ธุรกิจการตลาด

EV ไทยยังไม่สิ้นหวัง BOI เปิดตัวเลขลงทุนแบตเตอรี่ เกือบ 5 พันล้านบาท

13 มิ.ย. 65
EV ไทยยังไม่สิ้นหวัง BOI เปิดตัวเลขลงทุนแบตเตอรี่ เกือบ 5 พันล้านบาท

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) มีมติให้เพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจลงทุนผลิตแบตเตอรี่อีวี เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ (BATTERY CELL) ระดับโมดูล (BATTERY MODULE) และกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY)

 

โดยเพิ่มระยะเวลาการให้สิทธิและประโยชน์ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในกรณีที่ผลิตจำหน่ายในประเทศ จาก 2 ปี เป็น 5 ปี ทั้งนี้ กรณีโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมและได้รับอนุมัติไปแล้ว สามารถแก้ไขโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ใหม่นี้ได้เช่นกัน

 

เอกชนแห่งลงทุนแบตฯ รถ EV มูลค่าเกือบ 5 พันล้านบาท

ปัจจุบัน มีโครงการได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ในกิจการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าจำนวน 16 โครงการจาก 10 บริษัท รวมเงินลงทุน 4,820 ล้านบาท และมีโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง (HIGH ENERGY DENSITY BATTERY) รวม 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,746.1 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอยังได้เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนกิจการนิคมหรือเขตอุสาหกรรมอัจฉริยะ โดยต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะ 5 ด้าน ได้แก่ Smart Facilities, Smart IT, Smart Energy, Smart Economy และบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อย่างน้อยอีก 1 ใน 3 ด้าน ดังนี้ Smart Good Corporate Governance, Smart Living และ Smart Workforce

 

ev22

 

พร้อมทั้งยกเลิกเงื่อนไขห้ามตั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ นอกจากนี้ โครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม ทั้งที่สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้ยังไม่สิ้นสุดและสิ้นสุดแล้ว และโครงการที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริม ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมหรือขอรับการส่งเสริมเพื่อยกระดับเป็นนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะได้เช่นกัน

 

รวมทั้งเปิดให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อช่วยยกระดับการพัฒนานิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ไปสู่การเป็นนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี หากตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี เพิ่มเติม

 

และเพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติและอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการในประเทศไทย บีโอไอได้กำหนดให้นิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท

 

โดยถือครองที่ดินเป็นที่ตั้งสำนักงานของกิจการได้ไม่เกิน 5 ไร่ ที่ดินเป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้บริหาร ผู้ชำนาญการต่างชาติ ได้ไม่เกิน 10 ไร่ และที่ดินเป็นที่พักอาศัยของคนงานได้ไม่เกิน 20 ไร่ หากหมดสภาพการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องจำหน่ายหรือโอนที่ดินภายใน 1 ปี ทั้งนี้ ให้สำนักงานออกประกาศหลักเกณฑ์เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

 

 

KKP Research ชี้ฐานผลิตไทยรถ EV ไทย สู้จีน-อินโดฯ ยาก

 
โดยก่อนหน้านี้ KKP Research ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง"เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็น EV ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง?" ระบุว่า แต่ในฝั่งของภาคการผลิตรถยนต์ EV ของไทยมีความ “น่ากังวลมาก” เนื่องจากการผลิตรถยนต์ของไทยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
 
 
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันจะพบว่าหลายประเทศส่งออกของไทย โดยเฉพาะออสเตรเลียเริ่มมีการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV ชัดเจนขึ้น และจะเริ่มกระทบการส่งออก ของไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมไปเป็นการผลิตรถยนต์ EV ยังมีอุปสรรคมากและประสบความสำเร็จได้ยาก
 
 
1.รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง แต่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังปรับตัวช้าจากแผนการผลิตรถยนต์ EV ที่น้อยกว่ารถยนต์ค่ายยุโรปและอเมริกามากซึ่งจะส่งผลเสียเพราะไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ญี่ปุ่น คล้ายกับบริษัท GM-Holden ในออสเตรเลียที่ไม่ปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลก
 
 
2.การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น จีนและอินโดนีเซียอาจกำลังส่งออกแซงไทย สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ในตลาดโลกไทยมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 1.7 เหลือร้อยละ 1.3 ในขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ0.7 เป็นร้อยละ 1.5 โดยไทยโดนจีนแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศออสเตรเลีย และโดนอินโดนีเซียแย่งส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและฟิลิปปินส์
 
 
3.ไทยกำลังเผชิญปัญหา ด้านการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยส่วนใหญ่เป็นประเทศพวงมาลัยขวา ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 6 ของโลก เมื่อเจอกับปัญหาตลาดในประเทศที่หดตัวลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนแบ่งในตลาดโลกที่ลดลง
 
 
และการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้คนน้อยลงทำให้ปริมาณการผลิต(Scale) มีความสำคัญมากขึ้นมาก จะทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุน หรือ การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในขณะที่การเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายทำได้ยาก
 
 
4.การมี FTA กับประเทศจีน ทำให้สามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่มีภาษี และการนำเข้ารถยนต์ EV จากจีนมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการผลิตเองภายในประเทศ เพราะปริมาณการการผลิตรถยนต์ EV ที่จีนมีขนาดใหญ่กว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่า
 
 
และไม่มีความจำเป็นที่ไทยต้องนำเข้าชิ้นส่วน เช่น แบตเตอรี่มาประกอบเอง สถานการณ์คล้ายกับออสเตรเลียในอดีตที่เริ่มมี FTA กับไทยและท้ายที่สุดนำเข้ารถยนต์จากไทยแทน
5.ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ตามค่าแรงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สถานการณ์เช่นนี้อาจทำให้การผลิตรถยนต์ไทยมีแนวโน้มเหลือเพียงการผลิตเพื่อขายในประเทศหรือในกรณีเลวร้ายอาจต้องนำเข้าจากประเทศอื่น
 
 
รถยนต์อีวี
 
 
นอกจากนี้ ยังมีหลายสัญญาณที่ทำให้ KKP Research ประเมินว่าการผลิตรถยนต์ไทยมีแนวโน้มเหลือเพียงการผลิตเพื่อขายในประเทศเท่านั้น หรือในกรณีเลวร้ายอาจต้องนำเข้าจากประเทศอื่นแทน โดยเฉพาะความสามารถในการแข่งขึ้น ซึ่งไทยกำลังเสียเปรียบคู่แข่งอย่างจีนและอินโดนีเซียในหลายมิติ ด้วยสาเหตุดังนี้
 
 
1. ไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก นอกจากนี้การผลิตแบตเตอรี่ต้องมาพร้อมกับการรีไซเคิล (Battery Recycling) ซึ่งจีนมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 80
 
 
ปัญหาการขาด แคลนทรัพยากรธรรมชาติถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และรถยนต์ EV เนื่องจากมีการคาดการณ์ไว้ว่าแร่สำคัญในการผลิตแบตเตอรี่อย่างนิเกิลและลิเทียมจะหมดในปี 2024-2026 การรีไซเคิลแบตเตอรี่จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน แม้ว่าในระยะต่อไปอาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆแทนการใช้แบตเตอรี่ลิเทียมแบบเดิม
 
 
2. อินโดนีเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะเป็นแหล่ง Nickel ที่สำคัญของโลกมากถึงร้อยละ 30 ทั้งนี้การผลิตรถยนต์ EV ใช้แร่ธาตุมากกว่ารถยนต์ ICE ถึง 6 เท่า โดยนิเกิลเป็นแร่ที่ใช้มากเป็นอันดับ 2 รองจากลิเทียมในการผลิตแบตเตอรี่ อีกทั้ง Nickel ยังเป็นแร่ที่มีผลต่อราคาแบตเตอรี่อย่างมาก เนื่องจากมีราคาสูงรองจากโคบอลต์และลิเทียมเท่านั้น
 
 
ขณะเดียวกัน ต้นทุนแรงงานอินโดนีเซียถูกกว่าไทย 3 เท่า และตลาดอินโดนีเซียใหญ่กว่าไทยเกือบ 4 เท่า จำนวนประชากรในอินโดนีเซียมีมากถึง 273 ล้านคน ในขณะที่ จำนวนประชากรไทยมีเพียง 69 ล้านคน ทำให้เริ่มเห็นหลายบริษัท เช่น LG Energy Solution
 
 
และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังอยู่ใกล้ฟิลิปปินส์อีกหนึ่งตลาดสำคัญที่มีประชากรถึง 109 ล้านคน และขยายตัวเร็วเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี
 
 
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
 
 
 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT