ุุมาดูกันว่า 6 บริษัทนอกตลาด ที่มีกำไรมากสุดในไทย มีบริษัทอะไรบ้าง ?
จริง ๆ แล้วบริษัท Western Digital Corporation มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยคุณ Alvin Phillips อดีตวิศวกรของ Motorolla บริษัทเจ้าของโทรศัพท์มือถือที่เคยโด่งดังในอดีต
Western Digital ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจจานเก็บข้อมูล (HDD) แต่แรก แต่เป็นธุรกิจผลิตเครื่องมือสำหรับทดสอบชิป และ แผงวงจร
มาถึงตอนนี้ Western Digital กลายเป็นบริษัทผลิต และ จำหน่าย จานเก็บข้อมูล (HDD) ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากสุดในโลก
ส่วนแบ่งตลาดจานเก็บข้อมูล
- Western Digital สัดส่วน 42%
- Seagate สัดส่วน 40%
- Toshiba สัดส่วน 18%
โดยบริษัทได้เริ่มเข้ามาทำธุรกิจในไทยตอนปี พ.ศ. 2530 เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตและส่งออกในเอเชีย
ปัจจุบันโรงงงานของ Western Digital ในไทยจัดเป็นโรงงานผลิตในเอเชียที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของบริษัท
จุดเริ่มต้นของธุรกิจโตโยต้าในไทยเกิดขึ้นตอนปี พ.ศ. 2505 ในตอนนั้น Toyota Motor Corporation ได้เห็นโอกาสที่จะวางให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตในเอเชีย จากตำแหน่งที่ตั้ง และ ต้นทุนแรงงานที่ไม่แพง
รวมถึงโอกาสในอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยที่กำลังเติบโตจากการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง และ โครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนที่เกิดขึ้น
เลยทำให้ Toyota Motor Corporation เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย และกลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไรมากสุดเป็นอันดับ 2 สำหรับบริษัทนอกตลาด
จุดเริ่มต้นของ Honda ในไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2510
ในตอนนั้น Honda เห็นโอกาสในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโต โดยเฉพาะในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค
Honda เลยเลือกเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยจากต้นทุนแรงงานที่ไม่แพง โครงสร้างพื้นฐานที่กำลังพัฒนา
ไปจนถึงตลาดรถจักรยานยนต์ที่กำลังเติบโตจากเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง
Honda เริ่มต้นธุรกิจในไทยจากการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ก่อนที่ต่อมาจะขยายมาทำธุรกิจรถยนต์
ปัจจุบัน Honda เป็นผู้นำตลาดรถจักรยานยนต์ในไทยและมียอดจดทะเบียนในแต่ละปีมากสุดเป็นอันดับ 1
จุดเริ่มต้นของ Isuzu ในไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2506
ในช่วงนั้น Isuzu เห็นโอกาสที่จะตั้งฐานการผลิตรถยนต์ในไทย จากต้นทุนแรงงานที่ไม่แพง
และความต้องการรถกระบะและรถบรรทุกที่กำลังเติบโตขึ้น จากภาคการเกษตรที่กำลังเติบโต
โดย Isuzu ได้เริ่มธุรกิจจากการประกอบรถบรรทุกและรถกระบะ ก่อนที่ต่อมาจะหันมาผลิตรถยนต์สำหรับโดยสาร
Isuzu นับว่าเป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำอันดับต้น ๆ ของตลาดรถกระบะในประเทศไทย
โดยมีรถกระบะที่เรารู้จักกัน คุ้นหูอย่าง Isuzu D-MAX ที่มักจะถูกเอาไปเป็นโฆษณาในโรงหนังนั่นเอง
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ด้วยทุนจดทะเบียน 350 ล้านบาท
โดยเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ AIS ซึ่งถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 99.99%
AWN มีธุรกิจหลักก็คือเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม หรือเสาสัญญาณอินเทอร์เน็ต มือถือ
โดย AWN ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบคอมพิวเตอร์
ก่อนที่ต่อมา AWN จะขยายธุรกิจต่อเนื่อง และได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย
และถ้ายังไม่เห็นภาพว่าคลื่นความถี่ที่สูงขึ้นให้อะไรกับเราบ้าง ? ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคลื่น 3G 4G และ 5G ที่เราใช้กัน ต่างก็ต้องใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อให้ส่งขอมูลได้มากขึ้นนั่นเอง
มาถึงวันนี้ AWN ก็ได้กลายเป็นผู้ให้บริการเสาสัญญาณที่มีคลื่นความถี่ครอบคลุมมากเป็นอันดับต้น ๆ ในไทย
จุดเริ่มต้นของตรีเพชรอีซูซุเซลส์เกิดขึ้นหลังจากธุรกิจของอีซูซุขยายตัวอย่างรวดเร็วในไทย
เลยทำให้ต้องตั้งบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ขึ้นมาเพื่อบริหารการจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายให้กับลูกค้า และทำตลาดในไทย
ซึ่งหลังจากบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาได้ 23 ปี อีซูซูก็มียอดการผลิตรถในไทยแตะ 1 ล้านคัน
และมีรถรุ่นขายดีอย่างอีซูซุดีแมคซ์ เป็นรถปิคอัพ รุ่นยอดนิยมของคนไทย ที่ทำให้ค่ายอื่นหันมาผลิตรถรุ่นนี้ออกมาแข่งขันในตลาด
ที่มา: เว็บไซต์ของแต่ละบริษัท