ความยั่งยืน

‘เมืองยั่งยืน’ สร้างอย่างไร? แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

5 ต.ค. 66
‘เมืองยั่งยืน’ สร้างอย่างไร?  แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแล้ว แน่นอนว่า ถ้าเราเลือกได้ก็คงอยากอยู่ในเมืองที่ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่าย ปลอดภัย และตอบสนองความต้องการได้ในทุกด้านไม่ว่าเราจะมีฐานะและรายได้ในระดับใด แต่การทำให้เมืองตอบสนองความต้องการของมนุษย์อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะถ้าหากเน้นเพียงการพัฒนาเพื่อวัตถุและผลกำไรเพียงอย่างเดียวก็จะส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ทั้งด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เมืองสมัยใหม่ต้องถูกพัฒนาไปอย่าง “ยั่งยืน” ในรูปแบบที่ตอบสนองการพัฒนา ทั้งสามด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ด้วยคนเดียว แต่ต้องใช้ความร่วมมือจากคนทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน

s__271384711

และวิธีในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนนี้เองก็คือสิ่งที่ตัวแทนทั้ง 4 คน จากทั้ง 4 ภาคส่วนได้มาร่วมหาคำตอบกันในการเสวนาหัวข้อ “The Future of Sustainable and Smart City Living for Better Community” ซึ่งถูกจัดขึ้นในงาน “Sustainability Expo” เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

แต่ละภาคส่วนจะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเมืองยั่งยืนที่น่าอยู่สำหรับทุกคนได้อย่างไรบ้าง ทีม SPOTLIGHT สรุปมาให้อ่านกัน

 

UNDP มุ่งสร้างแนวทางใหญ่ กระตุ้นทุกคนลงมือทำ 

คุณ Renaud Meyer ตัวแทนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ภาคประชาสังคมหรือองค์กรระดับนานาชาติมีหน้าที่สร้างกรอบความร่วมมือ แนวทางโดยกว้าง และสร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนในประเทศต่างๆ เพื่อให้วิธีการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย และมีความครอบคลุมเป็นประโยชน์ของคนระดับ

ดังนั้น UNDP ในฐานะองค์กรเพื่อการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รวบรวมความเห็น ความต้องการ ของประชาชนทั่วโลกเพื่อพัฒนาเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (SDGs) ขึ้นมาได้สำเร็จแล้วจึงมีหน้าที่ทำให้ทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงปัญหา ผลักดันให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นวาระหลักในการพัฒนาของทุกประเทศ และสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาในแต่ละประเทศอย่างแท้จริง

โดยสิ่งที่คุณ Meyer มองว่าเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบันก็คือการที่คนส่วนมาก ‘ได้ยิน’ ว่ามีปัญหา แต่ไม่เคย ‘รับฟัง’ ว่าปัญหานั้นคืออะไร และควรจะต้องมีวิธีแก้ไขอย่างไร เพราะถ้าหากรับฟังจนเข้าใจถึงความร้ายแรงของปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว ทุกคนย่อมลงมือเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตตัวเอง เพราะหากยังนิ่งเฉย ทุกคนจะต้องพบกับผลกระทบที่ร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้มนุษยชาติสูญสิ้นไปได้

ทั้งนี้ คุณ Meyer ยังมองว่าถึงแม้ในปัจจุบัน ภาครัฐและภาคเอกชนจะออกมาประกาศความตั้งใจ และผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบ้างแล้ว ในบางกรณีการกระทำและผลลัพธ์ก็ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ อย่างเช่น การที่รัฐบาลเน้นให้เงินสนับสนุนให้ประชาชนหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ไม่ได้ลงทุนกับพลังงานสะอาดควบคู่กันไปด้วย ทำให้สุดท้ายก็เพิ่มการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตโดยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และไม่ได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้จะไม่ปล่อยคาร์บอนในขั้นตอนที่คนใช้รถ แต่ก็ปล่อยมากขึ้นในขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ คุณ Meyer ยังมองด้วยว่า นอกจากการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็ควรเน้นการพัฒนาด้านสังคมเพื่อเพิ่มความเท่าเทียมด้วย เพราะในประเทศไทยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมไปถึงประชาชนรายย่อยต่างๆ ที่อยู่ในเมืองอื่นๆ ที่ไม่ใช่เมืองหลวง ก็มีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นหากมุ่งเน้นพัฒนาแต่เพียงในบางพื้นที่ สำหรับคนแค่บางกลุ่ม การพัฒนานี้ก็จะไม่มีความยั่งยืน เพราะสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่สุดท้ายผลเสียก็จะตกกับทุกคนในประเทศในที่สุด

dyjfju


ภาครัฐเน้นสร้างสังคมน่าอยู่ ขอภาคเอกชนและประชาชนร่วมมือ

ส่วนทางด้านตัวแทนของภาครัฐ คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ในการสร้างเมืองและสังคมที่ยั่งยืน ภาครัฐมีหน้าที่ใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. การทำให้ประชาชนทุกคนในทุกระดับและฐานะมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อรับประกันคุณภาพชีวิตเบื้องต้น วึ่งจะต้องเน้นให้การออกแบบและปลูกสร้างมีความยั่งยืน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยรัฐที่เอื้อให้ประชาชนสามารถมีวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนได้ เช่น การใส่ระบบจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ
  2. การสร้างสังคมที่น่าอยู่ เริ่มจากการส่งเสริมให้ครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่เอาใจใส่ลูกหลาน ใช้เวลากับคนในครอบครัวให้มีความรู้สึกผูกพัน มีความอบอุ่น ไม่เลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ดังที่จะเห็นได้จากกรณีเด็กอายุ 14 ก่อเหตุยิงในพารากอน จากการที่ถูกครอบครัวกดดัน และปล่อยปละละเลยสุขภาพจิต ทำให้การพัฒนาเมืองไม่ควรเน้นพัฒนาแต่วัตถุเท่านั้น แต่ยังเป็นสภาพจิตใจของคนในสังคมด้วย 

ทั้งนี้ คุณ วราวุธ ยังกล่าวอีกด้วยว่า ถึงแม้รัฐบาลจะมีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ แต่นโยบายของรัฐบาลก็เป็นเพียงแค่ข้อความบนหน้ากระดาษเท่านั้น และจะเป็นจริงไม่ได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน ที่ต้องทำตามสิ่งที่รัฐบาลวางไว้ โดยคุณวราวุธเชื่อว่าหากทุกคนในประเทศไทยร่วมมือร่วมใจกัน ประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นทุกปัญหา และสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ในสังคมได้แน่นอน

huihuih

เฟรเซอร์เน้นทำงานร่วมกับผู้ใช้ พัฒนาพื้นที่เอื้อวิถีชีวิตยั่งยืน

คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของไทยและของโลก กล่าวว่าธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ สร้างมลพิษถึง 40% ของโลก ดังนั้น บริษัทจึงมีหน้าที่ในการพัฒนาพื้นที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้มีความยั่งยืนขึ้นได้ และต้องทำงานร่วมกับผู้ใช้ให้ใช้พื้นที่ให้เป็น ไม่เพียงแต่เน้นพัฒนาพื้นที่เพื่อผลกำไรเพียงเท่านั้น

โดยทางเฟรเซอร์เองได้มีความพยายามสร้างพื้นที่เพื่อความยั่งยืนมาตลอดการดำเนินธุรกิจ 30 ปี ไม่ว่าจะด้วยการพัฒนาโครงการนำร่องในประเทศไทย เช่น ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ที่มุ่งเน้นเป็น inclusive space ที่คนทุกคนในทุกระดับเข้ามาใช้งานได้ การพัฒนาโครงการ Parq ที่มีการจัดการของเสียอาหารได้ 100% หรือการใส่ระบบจัดการของเสีย แยกขยะ หรือประหยัดพลังงานภายในโครงการ ที่เอื้อให้ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นได้

และในโครงการล่าสุดคือ One Bangkok ทางเฟรเซอร์ก็ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับชุมชนโดยรอบเพื่อถามความต้องการและศึกษาวิถีชีวิตของผู้คนโดยรอบ เพื่อออกแบบให้ตึก One Bangkok สร้างความกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนมากที่สุด อีกทั้งยังมีการพัฒนาการใช้ปูนและเหล็กเพื่อให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีการสร้างพื้นที่สีเขียวภายในโครงการด้วยการเว้นที่ว่างจากฟุตปาธ 40-45 เมตรเพื่อสร้างกรีนสเปซ ที่จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ใช้หรืออยู่อาศัยในโครงการเพียงเท่านั้น

ดังนั้น เฟรเซอร์จึงให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับผู้ใช้ เพื่อที่จะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ให้ทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และช่วยใช้ผู้ใช้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองด้วย

artboard1copy2_3

ความยั่งยืน เริ่มได้ง่ายๆ ที่ตัวเอง

ส่วนทางด้านแขกคนสุดท้ายซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคส่วนประชาชน หรือ คุณเข็มอัปสร สิริสุขะ นักสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเพื่อสังคม กล่าวว่า ถึงแม้เรื่องความยั่งยืนจะเป็นเรื่องที่ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นสิ่งที่ตัวเองไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ แท้จริงจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่ทุกคนคิด โดยสามารถเริ่มง่ายๆ ได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมใน 5 แบบด้วยกันคือ

  1. การประหยัดพลังงาน เริ่มด้วยการลดการใช้ไฟ ปิดไฟ ปิดแอร์ที่ไม่ใช้ และถอดปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ออก 
  2. การประหยัดน้ำ ด้วยการไม่เปิดน้ำทิ้งไว้หากไม่ใช้ อย่างเช่นเมื่อแปรงฟันก็ไม่เปิดน้ำก็อกทิ้งไว้ เพราะในปัจจุบันประเทศยังประสบปัญหาในการเก็บและบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ยังมีช่วงแล้งถึงในหน้าฝนจะมีน้ำมาก 
  3. การลดมลพิษทางอากาศ ด้วยการลดการใช้รถ ใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้นหากทำได้ และวางแผนการออกไปทำธุระให้ทำได้หลายอย่างในวันเดียว ไม่ออกจากบ้านและต้องใช้บริการขนส่งมากๆ ทุกวัน
  4. การจัดการของเสีย ซึ่งทำได้โดยการเลือกอุดหนุนผู้ผลิตที่ออกแบบผลิตมาอย่างดี ใช้ทรัพยากรน้อย ใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลได้ ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ซื้อมาแล้วก็ใช้ของซ้ำ ทะนุถนอมของให้ใช้ไปนานๆ และถ้าหากสร้างขยะแล้วก็ต้องจัดการแยกให้เหมาะสม เพื่อให้ขยะต่างๆ เป็นขยะที่มีคุณภาพ และสามารถเข้ากระบวนการรีไซเคิลหรือจัดการได้อย่างเหมาะสม ไม่ไปจบที่หลุมฝังกลบที่จะสร้างมลพิษให้ดินและน้ำในบริเวณใกล้เคียงต่อไปอีก
  5. การสร้างพื้นที่สีเขียวใกล้ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ในพื้นที่บ้านของตัวเอง หรือสนับสนุนเกษตรกรหรือผู้ที่ทำงานสร้างพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น

artboard1copy3_59





advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT