การเงิน

IPO แบงก์ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ‘ไทยเครดิต’ เสนอขายหุ้น “CREDIT” ในปีนี้

17 ม.ค. 67
IPO แบงก์ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ‘ไทยเครดิต’ เสนอขายหุ้น “CREDIT” ในปีนี้

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีจำนวน 13 ธนาคาร ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ คือ ธนาคารไทยเครดิต จำกัด(มหาชน) ที่ได้ยกระดับจากธนาคารเพื่อรายย่อยขึ้นมาเป็น “ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ” 

ล่าสุด ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ประกาศเดินหน้าเสนอขายหุ้นไอพีโอ “CREDIT” ในปีนี้ นับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เสนอขายหุ้น IPO และเตรียมโรดโชว์ให้กับนักลงทุนในงาน IPO Public Roadshow ภายในเดือนมกราคมนี้ 

นับว่าเป็นการเสนอขายหุ้น IPO ของแบงก์ ครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเป็นหนึ่งในธนาคารเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย 

จุดเด่นของไทยเครดิต

ด้วยจุดเด่น คือ การบริการด้านไมโครไฟแนนซ์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าหลากหลายขนาดและประเภทธุรกิจ และการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่รัดกุม สะท้อนให้เห็นถึงการได้จากเงินให้สินเชื่อมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง 

ผลการดำเนินงาน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 
  • ไทยเครดิตได้มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยสะสมระหว่างปี 2563-2565 (CAGR) ของเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ อยู่ที่ 33.0% ต่อปี 
งวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566  
  • ธนาคารฯ มีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ของธนาคารฯ จำนวน 138,435.1 ล้านบาท โดยมาจากการเติบโตในทุกกลุ่มสินเชื่อหลักของธนาคา และมีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2565 

สำหรับ 12 เดือนย้อนหลังนับจากวันที่ 30 กันยายน 2566 เท่ากับ 18.9% และ 21.8๔ ตามลำดับ

แผนการดำเนินงานในปี 2567

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) เผยว่า ปี 2567 ธนาคารเดินหน้าขยายการเติบโตตามแผนเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ด้วยจำนวนหุ้นที่คาดว่าจะเสนอขายทั้งหมด (รวมหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกและเสนอขายโดยธนาคารฯ และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม) ไม่เกิน 347,029,122 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 28.2% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของธนาคารฯ ภายหลังการทำ IP O โดยเตรียมจัดงานนำเสนอข้อมูลการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO Public Roadshow) ภายในเดือนมกราคมนี้

วัตถุประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้

สำหรับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคาร เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการขยายพอร์ตสินเชื่อ และนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security and Infrastructure)  

ถือเป็นก้าวสำคัญของธนาคารไทยเลยทีเดียวที่มีบริการสำหรับลูกค้ารายย่อย เพื่อให้ลูกค้ารายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT