อินไซต์เศรษฐกิจ

รู้จัก EA ธุรกิจที่พลิกโฉมขนส่งสาธารณะไทยสู่ EV

30 ส.ค. 65
รู้จัก EA   ธุรกิจที่พลิกโฉมขนส่งสาธารณะไทยสู่ EV

เทรนด์การรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมในช่วง 1-2 ปีมาถูกโหมกระแสให้คนตื่นตัวไปทั่วทั้งโลก ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างพยายมเร่งลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล จนอาจนำไปสู่การเลิกใช้ในอนาคต หันกลับมาใช้พลังงานหมุนเวียนหรือกลุ่มพลังงานสะอาดแทน ประเทศไทยเองก็ไม่อาจหลบพ้นกระแสด้วยเช่นกัน ทำให้ไทนตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซดให้เป็นศูนย์( Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ดังนั้นจึงเริ่มเห็นนโยบายของรัฐเดินหน้าทยอยออกมาตรสนับสนุนในธุรกิจที่เกี่ยวพลังงานสีเขียวต่างๆ ออกมามากมาย

รวมถึงส่งเสริมให้คนไทยการใช้รถยนต์ EV ด้วยมาตรการทั้งการลดภาษี การให้เงินอุหนุนนเพื่อทำให้ราคาลดลง รวมถึงการขนส่งเดินทางสาธรณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนด้วย อีกทั้งด้วยสถานการณ์ราคาที่แพงขึ้นแบบไม่หยุดยิ่งดึงให้คนไทยหันมาสนใจอะไรที่เกี่ยวรถ EV มากขึ้นไปอีกด้วย

หากพูดชื่อของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ปัจจุบันถูกยกให้เป็น 'เทสล่าเมืองไทย' เพราะมีหลายๆ ธุรกิจที่ปัจจุบันเข้าไปอยู่ในเทรนด์โลกอย่างธุรกิจรถยนต์ EV แบบครบวงจร ไล่เรียบตั้งแต่ธุรกิจน้ำอย่างโรงงงานผลิตเตอรี่, สถานีชาร์ไฟฟ้า, รถยนต์ EV, รถบัส EV, รถบรรทุก จนล่าสุดมีการร่วมพัฒนาหัวรถจักรรถไฟ EV ให้การรถการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

 

จุดเริ่มต้น EA ทำธุรกิจอะไร?

จุดเริ่มต้นของธุรกิจ EA  

ย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นธุรกิจของ EA บริษัทตั้งขึ้นในปี 2549 'สมโภชน์ อาหุนัย' ที่เป็นทั้งเจ้าของและผู้บริหารด้วย ชื่อเดิม EA คือ 'บริษัท ซันเทคปาล์มออยล์' มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 ขยับแปรสภำพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 250 ล้านบาท จากนั้นมาใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็มีพัฒนาการต่อเนื่องจนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรพย์ฯ ในปี 2559

โดยธุรกิจเริ่มแรกดั้งเดิมของ EA จริงๆ แล้วคือ กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซลกับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่มีพอร์ตทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ขนาดรวม 664 เมกะวัตต์ เรียกได้ว่าเป็นเอกชนเจ้าแรกๆ ที่เข้าลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน EA ภายใต้การบริหาร 'สมโภชน์ อาหุนัย' ซีอีโอ ที่ล่าสุดนิตยสาร Forbes จัดอันดับมหาเศรษฐีไทยที่รวยที่สุดอันดับ 6 ประจำปี 2022 ด้วยมูลค่าทรัพย์สินราว 3,900 ล้านดอลลาร์ แน่นอนเวลธ์หลักของคือ หุ้น EA ที่เขาลงทุนถืออยู่ด้วยนั่นเอง

ด้วยวิชั่นของ 'สมโภชน์ อาหุนัย' ที่มักมองหาโอกาสธุรกิจในอนาคตอยู่เสมอๆ ทำให้ในปี 2563 EA มีก้าวที่สำคัญต่อไปเริ่มขยับเข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกลับรถ EA แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมอยู่ ได้แก่
ร่วมพัฒนาสถานีชาร์จรถยนตนต์ EV ให้สามารถรองรับการใช้างนกับรถยนต์ ด้วยเทคโนโลยี i-Smart function

  • ซื้อหุ้นบริษัท AMITA-Taiwan เพิ่มเป็น 65.61% ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ Lithium-Ion Polymer ของไต้หวันที่พัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงจนเป็นผู้นำ เชี่ยวชาญการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมมานานถึง 16 ปี
  • ตั้งบริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต (EST) เพื่อทำธุรกิจเรือโดยสารและเรือท่องเที่ยว
  • ตั้งบริษัท อีวีนาว (EV Now) เพื่อธุรกิจ ผลิตและขายรถบัสไฟฟ้ำ และยานพาหนะอื่นทุกประเภท รวมถึงธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ

จนกระทั่งปัจจุบัน EA เริ่มมีผลงานการผลิตและลูกค้าทยอยออกที่มีความเกี่ยวข้องในธุรกิจ EV จะมีอะไรบ้าง SPOTLIGHT จะพาไปติดตามกัน

EA ลงทุนธุรกิจรถ EV

 


EA ตั้งโรงแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

EA ลงทุนโรงงานแบตเตอรี่

หลัง EA เข้าลงทุนใน Amita Technologies Inc. (AMITA-Taiwan) ซึ่งเป็นเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ ประเภทลิเทียมไอออน พอลีเมอร์ (Lithium-ion Polymer) จากนั้นยังได้จัดตั้งบริษัทย่อย - บจก.อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอีกด้วย

จากนนั้นลงทุนสร้างเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร “อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)” ที่มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ระยะแรกมีความพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตได้สูงสุด 4 กิกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปี ในทันที มีพื้นที่การผลิตภายในโรงงานรวมกว่า 80,000 ตารางเมตร เป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ชนิด Pouch Cell และระบบสำรองไฟฟ้าแบบครบวงจรที่ใช้ระบบอัจฉริยะ และระบบโดยการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยเพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนไม่สูง

EA เปิดสถานีชาร์จรถ EV อันดับ 1 ในไทย

EA เปิดสถานีชาร์จรถ EV

ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ใช้ชื่อแบรนด์ "EA Anywhere" ปัจจุบันเปิดให้ไปแล้วจำนวนเกือบ 500 แห่งกับจำนวนหัวชาร์จที่มีมากกว่า 1,600 หัวชาร์จ ปัจจุบันซึ่งถือเป็นผู้เล่นเอกชนมีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV มากที่สุดเป็นอันดับ1 ในไทยผ่านการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ โดย EA เคยประกาศเป้าหมายไว้ต้องการที่จะเปิดสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ให้ถึง 1,000 แห่ง โดยป็นการเข้าไปเปิดกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นเจ้าของพื้นที่มากกว่า 100 ราย เช่น ในบริเวณสาขาเซเว่นอีเลฟเว่น , ศูนย์การค้าบิ๊กซี, สถานีบริการน้ำมันซัสโก้, ศูนย์การค้าโรบินสันเป็นต้น ทำให้ตอนนี้ EA เป็นผู้ประกอบการที่มีจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV มากที่สุดในตลาด
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งประเภท PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และประเภท BEV (Battery Electric Vehicle) โดยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท ใช้เทคโนโลยีการอัดประจุไฟฟ้าผ่านตัวนำ (Conductive Charging) โดยเป็นการอัดประจุแบตเตอรี่ เพื่อเชื่อมต่อยานยนต์ไฟฟ้าเข้ากับเครื่องชาร์จโดยตรงผ่านสายเคเบิล (หรือสายชาร์จ) ซึ่งถือเป็นรูปแบบการอัดประจุไฟฟ้าที่มีการใช้งาน แพร่หลายในปัจจุบัน สามารถใช้ได้ทั้งการอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ และกระแสตรง การอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ สามารถอัดประจุไฟฟ้า ได้สูงสุดที่ 44 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ On-board Charger ของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น ส่วนเครื่องอัดประจุไฟฟ้าประเภทกระแสตรง สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 150 กิโลวัตต์ /ชั่วโมง


EA ทำเรือโดยสาร EV ราคาลำละ 30 ล้านบาท

EA ลงทุนเรือไฟฟ้า

 

EA พัฒนาต่อยอดยานยนต์ไฟฟ้าไปทำเรือโดยสาร EV โดยตั้งบริษัทย่อย - บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการประกอบเรือไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ 'MINE SMART FERRY' โดยร่วมมือกับกรมเจ้าท่า เพื่อให้บริการเป็นเรือไฟฟ้าสายแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งได้รับการจดทะเบียนเรือไฟฟ้าลำแรกของประเทศไทย ปัจจุบันมีให้แล้วจำนวน 23 ลำ มูลค่าราว 30 ล้านบาทต่อลำ ซึ่งจะสามารถประหยัดน้ำมันดีเซลได้ถึง 4,730,000 ลิตรต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 12,771 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และมีแผนจะเพิ่มการให้บริการเป็น 40 ลำด้วยในอนาคต

โดยเรือไฟฟ้า MINE SMART FERRY นี้ ออกแบบโดยทีมงานคนไทยของกลุ่มบริษัท และผลิตด้วยฝีมือคนไทย 100% ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ขนาด 800 kWh ที่ออกแบบด้านเทคโนโลยีให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ด้วยความเร็วภายในเวลา 15 นาที และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องกำจัดเชื้อโรคในอากาศ อุปกรณ์ชูชีพ สามารถรองรับผู้โดยสารได้กว่า 200 คน เพื่อให้บริการการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำสะพานพระนั่งเกล้า ไปจนถึง ท่าน้ำวัดราชสิงขร สาทร รวม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร

 

เชื่อมโยงการเดินทางขนส่งทางน้ำกับระบบขนส่งสาธารณะทางบกได้เป็น อย่างดี ด้วยอัตราค่าโดยสารที่น้อย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้โดยสาร และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมส่งเสริมให้ ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเดินทางทางน้ำอย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไร้มลพิษทางอากาศ และ PM 2.5 และไม่มีเสียงดังรบกวน


EA ทำรถบัส EV ป้อนให้ ขสมก.-บขส.

bus_bus_sub1

อีกหนึ่งในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า รถบัสพลังงานไฟฟ้า MINE Bus โดย EA ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ บริษัท เน็กซ์ พอทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX เปิดตัวโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เชิงพาณิชย์แบบครบวงจรแห่งแรกของคนไทย เพื่อผลิตรถบัส EV อย่างเป็นทางการ ภายใต้บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด หรือ AAB อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เน็กซ์ พอทย์ จำกัด (มหาชน) ไปแล้วและวางแผนเดินหน้ากำลังในการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปีนั้น

ปัจจุบันเร่งกำลังการผลิตรถบัส EV เพื่อขนส่งสาธารณะ เพื่อเตรียมทยอยส่งมอบตามคำสั่งจองของลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ได้รับสัมปทานเดินรถจากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในเส้นทางกรุงเทพฯและปริมณฑล ในลักษณะร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวนรวม 3,500 คัน มูลค่ารวมราว 21,000 ล้านบาท โดยจะทยอยส่งมอบให้ลูกค้าเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600 คัน จนครบในช่วงกลางปี 2566

โดยรถบันที่ EA ร่วมพัฒนาออกแบบโดยทีมงานคนไทยของกลุ่มบริษัท และผลิตด้วยฝีมือคนไทย 100% โดยใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ขนาด 250-350 kWh ที่ออกแบบด้านเทคโนโลยีให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ด้วยความเร็วภายในเวลา 15 นาที สามารถขับเคลื่อนระยะทางได้ถึง 250-350 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง รองรับผู้โดยสารสูงถึง 100 คน เป็นการเชื่อมโยงการเดินทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สะดวก และปลอดภัย แบบไร้มลพิษ ไร้ฝุ่น PM2.5 ไร้เสียงรบกวน
ปัจจุบัน


EA เปิดเกมบุกรถบรรทุก EV

580370
EA มีแผนงานรุกออกไปลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ EV ในต่างจังหวัดเป็นการปรับแผนกลยุทธ์ล่าสุดใหม่ภายในกลุ่มให้สอดคล้องสภาวะปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรองรับลูกลุ่มผูู้ประกอบรถบรรทุกขนส่งสินค้าที่เริ่มทยอยหันเปลี่ยนมาใช้รถบรรทุก EA แทนน้ำมันดีเซล โดยปัจจุบันลูกค้าเอกชนผู้ประกอบการรถบรรทุกเริ่มทยอยสั่งซื้อหัวรถลากรถบรรทุกกับ EA มาแล้วจำนวน 100-200 คัน มูลค่ารวมประมาณ 600 ล้านบาท เพราะรถพลังงานไฟฟ้าจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

รวมทั้งยังตอบโจทย์เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งใน CSR ในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนมาใช้รถ EV จะช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลงให้กับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำมัน และการดูแลรักษาก็ง่ายกว่ารถเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป แม้ว่าการลงทุนเริ่มแรกราคารถ EV อาจจะแพงกว่ารถดีเซลแต่ความคุ้มทุนมีมากกว่า โดยเมื่อคำนวณจากราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบัน รถ EV จะช่วยเซฟต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนมาใช้รถ EV เชื่อว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 2 ปี และหากราคาน้ำมันยังคงปรับเพิ่มก็จะยิ่งคืนทุนได้เร็วขึ้น

 

EA ผู้พลิกโฉมหัวรถจักรรถไฟของ รฟท.มาเป็น EV

745651
ล่าสุด EA ได้รับเลือกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการพัฒนา "หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า" ที่ใช้สำหรับรถไฟ ของ รฟม. เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดย EA ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์กับจากจีน คือ บริษัท CRRC Dalian ในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีนที่เป็นพันธมิตรร่วมผลิตหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้ส่งหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV ที่พัฒนาเสร็จแล้วเดินทางมาถึงไทยส่งถึงมือของ รฟท.แล้ว

โดยกำลังมีแผนเตรียมจะทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ให้กับ รฟท. ที่สถานีบางซื่อภายในปี 2565 นี้ โดยหัวรถไฟ EV สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กิโลเมตร สามารถประหยัดต้นทุนพลังงานได้ 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถดีเซล เป็นตามนโยบาย EV on Train ของ รฟท. หากผลการทดสอบที่เกิดขึ้นออกมาเป็นที่น่าพอใจ รฟม. น่าจะทยอยสั่งซื้อและเปลี่ยนมาใช้ "หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า" ดังนั้นจากนี้ไปในอนาคตคนไทยอาจจะได้นั่งรถไฟที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังน้ำมันดีเซล

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT