อินไซต์เศรษฐกิจ

ตลาดส่งออกไทย เริ่มฟื้นตัว หลังเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว ตั้งเป้าส่งออกปี 67 คว้า 10 ล้านล้านบาท

25 ธ.ค. 66
ตลาดส่งออกไทย เริ่มฟื้นตัว หลังเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว ตั้งเป้าส่งออกปี 67 คว้า 10 ล้านล้านบาท

istock-479272988

ภาพรวมการส่งออกของไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ในเดือนพ.ย.66 มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 847,486 ล้านบาทเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อสูงเริ่มชะลอตัวลง และมีแนวโน้มกลับสู่ระดับเป้าหมายในปี 67

โดยหลายประเทศเริ่มส่งสัญญาณการจบวงรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกรายสินค้าในภาพรวมขยายตัวทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวมากกว่าหมวดอื่น ๆ ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องตามวัฏจักรการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และมีปัจจัยบวกจากการจับจ่ายใช้สอยก่อนเข้าสู่เทศกาลสำคัญในช่วงท้ายปี

ส่งผลให้ผู้ประกอบการในหลายประเทศเร่งนำเข้าสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการ ทั้งนี้ การส่งออกไทย 11 เดือนแรกของปี 66 หดตัว 1.5% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 0.5%

แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 67

สำหรับการส่งออกปี 67 คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่เงินเฟ้อชะลอลงกลับสู่เป้าหมาย วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะยุติลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว พร้อมกับความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนที่กลับมา

กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการทำงานเพื่อผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกในปี 67 ไว้ที่ 1.99% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านล้านบาท

กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 66 จะกลับมาอยู่ในระดับที่ดีกว่าช่วงภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปีนี้

412972470_764166032415059_406

มูลค่าการค้ารวมในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 66 : ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 66 ขาดดุล 6,165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

-การส่งออก: มีมูลค่า 261,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

-การนำเข้า:  มีมูลค่า 267,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 3.8%

มูลค่าการค้ารวมในรูปเงินบาท

ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2566 : ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 66 ขาดดุล 327,928 ล้านบาท

-การส่งออก: มีมูลค่า 9,013,184 ล้านบาท หดตัว 1.8 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

-การนำเข้า:  มีมูลค่า 9,341,112 ล้านบาท หดตัว 4.3%

istock-489113446

ตัวอย่างสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี

1.เหล็ก เหล็กหล้า และผลิตภัณฑ์

ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 42.2%

มีมูลค่า 736.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 26,566 ล้านบาท  

ตลาด : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย แคนาดา เมียนมา

2.อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด

ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 40.5%

มีมูลค่า 490.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 17,712 ล้านบาท  

ตลาด : สหรัฐ จีน เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย มาเก๊า 

3.หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ

ขยายตัว 25 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 24.8%

มีมูลค่า 374.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 13,526 ล้านบาท  

ตลาด : สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น

4.เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+ 6 เดือนต่อเนื่อง)

5.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+ 6 เดือนต่อเนื่อง)

6.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (ขยายตัวในรอบ 14 เดือน)

 249549

ตัวอย่างสินค้าอุตสาหกรรมดกษตรที่ขยายตัวดี

1.สิ่งปรุงรสอาหาร

ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 21.6 %

มีมูลค่า 89.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3,243 ล้านบาท  

ตลาด : สหรัฐ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เมียนมา

2.ผักกระป๋องและผักแปรรูป

ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 26.6 %

มีมูลค่า 44.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,617 ล้านบาท  

ตลาด : ญี่ปุ่น สหรัฐ เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์

3.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 5.1%

มีมูลค่า 155.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5,609 ล้านบาท  

ตลาด : สหรัฐ จีน ออสเตรเลีย แคนาดา กัมพูชา

4.อาหารสัตว์เลี้ยง

ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 3.3%

มีมูลค่า 222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 8,017 ล้านบาท  

ตลาด : สหรัฐ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ เวียดนาม

5.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

ขยายตัวในรอบ 11 เดือน

เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 2.5%

มีมูลค่า 326.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 11,787 ล้านบาท  

ตลาด : ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา อิสราเอล อาร์เจนตินา

 161601

ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของไทย

  • การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

  • ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยเติบโตสูง เนื่องจากประเทศคู่ค้าเร่งซื้อสะสมเข้าคลังสินค้าเพิ่ม เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารในปีถัดไป

  • เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในหลายประเทศมีแนวโน้มดีกว่าที่คาดการณ์

 

ปัจจัยกดดันการส่งออกของไทย

  • การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงของธนาคารกลางต่างๆ อาจส่งผลให้การลงใหม่ยังคงชะลอตัว

  • สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อาจมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรบางราย

 istock-1645802921

แนวทางส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์

  1. In-coming Trade Mission จากบังกลาเทศ เดินทางเยือนไทย โดย สคต. ณ กรุงธากา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา และสภาธุรกิจและอุตสาหกรรมบังกลาเทศ-ไทย (BTCCI) นำคณะนักธุรกิจบังกลาเทศ จำนวน 34 ราย มาเจรจาธุรกิจ โดยมีผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมเจรจา จำนวน 63 ราย มีจำนวนคู่เจรจาทั้งสิ้น 128 คู่ รวมมูลค่า 209.73 ล้านบาท

 

  1. สคต. โตเกียว นำคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น เดินทางเยือนไทย มาจัดทำ MOU สั่งซื้อกล้วยหอมไทย จากอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท และนำคณะพบผู้ผลิตกล้วยหอมในจังหวัดเชียงใหม่และพัทลุง เพื่อหาแหล่งส่งออกกล้วยเพิ่มเติม

 

  1. ส่งเสริมการขยายตลาดแฟรนไชส์ร้านกาแฟไทยในญี่ปุ่น โดยการจัด OBM ให้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ได้เจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในญี่ปุ่น เกิดผลสำเร็จเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนสาขาใหม่ ในจังหวัดชิบะ โดยเป็นสาขาแรกในญี่ปุ่นที่จำหน่ายอาหารไทย และจะมีการขยายสาขาใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นช่องทางในการส่งเสริมสินค้าไทยจากชุมชน และสินค้าจากโครงการ Local BCG Plus ของกระทรวงพาณิชย์ ผ่านร้าน Café Amazon ทุกสาขาในตลาดญี่ปุ่น

 

  1. นำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่ APPEX (ยานยนต์และชิ้นส่วน) ในสหรัฐฯ ผู้ประกอบการเข้าร่วม 15 ราย รวมมูลค่า 921.67 ล้านบาท MEDICA (สินค้าและบริการทางการแพทย์และสุขภาพ) ในเยอรมนี ผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 ราย รวมมูลค่า 204.99 ล้านบาท China International Import Expo (CIIE) ครั้งที่ 6 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ งาน American Film Market ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นต้น

411922722_764165425748453_824

 ที่มา : สํานักนโยบายเเละยุทธศาสตร์การค้า

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT