ธุรกิจการตลาด

เปิดที่มา AWC กำไรฟื้น 100% อาณาจักรแสนล้านมีอะไรบ้าง

11 ส.ค. 65
เปิดที่มา AWC  กำไรฟื้น 100%   อาณาจักรแสนล้านมีอะไรบ้าง

หากพูดสถานแหล่งท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง หรือแฮงเอาท์ ในกรุเทพ เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อหรือเคยไป 'เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์' กับ เดอะ ล้ง 1919 รีเวอร์ไซด์ วิวติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาโครงการเกทเวย์ แอท บางซื่อ, โครงการเออีซี เทรด เซ็นเตอร์ พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ, โครงการตะวันนา บางกะปิ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วโครงเหล่านี้มีเจ้าของเดียวกันนั่นคือ  บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยฯ

 

เอเชียทีค

 

จริงๆ AWC ยังมีธุรกิจในเครืออีกจำนวนมากซึ่ง SPOTLIGHT จะพาไปรู้จักธุรกิจของให้มากขึ้น ธุรกิจในกลุ่ม AWC แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

 

1.กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) ซึ่งบริหารงานโดยผู้บริหารโรงแรมภายใต้แบรนด์ระดับสากล อาทิ แมริออท, เดอะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล, โอกุระ,บันยันทรี, ฮิลตัน และเชอราตัน

 

2.กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail, Wholesale and Commercial) ซึ่งแบ่งย่อยเป็นอีก 2 กลุ่ม คือ

 

1) อสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail and Wholesale) ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวแนวไลฟ์สไตล์ คอมมูนิตี้ชอปปิงมอลล์ คอมมูนิตี้ มาร์เก็ต และอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้าส่ง โดยอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้ามีโครงการที่มีชื่อเสียงคือ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ โครงการเกทเวย์ แอท บางซื่อ โครงการเออีซี เทรด เซ็นเตอร์ พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ และโครงการตะวันนา บางกะปิ

2) อาคารสำนักงาน (Office) โดยโครงการที่โดดเด่นในเครือ AWC คือ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ และอาคารแอทธินี ทาวเวอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลทางธุรกิจที่มีศักยภาพในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโครงการที่ AWC ลงทุนและเป็นเข้าเป็นเจ้าของนั้น เมื่อคำนวณตัวเลขรวมกันแล้วเป็นอาณาจักรขนาดที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท

 

ด้วยอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ลองดูว่า AWC มีรายได้-กำไรมากแค่ไหน

  • ปี 2561 รายได้ 12,415.64 ล้านบาท กำไร 469.58 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 11,522 ล้านบาท กำไร 1,054.23 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 6,136.42 ล้านบาท ขาดทุน -1,881.23 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ ล้านบาท 4,395.83 กำไร 861.48 ล้านบาท
  • ล่าสุด ไตรมาส 2/2565 รายได้ 3,2064 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไร 776 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

 

กลยุทธ์อะไรที่ AWC ใช้สร้างกำไรให้เติบโต

โดย 'วัลลภา ไตรโสรัส' ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC อธิบายถึงกลยุทธ์ที่ใช้ทำให้ผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2565 เติบโตได้อย่างโดดเด่น ส่งผลในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 AWC มีกำไรสุทธิรวม 1,422 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากการใช้กลยุทธ์และการเตรียมพร้อมขององค์กรรับการเปิดประเทศที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง

 

รวมถึงยังได้การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและมาตรการผ่อนคลายจากภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ นอกจากนี้กำไรที่เพิ่มขึ้นยังเป็นผลมาจากการเพิ่มมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินของบริษัทด้วยเช่นกัน

 

วัลลภา ไตรโสรัส

 

"กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากกว่า 100% ใน 6 เดือนที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการเปิดประเทศ และการเตรียมต้อนรับนักเดินทางจากทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นอย่างแข็งแกร่ง”

 


กลุ่มธุรกิจโรงแรมโตก้าวกระโดด

โรงแรมในเครือ AWC

 

กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการมีการเติบโตเพิ่มขึ้นในทุกเซ็กเมนต์ โดยเฉพาะโรงแรมกลุ่มลักซ์ชูรี ซึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้บริการโรงแรมมากขึ้น และภาครัฐยังกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศด้วยแคมเปญต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ห้องพักต่อห้องที่มีทั้งหมด (RevPAR) ในไตรมาส 2/2565 เติบโตขึ้น 302% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีราคาห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (Average Daily Rate: ADR) ที่เพิ่มขึ้น 48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นราคาห้องพักเฉลี่ยต่อคืนที่เพิ่มขึ้นมาเกือบใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด COVID-19


นอกจากนั้น การเติบโตของงานประชุมสัมมนาแบบก้าวกระโดดในไตรมาส 2 ปีนี้ที่ผ่านมา ทำให้โรงแรมกลุ่มประชุมสัมมนาของบริษัทฯ มีรายได้เติบโตถึง 407% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเช่นกัน

 


ธุรกิจให้เช่าพื้นที่การค้าโตแรง

861772

 

สำหรับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบไปด้วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าเเละธุรกิจอาคารสำนักงาน (Retail & Commercial) สามารถกลับมาเติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากประชาชนเริ่มกลับเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าเพื่อจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของลูกค้าเข้าพื้นที่ในโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ในไตรมาส 2/2565 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงกว่า 220%

 

ขณะที่ AWC ได้มีการวางแผนพัฒนาเพื่อเสริมศักยภาพและยกระดับการบริการต่างๆ ให้ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคอยู่เสมอ โดยร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจไลฟ์สไตล์ในเครือ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้บริษัทสามารถส่งเสริมการเติบโตได้เป็นอย่างดี สำหรับธุรกิจอาคารสำนักงานยังคงสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงด้วยการดึงดูดผู้เช่าใหม่ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจระดับโลกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

 

โดยมีภาพรวมอัตราค่าเช่าต่อตารางเมตรต่อเดือน (Average Rent Rate) ในไตรมาส 2/2565 สูงขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2564 และยังสามารถรักษาผู้เช่ารายเดิมได้ถึง 96% ซึ่งเป็นผลมาจากอาคารคุณภาพเกรด A ที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ (CBD) และมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยของผู้เช่าในยุคดิจิทัลอยู่เสมอ

 

เดินหน้ากลยุทธ์ร่วมทุนพาร์ทขยายธุรกิจโรงแรม

415265

 

AWC ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงการคุณภาพเพื่อรองรับการเติบโตอย่างมั่นคงและช่วยเสริมศักยภาพให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยหลังมาตรการเปิดประเทศ ด้วยการเปิดโรงแรมมีเลีย เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงแรมจากเครือมีเลียแห่งแรกในภาคเหนือเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้จำนวนห้องพักทั้งหมดของบริษัท ในปัจจุบันรวมเป็น 5,201 ห้อง ซึ่งคิดเป็นการเติบโตถึง 61%จากจำนวนห้องพักก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19


นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกมากมายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาทิ การลงนามสัญญากับเครืออินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ลส์ กรุ๊ป เพื่อพัฒนาโรงแรม คิมป์ตัน หัวหิน รีสอร์ท การลงนามกับพันธมิตรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าส่งของ เออีซี เทรดเซ็นเตอร์ รวมถึงการร่วมจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) กับหน่วยงานด้านการลงทุนระดับโลก เพื่อลงทุนในธุรกิจโรงแรมที่มีศักยภาพในแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำในประเทศไทย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT