ธุรกิจการตลาด

ขายของผ่าน TikTok Shop ให้รวย ฟัง 3 ตัวอย่างแบรนด์ สร้างยอดขายกระฉูด

1 ส.ค. 66
ขายของผ่าน TikTok Shop ให้รวย ฟัง 3 ตัวอย่างแบรนด์ สร้างยอดขายกระฉูด

TikTok Shop ผสาน ‘คอนเทนต์’ กับ ‘คอมเมิร์ซ’ ไว้ด้วยกัน ให้ผู้ใช้ทั้งชมความบันเทิง และซื้อสินค้าได้ภายในแอปเดียว ให้ผู้ใช้ได้เจอสินค้าใหม่ๆ และให้ผู้ขายสร้างร้านค้าสำหรับธุรกิจของตัวเองได้ด้วยตนเองโดยมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และมีการให้คำแนะนำอย่างเป็นระบบ นี่คือ 3 ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากช่องทางของ TikTok สร้างยอดขายด้วยวิธีที่ตอบโจทย์ลูกค้า และตรงกับจริตของแบรนด์


tiktokshopshoppingcenter 

3 เคสขายของผ่าน TikTok Shop ลูกค้าช้อปกระฉูด

 

134543

 

Dr.Pong กับความสำเร็จในการสร้างสรรค์วิดีโอสั้นบนแพลตฟอร์ม TikTok

 



Short video - Dr. Pong เป็นแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์การสื่อสารด้วยวิดีโอขนาดสั้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวน 2-3 วิดีโอต่อวัน วิดีโอสั้นเป็นเครื่องมือที่สามารถส่งเสริมการเข้าถึงผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี

เนื่องจาก Dr. Pong ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าที่มีผลิตภัณฑ์ด้านความงามที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นรายการสินค้าที่ต้องมีการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ ปัจจุบันผู้ใช้ที่นิยมดูวิดีโอขนาดสั้นมากกว่าการอ่านหรือการชมโฆษณาขนาดยาว จึงทำให้การสร้างวิดีโอขนาดสั้นได้รับความสนใจและสามารถสื่อสารข้อมูลได้รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีรายละเอียดมาก

นอกจากการเล่าถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์โดยตรงแล้ว Dr. Pong ยังได้สร้างคอนเทนต์แนะนำการใช้งานผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่กำลังมีปัญหาและต้องการตัวช่วยได้เป็นอย่างดี

 

353249
 

Oshi Inter Shop เปลี่ยนผู้เข้าชมให้กลายเป็นยอดขายจริงด้วย Live บน TikTok

 

Live - Oshi Inter Shop เป็นหนึ่งในร้านค้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการใช้ไลฟ์ในการสร้างชุมชนธุรกิจของตัวเอง ปัจจุบัน Oshi Inter Shop เป็นร้านค้ากระดาษทิชชู่ที่มียอดขายกว่า 200,000 บาทต่อเดือน โดยมีอัตราการกลับมาซื้อซ้ำของผู้ใช้สูงถึง 95.68%

โดยแบรนด์ได้ใช้กลวิธีการไลฟ์อย่างต่อเนื่อง มากกว่า 7,000 นาทีต่อเดือน เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้อย่างต่อเนื่องและสามารถแสดงสินค้าจริง การใช้งานจริง เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับหากมีการใช้จ่ายจริง เครื่องมือไลฟ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ และสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนธุรกิจจนนำพาไปสู่การซื้อซ้ำของผู้ใช้ได้

 

660244
 

Simplus เพิ่มการเข้าถึงพร้อมผลักดันยอดขายด้วย Creator Affiliate จาก TikTok

 

Creator Affiliate - Simplus เป็นหนึ่งในร้านค้าที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานเครื่องมือ Creator Affiliate และสามารถสร้างเครือข่าย Affiliate ได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากคุณภาพสินค้า รูปลักษณ์ และความสะดวกของการใช้งานได้กระตุ้นให้ผู้ใช้อยากมีส่วนร่วมในการรีวิวหรือบอกต่อผ่านคอนเทนต์วิดีโอในการรีวิวสินค้าที่มีหลากหลายรายการ พร้อมกับสร้างคอนเทนต์สร้างสรรค์จากผลิตภัณฑ์ของ Simplus เช่น เมนูอาหารอย่างง่ายด้วยกระทะไฟฟ้าใบเดียว
จึงทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้ใช้พร้อมกับกระตุ้นความคิดริเริ่มที่ทำให้อยากทดลองทำอาหาร หรือทำเมนูใหม่ๆ ตามคอนเทนต์ที่ได้รับชม

ปัจจุบัน การดูรีวิวสินค้าไม่ใช่แค่การอ่านรีวิวหรือการโชว์รูปภาพเพียงหนึ่งภาพอีกต่อไป แต่เป็นการได้เห็นการใช้งานในรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอทั้งจากผู้ใช้จริงและจากครีเอเตอร์มืออาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาเหล่าครีเอเตอร์และเครือข่าย Creator Affiliate ทาง Simplus ยังได้มีการสนับสนุนคอมมูนิตี้ของเหล่าครีเอเตอร์ด้วยการส่งเสริมการเทรนนิ่งเพื่อการสร้างสรรค์
คอนเทนต์ในยุคปัจจุบันให้กับเหล่านักสร้างสรรค์อีกด้วย

 

simplus
 

ขาช้อปอาเซียน - จ่ายไม่หนักแต่มีจำนวนหลักหลายร้อยล้านคน

 

ตลาด E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง COVID-19 และยังมีแนวโน้มจะเติบโตต่อไป จากรายงาน SEA e-Conomy 2022 เผยว่าในปี 2019 มูลค่ารวมของตลาด E-commerce ในภูมิภาคมีมูลค่า 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.47 ล้านล้านบาท) และได้มีการเติบโตมากกว่าสองเท่าตัวจนมีมูลค่า 1.31 แสนล้านดอลลาร์ (4.47 ล้านล้านบาท) ในปี 2022 การเติบโตของตลาด E-commerce ในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเติบโตรายปีแบบผสมมากขึ้น 17% เป็นมูลค่าคาดการณ์อยู่ที่ 1.80 แสนล้านดอลลาร์ (6.14 ล้านล้านดอลลาร์) ในปี 2025

การเติบโตของตลาด E-commerce เป็นได้รับแรงส่งจากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมากขึ้น จาก 360 ล้านคนในปี 2019 และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่าง COVID-19 ทำให้มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 460 ล้านคนในปี 2022 จากจำนวนประชากรทั่วทั้งภูมิภาค 600 ล้านคน ซึ่งผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ นอกจากการใช้งานเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังพบว่าเป็นการใช้งาน E-commerce กว่า 75% ในปี 2021 และมีอัตราการเติบโตมากขึ้น 19% ในครึ่งปีแรกของปี 2022

ถึงแม้ว่าผู้ใช้บริการจะมีการใช้จ่ายต่อครั้งเป็นจำนวนเงินไม่มาก โดยมีจำนวนการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 10 - 15 ดอลลาร์ (อยู่ในช่วง 300 - 500 บาท) แต่ด้วยขนาดของผู้บริโภคที่มีจำนวนมากทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่ม E-commerce เป็นอย่างดี

 

oishishio

 

นอกจากการเติบโตในระดับภูมิภาคแล้ว ตลาด E-commerce ในประเทศไทยก็นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าตลาด 5 พันล้านดอลลาร์ (1.7 แสนล้านบาท) ในปี 2019 เติบโตขึ้นเป็น 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (7.17 แสนล้านบาท) ในปี 2021 และ 2.2 พันล้านดอลลาร์ (7.5 แสนล้านบาท)ในปี 2022 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตรายปีแบบผสมเพิ่มมากขึ้น 13% เป็นมูลค่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.1 ล้านล้านบาท)ในปี 2025

advertisement

SPOTLIGHT