้น

100

ค่าไฟขึ้นแน่แท้แล้ว ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ส.ค.2566 นี้ โดยเป็นการค่าไฟฟ้าอัตราเดียวที่ 4.77 บาท/หน่วย ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 4.72 บาท/หน่วย ที่ก็ถือว่าเยอะอยู่แล้ว รอบนี้เราประชาชนตาดำๆ คงต้องหันมาช่วยกันประหยัดไฟมากขึ้น หรือพึ่งพาจากพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น มากขึ้น ก่อนที่บิลค่าไฟมาแล้ว…เราจะเป็นลม ลม ลม กัน…

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT