ปี 2567 เเนวโน้มการลงทุนธุรกิจก่อสร้างปี 2567 คาดเติบโตต่ำ แม้มีสัญญาณฟื้นตัว แต่ยังมีปัจจัยท้าทายมากมาย รับเหมาก่อสร้างเผชิญต้นทุนพุ่ง ภาคเอกชนต้องปรับกลยุทธ์รับมือกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐเร่งเครื่องโครงการสำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
จากรายงานของทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า มูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวมในปี 2567 (ณ ราคาปัจจุบัน) จะอยู่ที่ 1.40 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้จะแสดงสัญญาณการฟื้นตัว แต่ตัวเลขนี้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนโควิด-19 (2557-2561) ที่ 4.1% (CAGR) สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ยังรออยู่ข้างหน้า
ปี 2566 มูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวมอยู่ที่ 1.37 ล้านล้านบาท ปรับตัวขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นการลงทุนของ ภาครัฐ ที่หดตัว 2.2% และ ภาคเอกชน ที่ขยายตัว 3.9% สาเหตุหลัก ของการเติบโตชะลอตัว มาจากการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เนื่องจากงบประมาณประจำปี 2567 ล่าช้า ในทางตรงกันข้าม ภาคเอกชนมีการลงทุนที่คึกคัก โดยเฉพาะ โครงการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว
สำหรับปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า มูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวมจะอยู่ที่ 1.40 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 8% ของ GDP แม้ว่าการลงทุนก่อสร้างจะฟื้นตัวในปี 2567 แต่การเติบโตยัง ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในช่วงก่อนโควิด-19 (2557-2561) ที่ 4.1% (CAGR)
ภาครัฐเตรียมทุ่มเม็ดเงินลงทุนก่อสร้างในปี 2567 คาดการณ์มูลค่ารวมจะเติบโต 2.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 57% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวม แม้การลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีอาจยังหดตัว แต่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี จากการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีที่คาดว่าจะเริ่มเต็มที่ในไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป โครงการก่อสร้างภาครัฐสำคัญ ที่มีแผนจะดำเนินการในปีนี้ ได้แก่
โครงการเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
การลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนในปี 2567 คาดการณ์ว่าจะเติบโตชะลอลงที่ 1.5% เมื่อเทียบกับ 3.9% ในปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 43% ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างรวม สาเหตุหลัก มาจากการชะลอตัวของการก่อสร้างโครงการเชิงพาณิชย์และพื้นที่ค้าปลีกที่มีเม็ดเงินลงทุนสูง เช่น โครงการ Mixed-use ห้างสรรพสินค้า สอดคล้องกับข้อมูลของ CBRE ที่รายงานว่า อุปทานพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ ณ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2.9% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2567
ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในปี 2567 ยังคงเผชิญกับภาวะชะลอตัว ผู้ประกอบการมีท่าทีรัดกุม ชะลอแผนเปิดตัวโครงการใหม่ สาเหตุหลัก มาจากปริมาณอุปทานสะสมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีมากกว่า 200,000 หน่วย ประกอบกับความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ท่ามกลางความเข้มงวดในการให้สินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเผชิญต้นทุนพุ่ง ค่าแรงและวัสดุก่อสร้างราคาสูง
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปี 2567 เผชิญกับความท้าทายจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น สาเหตุเพราะ ค่าแรงขั้นต่ำ: ปรับขึ้น 2-16 บาท ไปอยู่ที่ 330-370 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา และมีความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกรอบภายในปีนี้ ด้านต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างรวม เฉลี่ยในช่วงปี 2565-2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2563-2564 ประมาณ 10 % ด้านราคาวัสดุบางรายการ เช่น เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก แม้จะย่อลงจากอุปสงค์ที่ยังชะลอตัว แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย