ความยั่งยืน

อุณภูมิโลกเฉลี่ยร้อนขึ้น ทำนิวไฮที่ 17°C ลดก๊าซเรือนกระจกยังไม่พอ

6 ก.ค. 66
อุณภูมิโลกเฉลี่ยร้อนขึ้น ทำนิวไฮที่ 17°C ลดก๊าซเรือนกระจกยังไม่พอ

จันทร์ที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาอุณหภูมิโลกใบนี้ทำสถิติสูงสุดใหม่ เฉลี่ยอยู่ที่ 17 องศาเซลเซลเซียส หรือ 63 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งสูงกว่าระดับสูงสุด 16.9 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกได้เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2016 ตามการรายงานของ National Centers for Environmental Prediction 

สำหรับคนไทยอาจจะบอกว่า 17 องศาคืออากาศหนาวเย็น แต่มันกลับตรงกันข้ามเมื่ออุณหภูมิ 17 องศาสำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เพราะมันคือความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่มีวี่แววว่ามนุษย์จะลดความร้อนของโลกใบนี้ลงได้อย่างไร สุดท้ายปัญหา Global Warming ที่ยากเกินแก้ไขนี้จะกลายเป็นตัวทำลายล้างทุกอย่างบนโลกในอนาคต 

'เอลนีโญ'ทำให้ปีนี้โลกร้อนขึ้นทำลายสถิติในหลายประเทศ 

โลกร้อนขึ้นทุกปี แต่ในปี 2566 นี้เกิดปรากฏการณ์ ได้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีตามรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) “การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญจะเพิ่มโอกาสให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่อธิบายว่า ทำไมปีนี้หลายประเทศมีอุณหภูมิสูงสุดทำลายสถิติ  

ปักกิ่งร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ ทะลุ 41 องศาเซลเซียสเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ความร้อนในอินเดีย ส่งผลให้บางพื้นที่ยากจนของประเทศมีผู้เสียชีวิต แม้แต่ในฝั่งสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรก็มีอากาศร้อนเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายน ส่วนประเทศในแถบอาเซียน อย่างไทย ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เจอความร้อนพุ่งสูงกันมาแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน-พฤษภาคม 

องค์การสหประชาชาติ และหลายประเทศในโลกต่างประกาศว่า ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 โลกจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเป็น  0 หรือ Net-Zero Emissions ขณะเดียวกันจะต้องช่วยกันไม่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส  แต่ António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ชี้ว่า มีแนวโน้มที่โลกจะร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส “ในระยะเวลาอันใกล้นี้” นั่นแปลว่า ความพยายามในการลดโลกร้อนยังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีก 60% ให้ต่ำกว่าระดับปี 2019 ภายในปี 2035   นั่นจึงทำให้เวที COP 28 ในปลายปีนี้ที่ UAE เป็นเจ้าภาพกำลังถูกจับตาอย่างใกล้ชิดว่า จะเกิดผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาโลกร้อนได้จริงแค่ไหน 

ปัญหาสภาพอากาศกระทบราคาอาหารพุ่ง - ค้าปลีก - การท่องเที่ยวแย่ลง

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) ยืนยันว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสภาพอากาศเป็นเวลา 9-12 เดือน ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจของหลายประเทศ อย่างในสหรัฐฯ ราคาอาหารจะสูงขึ้น หรือแม้แต่ยอดขายเสื้อผ้ากันหนาวกำลังจะลดลง  ซึ่งจากการศึกษาของสหรัฐพบว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจสูญเสียไปเป็นจำนวยมากทุกครั้งเมื่อมีปรากฏการณ์เอลนีโญ

  • ราคาอาหารแพงขึ้น 

สาเหตุเพราะเมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดปัญหาสภาพอากาศสุดขั้ว นอกจากแล้ง ร้อนจัดแล้ว น้ำท่วม ไฟป่า พายุเฮอริเคน และภัยธรรมชาติอื่นๆก็อาจเกิดขึ้นได้ตามมาเช่นกัน ซึ่งนั่นทำให้ราคาอาหารที่ชาวอเมริกันรับประทานทุกวัน เช่น น้ำตาลและโกโก้ ขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบหลายปี จากการขาดแคลน ในขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากาแฟโรบัสต้า ก็มีราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

โก้โก้และกาแฟ แพงขึ้นจากเอลนีโญ

สำหรับในประเทศไทยเองศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผลผลิตข้าวนาปี อาจได้รับความเสียหายมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปี 2566 จะน้อยกว่าปีก่อน และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยราว 5%  หากช่วงแรกของการเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 2566 จะไม่รุนแรงนัก รวมถึง ภาวะฝนทิ้งช่วงกินเวลาไม่นาน คาดว่าผลผลิตข้าวนาปีในปี 2566 อาจลดลงราว 4.1-6.0% หรือคิดเป็น 25.1-25.6 ล้านตัน หากเกิดภาวะแล้งจัด หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ผลผลิตข้าวนาปีเสียหายมากขึ้น และอาจกระทบต่อผลผลิตข้าวรวมทั้งประเทศให้ต่ำกว่ากรอบที่ประเมินไว้

  • ธุรกิจค้าปลีก และ การท่องเที่ยวแย่ลง

นอกเหนือจากภาคเกษตรแล้ว ธุรกิจกลุ่มค้าปลีกก็ประทบจาก ปรากฏการณ์เอลนีโญ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องแต่งกายและสินค้าตามฤดูกาล แบรนด์ต่างๆไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ผู้บริโภคต้องการอะไร บริษัทที่ขายเสื้อโค้ท เตาปิ้งย่าง เฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง เสื้อกันหนาว หรือกางเกงขาสั้น สภาพอากาศล้วนเป็นตัวกำหนดความแตกต่างระหว่างความต้องการซื้อเสื้อโค้ทตัวนั้นหรือไม่

ขณะที่ภาคการเดินทางและการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญอย่างชัดเจน  ผลการศึกษาในปี 2564 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Atmosphere นักวิจัยได้วิเคราะห์จำนวนการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 48 แห่งในสหรัฐอเมริกา เพื่อทดสอบความตั้งใจที่จะเดินทางในช่วงเหตุการณ์เอลนีโญ การวิจัยสรุปได้ว่า สภาพอากาศทำให้นักท่องเที่ยวมีจำนวนลดลงอย่างมาก 

Dupigny-Girox ระบุว่า สภาวะเอลนีโญมีแนวโน้มที่จะทำให้พายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแปซิฟิกรุนแรงขึ้นตามรายงานของ Deutsche Bank พบว่า ได้สร้างปัญหาให้กับบริษัทสายการบินต่างๆ ต้องยกเลิกเที่ยวบินเนื่องจากสภาพอากาศและการหยุดชะงักในฤดูร้อน และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยคือ “สาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้เที่ยวบินล่าช้า” ตามรายงานของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ

istock-1408847089

ที่มาข้อมูล Bloomberg , CNN 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT