Moisture ได้ยินบ่อย ๆ เข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือยัง

19 ต.ค. 64

พอพูดถึงคำว่าความชุ่มชื้น หรือ “Moisture” หลายท่านก็มักจะนึกถึง “น้ำ” ใช่ไหมครับ ? เวลาที่ประสบปัญหาผิวแห้ง หลาย ๆ ท่านก็มักจะมองหาสกินแคร์ที่เน้นการเติมน้ำให้ผิวเป็นหลัก ซึ่งฟังดูแล้วก็ปกติดี ตรงไปตรงมา เหมือนกับเวลาที่เราเห็นดินแห้ง เราก็รดน้ำลงไป

แต่ในความจริงแล้ว การเติมน้ำให้กับผิวเพียงอย่างเดียว มักไม่ทำให้ปัญหาผิวแห้งหมดไปอย่างยั่งยืน เพราะว่าน้ำในผิว สามารถที่จะระเหยออกไปได้ตลอดเวลา

ความชุ่มชื้น หรือ Moisture นั้น น่าจะเป็นคำที่หลาย ๆ ท่านน่าจะรู้จักและคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบกันไหมครับว่า คำว่า “Moisture” จริง ๆ แล้วนั้นหมายถึงอะไร ?

Moisture (n.) ตาม Oxford learning dictionary ให้นิยามไว้แบบนี้ครับ "Very small drops of water or other liquid that are presented in the air, on a surface or in a substance" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “หยดเล็ก ๆ ของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศ พื้นผิว หรือภายในสสาร” แต่เมื่อพิจารณาพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ คำว่า ชุ่มชื้น เป็นคำวิเศษณ์ มีความหมายว่า “มีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่” หากทำให้เป็นคำนามโดยการเติมคำว่า “ความ” ลงไป คำว่า ความชุ่มชื้น (น.) จะมีความหมายว่า “การมีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่” ซึ่งเมื่อเทียบความหมายจากภาษาอังกฤษและภาษาไทย จะเห็นว่าความหมายในภาษาไทยแปลมาไม่ครบครับ ความหมายในภาษาไทยพูดถึงน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้ว “Moisture” หมายรวมถึงของเหลวทุกชนิดครับ

ดังนั้น ความชุ่มชื้นของผิวหนัง หรือ “Skin moisture” จึงหมายถึง ของเหลวทุกชนิด ได้แก่ น้ำและไขมันที่ชุ่มอยู่ในผิวครับ

 moisture1

 เนื่องจาก Skin moisture ไม่ได้หมายถึงน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงไขมันด้วย การบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นจึงต้องประกอบไปด้วย

1. การทำให้ผิวชุ่มน้ำ โดยใช้สารในกลุ่มที่เรียกว่า Humectant (ฮิว-เมก-แตนต์) สารเหล่านี้มีหลักการทำงาน คือ ซึมผ่านไปทุก ๆ เซลล์ในผิวหนังชั้นนอก โดยสารเหล่านี้จะทำหน้าที่อุ้มน้ำไว้ในตัวเอง ทำให้เซลล์ผิวอิ่มไปด้วยน้ำ ไม่แห้งเหี่ยว

2. การทำให้ผิวชุ่มน้ำมัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1 น้ำมันที่ซึมเข้าไปแทรกอยู่ภายใน โดยใช้สารกลุ่มที่เรียกว่า Emollient (อี-โมล-เลียนต์) สารเหล่านี้มีหลักการทำงาน คือ ซึมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ผิวชั้นนอก ช่วยเพิ่มความอ่อนนุ่ม (Fluidity) ของไขมันในผิวชั้นนอก ผิวจะนิ่มขึ้น เหมือนกับเทียนไขที่ทำมาจากพาราฟินที่มีความแข็ง แต่เมื่อผสมน้ำมันลงไปแล้วบดให้เข้ากัน เนื้อก็จะมีความอ่อนนุ่มขึ้น กลายเป็นบาล์มนั่นเองครับ

2.2 น้ำมันที่เคลือบบาง ๆ อยู่บนผิว โดยใช้สารกลุ่มที่เรียกว่า Occlusive (ออก-คลู-ซีฟ) สารเหล่านี้มีหลักการทำงาน คือ ไม่ซึมไปไหน อยู่แค่ชั้นนอกสุด ทำงานเหมือนเป็นฝาปิดไม่ให้น้ำในผิวระเหยออกไป ทำให้น้ำถูกกักเก็บไว้ในผิวได้นานขึ้นนั่นเองครับ

เพราะผิว ไม่ได้ต้องการแค่น้ำเพียงอย่างเดียว เคล็ดลับในการบำรุงผิว เพื่อผิวชุ่มชื้น สุขภาพดีอย่างยั่งยืนนั้น ควรที่จะบำรุงทั้ง “น้ำและไขมัน” ในปริมาณที่พอเหมาะแก่ผิว จะทำให้ผิวชุ่มชื้นอย่างแท้จริง ราวกับลูกโป่งน้ำครับ ผิวจะเปล่งประกาย แลดูอ่อนเยาว์ จนคนรอบข้างต้องทักว่าไปทำอะไรมาเลยทีเดียวครับ

----


byline


อมต ชัยเกรียงไกร

นักวิจัยสกินแคร์คนไทย ประสบการณ์ทำงานในบริษัทเครื่องสำอาง Top 3 ของญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านสูตรสกินแคร์ให้กับแบรนด์สกินแคร์ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผู้ก่อตั้ง แบรนด์ AMT Skincare
อ่านประวัติผู้เขียนต่อ คลิก

pin1จบทุกปัญหาผิว ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ฟรี!

addline1

 

 

AMT Skincare Official Line

แอดไลน์ @amtskincare หรือ คลิก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- ระวังมือหยาบกร้าน! เหตุล้างมือแล้วไม่เช็ดให้แห้ง ทำให้ผิวเสียความชุ่มชื้น

- ทริคเลือกสีหน้ากาก ช่วยอำพรางปัญหาผิว-ปรับรูปหน้า

- เผย 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิด “สิวหน้ากาก” พร้อมทริคดูแลที่ถูกต้อง

- ผิวแห้ง.. ใครว่าไม่เป็นสิว

advertisement

Powered by AMT Skincare

สุขภาพและความงาม คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด