อินไซต์เศรษฐกิจ

เจาะอินไซต์ลอยกระทง 2566 คนไทยลอยกระทงแบบไหน

26 พ.ย. 66
เจาะอินไซต์ลอยกระทง 2566 คนไทยลอยกระทงแบบไหน

istock-917991204

วนกลับมาอีกครั้ง งานเทศกาลประจำปีของไทย กับเทศกาลลอยกระทง ประเพณีสืบต่อกันมาช้านาน มีกำหนดจัดขึ้นทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 พ.ย. นี่เอง อย่างไรก็ตามวัตถุหลักประสงค์ของการลอยกระทง คือการขอขมาพระแม่คงคาและระลึกถึงคุณค่าของสายน้ำที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยทั่วทุกภาค 

SPOTLIGHT อยากพาทุกคนมาเจาะอินไซต์คนไทยต่อเทศกาลลอยกระทง 2566 ทั้ง#สนับสนุน และ #ยกเลิก รวมถึง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงลอยกระทง 66

804204

เจาะอินไซต์ลอยกระทง 2566

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงวันลอยกระทงและทัศนะต่อสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างวันที่ 14-20 พ.ย.2566 จำนวน 1,240 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่าประชาชน 64.3 % มองว่าจะออกไปลอยและทำกิจกรรมอื่น และสนุกสนานมากกว่าปี 2565

ภูมิภาคไหนที่จะครึกคื้นที่สุดในเทศกาลลอยกระทง

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33.7%

  • ภาคกลาง 26.2%

  • ภาคเหนือ 17.8%

  • ภาคใต้ 13.8%

  • กทม.และปริมณฑล 8.5%

5 วัสดุยอดฮิตที่ใช้ทำกระทง

  • วัสดุอะไรก็ได้ไม่เน้น 33% (นิยมในกลุ่ม Gen Y / ภาคกลาง / ภาคใต้)

  • ต้นกล้วย 30.1%

  • โฟม 14.2% (นิยมสูงสุด Gen BB / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

  • อาหารปลา 12.8%

  • ขนมปัง 9.8%

  • อื่นๆ 0.1%

คนไทยจะเข้าร่วมงานลอยกระทงไหมในปี 66

  • ร่วมงาน 41.7 % เพื่อไปขอพร 26.1%

  • ไปแต่ไม่ลอย 25.6% รักสิ่งแวดล้อม,ลอยออนไลน์,ประหยัดค่าใช้จ่าย

  • ไม่แน่ใจ 23.1%  ประหยัดค่าใช้จ่าย 31%

  • ไม่ร่วมงาน 9.6 % กลัวเหตุไม่คาดคิด 27.2%

istock-522619027

คน Gen ไหนจะเข้าร่วมงานลอยกระทงมากที่สุด

  • Gen Y 36.7%

  • Gen X 29.2%

  • Baby Boomers 20.1%

  • Gen Z 14%

จากการสำรวจ จะเห็นได้ชัดว่า คนไทยส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมงานลอยกระทงในปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y เพื่อไปขอพร และเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเอง  ส่วนกิจกรรมที่จะทำในวันลอยกระทงปีนี้นั้นพบว่า การไปทานข้าวนอกบ้าน การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ทำบุญ และการไปเที่ยวในต่างจังหวัดมีมากขึ้นกว่าปี 65

istock-533009775(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงลอยกระทง 66

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้มีการคาดการณ์ว่า เทศกาลลอยกระทงปี 66 จะสร้างเม็ดเงินสะพัดอยู่ที่ 10,005 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปี 65 กว่า 3.3% ซึ่งถือว่าดีขึ้นในรอบ 8 ปี และมองว่าเศรษฐกิจไทยพ้นปากเหวแล้ว เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มที่จะกลับมาฟื้นตัว พร้อมคาดว่าจะฟื้นตัวเต็มที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

คนส่วนใหญ่ยังคงมองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมาเริ่มน้อยลง และประเทศเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่กล้าออกมาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐอีกด้วย

สำหรับลอยกระทงปีนี้ การใช้จ่ายตามกิจกรรมต่อคนจะเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 1,900-2,000 บาท แต่ละคนมีแนวโน้มใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเฉลี่ยคนละ 1,920.39 บาท เพิ่มเป็นคนละกว่า 2,075.58 บาท เพราะสินค้าราคาแพงขึ้น

ลอยกระทงกระตุ้นธุรกิจขายดอกไม้ทั้ง offline และ online  

ธุรกิจที่มักจะคึกคักช่วงลอยกระทง คือ ร้านขายดอกไม้และอุปกรณ์ทำกระทงโดยเฉพาะร้านค้าในย่านปากคลองตลาด ตลาดขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มักจะมีผู้คนไปเลือกซื้อกระทง รวมถึงบรรดาแม่ค้าทำกระทงทั้งหลายก็นิยมไปซื้อจากปากคลองตลาดเช่นกัน

หากมีผู้ร่วมงานมากเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลให้ธุรกิจขายดอกไม้กลับมาครึกครื้นมาเท่านั้น ล่าสุด แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประกาศผนึกพันธมิตร ปากคลองตลาด เพื่อเสริมศักยภาพในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้กับร้านดอกไม้ด้วยการขยายช่องทางในการขายและการเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ๆ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับร้านค้าขนาดเล็ก ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ยังคงได้รับดอกไม้ที่มีคุณภาพ ผ่านการจัดส่งที่รวดเร็วตามมาตรฐานของบริการแกร็บมาร์ท

763590

โดย Grab มี อินไซต์ผู้บริโภคที่น่าสนใจดังนี้

  • 5 ประเภทดอกไม้ที่ขายดีที่สุดบนแกร็บมาร์ท คือ ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกบัวชมพู และดอกกล้วยไม้

  • ผู้ใช้บริการแกร็บมาร์ทนิยมสั่งซื้อดอกไม้และพวงมาลัยในช่วงเวลา 9.00 - 11.00 น. มากที่สุดในแต่ละวัน

  • คนไทยนิยมสั่งดอกไม้ในเทศกาลสำคัญผ่านแกร็บมาร์ท โดย 4 เทศกาลหลักที่มียอดขายดอกไม้เติบโตกว่าช่วงอื่น คือ วันวาเลนไทน์ วันสงกรานต์ วันแม่ และวันลอยกระทง

  • ปัจจุบันแกร็บมาร์ทจำหน่ายดอกไม้จากร้านค้ากว่า 600 ร้านทั่วประเทศ โดยตลอดปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการสั่งดอกไม้ผ่านแกร็บมาร์ทแล้วกว่า 900,000 ช่อ

กระแสโซเชียล ‘อยากให้มี’ หรือ ‘ยกเลิก’ เทศกาลลอยกระทง 66

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวันลอยกระทงผ่าน เครื่องมือ Social Listening อย่าง ZOCIAL EYE พบว่า มีจำนวนการพูดถึงในช่วงวันที่ 1-23 พฤศจิกายน 2566 มากกว่า 47,000 ข้อความ และมียอดการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์มากกว่า 13.3 ล้านครั้ง โดยอยู่บนช่องทาง

screenshot2023-11-26193457

  • Facebook คิดเป็น 69%

  • X (Twitter) คิดเป็น 12%

  • Instagram คิดเป็น 9%

  • ช่องทางอื่นๆ 10%

เมื่อวิเคราะห์การพูดถึงวันลอยกระทงในปีนี้ พบว่า นอกจากเรื่องการทำกระทงจากวัสดุแปลกใหม่ แต่ไม่สร้างขยะ, สถานที่ลอยกระทง, โปรโมชั่นจากแบรนด์ที่เกาะกระแสวันลอยกระทง, การแต่งชุดไทยไปลอยกระทง ก็มีประเด็นยกเลิกวันลอยกระทงที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจอย่างมาก  และความคิดเห็นถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่มองว่าควรยกเลิก และฝั่งที่เห็นว่าควรจัดต่อไป

#ยกเลิกลอยกระทง

โดยฝั่งที่มองว่าควรยกเลิก มียอดการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์มากกว่า 545,000 เอ็นเกจเมนต์ เนื่องจาก

  • ด้านสิ่งแวดล้อม การลอยกระทงเป็นการเพิ่มขยะให้แหล่งน้ำธรรมชาติ และทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก อีกทั้งยังสร้างภาระให้เจ้าหน้าที่หลังจากการลอยกระทง

  • ด้านมลพิษทางเสียง เสียงดังของพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ไม่สามารถนอนได้ และทำให้สัตว์เลี้ยงตกใจจนหมดสติ

  •  ด้านความปลอดภัย มีการยิงปืนขึ้นฟ้า นอกจากจะทำให้เกิดเสียงรบกวนแล้ว ชาวโซเชียลมองว่าอาจมีลูกกระสุนตกใส่หลังคาบ้านเรือน ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต

ชาวโซเชียลยังแนะอีกว่า หากต้องจัดงานลอยกระทงจริงๆ ควรให้ลอยในแหล่งน้ำปิด หรือไม่ก็ลอยกระทงออนไลน์แทน 

istock-1729700844

#สนับสนุนลอยกระทง

อีกกฝั่งที่เห็นด้วยว่าควรจัด มียอดการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์ 5,600 เอ็นเกจเมนต์ เนื่องจาก

  • ด้านวัฒนธรรม การลอยกระทงเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังเป็น Soft Power ที่ช่วยขับเคลื่อนประเพณีไทยสู่สายตาชาวโลก

  • ด้านเศรษฐกิจ การลอยกระทงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เงินหมุนเวียนในท้องถิ่น ทั้งการท่องเที่ยวและการซื้อขายกระทงจากพ่อค้าแม่ค้า 

  • ด้านสิ่งแวดล้อม หลายคนมองว่า มีการทิ้งขยะลงแม่น้ำอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ลอยกระทงมีเพียงแค่วันเดียว และยังมีหน่วยงานต่างๆ คอยร่วมมือจัดการขยะที่เกิดขึ้น 

ชาวโซเชียลหลายคนยังมองว่า หากต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานลอยกระทง ควรออกนโยบายที่จัดการเรื่องนี้อย่างเข้มงวด เช่น หากกระทงสร้างขยะ ก็ให้ใช้วัสดุอื่นทดแทน หรือเสียงดังจากพลุ ประทัด ก็ให้เลิกซะ มองว่าประเพณีนี้มีมานาน อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดผลเสียตามมาในอนาคต

ที่มา : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , Grab, Wisesight

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT