อินไซต์เศรษฐกิจ

All eyes on Rafah เมื่อภาพถ่ายจริงเสี่ยงโดนแบน ภาพ AI จึงมีประโยชน์

31 พ.ค. 67
All eyes on Rafah  เมื่อภาพถ่ายจริงเสี่ยงโดนแบน ภาพ AI จึงมีประโยชน์

screenshot2024-05-31160108

หากช่วงนี้เราได้เล่น Instagram เราคงพบภาพๆหนึ่งดูคล้ายกับภาพถ่ายมุมสูงของค่ายเต็นท์แห่งหนึ่ง ที่มีตัวอักษรเขียนว่า All eyes on Rafah ที่แปลได้ว่า ทุกสายตาจับจ้องไปที่ราฟาห์ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วภาพๆนี้ไม่ได้เป็นภาพจริงแต่เป็นภาพที่สร้างขึ้นจาก AI  

ภาพ All eyes on Rafah ถูกแชร์โดยผู้ใช้ Instagram เกือบ 45 ล้านคน เช่นเดียวกันกับไวรัลบน Twitter (X) และ TikTok ที่เหล่าคนดังมากมายต่างเข้ามาแชร์ภาพดังกล่าวและแสดงความคิดเห็น เช่น Bella Hadid นางแบบชาวอเมริกัน, Dua Lipa นักร้องชาวอังกฤษ หรือ Nicola Coughlan นักแสดงหญิงชื่อดังจาก Netflix Bridgerton

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมาหาคำตอบภายใต้ภาพ AI ที่มีตัวอักษรเขียนว่า All eyes on Rafah มีอะไรซ่อนอยู่ ทำไมไม่ใช้ภาพถ่ายจริงในการกระจายข่าว?

All eyes on Rafah คืออะไร ?

All eyes on Rafah แปลตรงตัวได้ว่า ทุกสายตาจับจ้องไปที่ราฟาห์ วลีนี้ถูกใช้เพื่อดึงดูดความสนใจไปยังเมืองราฟาห์ เมืองเล็กๆตั้งอยู่ทางใต้สุดของฉนวนกาซา และติดกับจุดผ่านแดนของประเทศอียิปต์ ทางตอนเหนือติดกับอิสราเอล จุดผ่านแดนราฟาห์ที่กำลังเกิดความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไต เนื่องจากสถานการณ์ยังคงตึงเครียด และดูเหมือนว่ายังไม่มีทีท่าจะคลี่คลายลงง่ายๆ

istock-458081977

เกิดอะไรขึ้นที่ราฟาห์ ?

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 67 ที่ผ่านมากองทัพอิสราเอลโจมตีทางอากาศทิ้งระเบิดหนัก 900 กิโลกรัม จำนวน 7 ลูกรวมถึงขีปนาวุธ ในค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณฉนวนกาซา โดยไม่มีการแจ้งเตือนให้อพยพล่วงหน้า ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งเกิดเพลิงไหม้ทั้งๆที่มีผู้อยู่อาศัยข้างใน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 คน และในจำนวนนั้นอย่างน้อย 23 คน เป็นคนชรา ผู้หญิง และเด็ก

หลังจากนั้นเพียงแค่ 2 วัน (28 พฤษภาคม 67) กองทัพอิสราเอลเปิดฉากปฏิบัติการภาคพื้นดินบุกเข้าถึงใจกลางเมืองราฟาห์อีกครั้ง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 21 คน และอย่างน้อย 12 คนเป็นผู้หญิง รวมถึงมีผู้บาดเจ็บถึง 64 คน

ทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 2 วัน ได้สร้างความเสียหายทั้งด้านร่างกายและจิดใจแก่ผู้บริสุทธ์ เนื่องจากราฟาห์ กลายเป็นค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ ที่คนปาเลสไตน์จำนวนมากได้ย้ายมาจากบริเวณอื่นเพราะคิดว่าพื้นที่นี่ปลอดภัย

จุดผ่านแดนราฟาห์ จึงเป็นเหมือน ทางเข้า-ออกเดียวที่เหลืออยู่ โดยก่อนเกิดสงคราม ราฟาห์ มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 2.8 แสนคน แต่หลังสงครามมีประชากรอพยพมาอยู่กว่า 1.5 ล้านคน ดังนั้นการโจมตีที่มั่นสุดท้ายอย่าง ราฟาห์ จึงถูกจับตาจากคนทั้งโลก

ในขณะที่ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้กล่าวเพียงแค่ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ราฟาห์เป็นแค่'ความผิดพลาด' ที่คร่าชีวิตคนบริสุทธิ์ แต่หลายๆคนกลับมองว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นคือการวางแผนมาอย่างดีแล้ว

ทำไมต้องเป็นภาพ All eyes on Rafah ต้องเป็นภาพ AI ?

คาดว่า รูปภาพ All eyes on Rafah รูปเเรกได้ถูกเผยเเพร่ครั้งเเรก เมื่อวัน 27 พ.ค.67 โดยผู้ใช้งาน @shahv40212 เเต่สำนักข่าว Aljazeera ยังคงไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ใช้รายนี้เป็นผู้สร้างภาพนี้หรือไม่ เเต่ผู้ใช้รายนี้ได้เเสดงความคิดเห็นใน Instagram Story ของตนว่า 

“เเม้คนจํานวนมากอาจไม่พอใจกับภาพดังกล่าว เเต่อยากให้ทุกคนช่วยกันกระจายข่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อหยุดสิ่งที่เกิดขึ้นในราฟาห์”


ด้านสำนักข่าว Aljazeera ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า รูปภาพ AI นี้ มีประโยชน์ในการกระจายข่าวให้แพร่หลายโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ให้รอดพ้นจากการเซ็นเซอร์ เนื่องจากรูปภาพไม่น่ากลัว และหากเราใช้ภาพถ่ายจริงที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่อันน่าหดหู่ เช่นภาพเลือด ศพ หรือ ความรุนแรง ภาพเหล่านี้ก็ถูกโดนแบนทันที

อัลกอริทึมบนแพลตฟอร์มเช่น Meta [Facebook และ Instagram] ที่ออกแบบมาเพื่อกรองความรุนแรงด้านภาพจึงไม่ตั้งค่าสถานะภาพนี้ ต่างจากภาพกราฟิกของสงครามจริง ๆ ซึ่งอาจถูกจำกัดหรือลบออกเนื่องจากนโยบายเนื้อหา รูปภาพที่สร้างโดย AI นี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดกระแสไวรัลอย่างรวดเร็ว

ส่วนสาเหตุที่รูปภาพนี้ถูกแชร์อย่างแพร่หลายเนื่องจากรูปภาพนี้ถูกแชร์โดยใช้ฟีเจอร์ “เพิ่มของคุณ” (Add your story) ของ Instagram ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถโพสต์ใหม่ได้ภายในไม่กี่วินาทีโดยไม่ต้องค้นหารูปภาพ

เอ็ดดี้ บอร์เกส -เรย์ รองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นในกาตาร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นกับ สำนักข่าว Aljazeera ว่า “ฉันเชื่อว่าความแพร่หลายของภาพนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจากความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับภาพที่เราเห็นในสงคราม เพื่อให้ดูมีมนุษยธรรม และโดยปกติแล้วผู้ใช้โซเชียลมีเดียมักจะแชร์ภาพที่สดใส มากกว่าภาพที่หดหู่”

istock-172902141

ชาวเน็ตมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อ All eyes on Rafah ?

แม้ว่าผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายคนจะมีการแชร์ภาพนี้เกือบ 45 ล้านครั้งใน Instagram แต่หลายคนกลับรู้สึกไม่พอใจกับภาพดังกล่าว เนื่องจาก ผู้วิพากษ์วิจารณ์มองว่าโพสต์นี้ถือว่าการแชร์ซ้ำเป็นการเคลื่อนไหวเชิงปฏิบัติที่เบี่ยงเบนความสนใจจากรูปภาพจริงและการอัปเดตที่สำคัญจากราฟาห์ เช่น

“เนื่องจากมีนักข่าวชาวปาเลสไตน์จำนวนมากในฉนวนกาซาที่เสี่ยงชีวิตเพื่อบันทึกความเป็นจริงของตนในพื้นที่ ภาพที่สร้างโดย AI จึงดูเหมือนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลบข้อมูลทางดิจิทัล”

“ภาพดังกล่าวเป็นบ่อนทำลายประจักษ์พยานของชาวปาเลสไตน์และประสบการณ์การใช้ชีวิต มันแสดงถึงฉากที่สร้างโดย AI โดยมีเต็นท์ดิจิทัลจัดเรียงเป็นข้อความที่อ่านได้ทั่วทั้งพื้นที่กว้างใหญ่โดยมีภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะเป็นฉากหลัง ซึ่งห่างไกลจากฉนวนกาซา”

จะเกิดอะไรต่อไป หลังปรากฏการณ์ All eyes on Rafah ?

สำนักข่าว Aljazeera ได้วิเคราะห์ว่า นี้อาจเป็นคำถามใหญ่ ในขณะที่การโจมตีของอิสราเอลทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะการบุกโจมตีในพื้นที่ค่ายลี้ภัยขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะปลอดภัยที่สุดอย่างราฟาห์

แม้ภาพ AI ที่เป็นกระแสไวรัลช่วยให้ทั่วโลกได้ฉายแสงเกี่ยวกับวิกฤตทางตอนใต้ของกาซา  เพื่อเรียกร้องด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะการหยุดยิง อย่างไรก็ตามขอเรียกร้องนี้เหมือนถูกเมินเฉย ทำให้เรายังคงต้องคอยจับตามองสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ว่าสงครามในครั้งนี้จะจบลงอย่างไร  

ที่มา : Aljazeera

istock-458644351

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT