อินไซต์เศรษฐกิจ

อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

14 ก.ค. 65
อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
ไฮไลท์ Highlight

การคาดการณ์ล่าสุดโดยองค์การสหประชาชาติ ชี้ว่า จำนวนประชากรโลกคาดว่าจะถึง 8 พันล้านในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2022 และจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ ประมาณ 8,500 ล้านคนในปี 2030 / 9,700 ล้านคนในปี 2050 และแตะ 10,400 ล้านคนในปี 2100 หรือในอีก 78 ปีข้างหน้า ส่วนอินเดียจะเริ่มแซงจีนขึ้นเป็นที่ 1 ที่มีประชากรมากที่สุดในโลกตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 นี้จะเป็นวันที่โลกของเราจะมีจำนวนประชากร 8พันล้านคน แม้ฟังดูเป็นจำนวนที่มากแต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วโลกกำลังเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราที่ลดลงมาเรื่อยๆตั้งแต่ พ.ศ.2493 หรือ 72 ปีที่ผ่านมา และในปีหน้านี้  2566 ประเทศอินเดีย จะกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าประเทศจีน

แนวโน้มประชากรโลก 2022 ฉบับที่ 27 นี้จัดทำขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ถือเป็นประมาณการอย่างเป็นทางการและการคาดการณ์ของประชากรโลกตั้งแต่ปี 1950 ถึง2050 เพราะมนุษย์ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ นี่จึงเป็นข้อมูลในการกำหนดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายปี 2030  ทีมงาน SPOTLIGHT จึงสรุปรายงานฉบับนี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของโลกใบนี้

 

ประชากรโลกคาดว่าจะถึง 8 พันล้านในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2022

 

การคาดการณ์ล่าสุดโดยองค์การสหประชาชาติ ชี้ว่า จำนวนประชากรโลกคาดว่าจะถึง 8 พันล้านในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2022 และจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ ประมาณ 8,500 ล้านคนในปี 2030 / 9,700 ล้านคนในปี 2050 และแตะ 10,400 ล้านคนในปี 2100 หรือในอีก 78 ปีข้างหน้า 

 

การเพิ่มขึ้นของประชากรถูกขับเคลื่อนมาจากอัตราการตายที่ลดลง เพราะอัตราการเกิดโตช้าลงไปเรื่อยๆ นั่นแปลว่า หากวันใดที่อัตราการเกิดไม่โต แถมยังลดลงขณะที่คนอายุยืนยาวขึ้นก็จะมีวันที่ประชากรโลกอาจปรับตัวลดลง  โดยอายุขัยของคนยาวนานขึ้น ทั่วโลกอายุขัยถึง 72.8 ปีในปี 2562 และเพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปีนับจากปี  2533 คาดว่า อัตราการตายจะลดลงไปอีกจะส่งผลให้ทั้งโลกมีอายุขัยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 77.2 ปีในปี 2593

 

หากแบ่งตามเพศอายุพบว่า อายุขัยผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชายถึง  5.4 ปี โดยเพศหญิงมีอายุขัย 73.8 ปี  ส่วนอายุขัยของผู้ชายอยู่ที่ 68.4 ปี โดยพบว่าผู้หญิงมีความได้เปรียบในการเอาตัวรอดในทุกภูมิภาคและทุกประเทศ โดยอยู่ที่ระดับ 7 ปีในละตินอเมริกาและแคริบเบียนถึง 2.9 ปีในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์




อินเดียจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก 

 

ปัจจุบัน ปี2022  ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยโลกยังคงเป็นจีน 1,426 ล้านคน และอินเดียเป็นอันดับ 2 คือ  1,412 ล้านคน  คาดว่าอินเดียคาดจะแซงหน้าจีนในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2566 หรือปีหน้าเป็นต้นไป ขณะที่ในป 2050  หรือ 2593 อินเดียจะมีประชากรจำนวน 1,668 ล้านคน ขณะที่จีนจำนวนประชากรจะเหลือ 1,317 ล้านคน 

 

10 อันดับประเทศที่มีประชาชากรมากที่สุดในโลก

10 อันดับประเทศที่มีประชาชากรมากที่สุดในโลก

 

จากตารางจะเห็นได้ว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2593 จะกระจุกตัวอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอธิโอเปีย อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และแทนซาเนีย  ทำให่อันดับประชากรโลกจากปัจจุบัน ถึงปี2593 มีความเปลี่ยนแปลงไปในหลายประเทศ 

 

46 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) เป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก หลายคนคาดว่าจะเพิ่มจำนวนประชากรเป็นสองเท่าระหว่างปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2593 เท่ากับเพิ่มแรงกดดันต่อทรัพยากรและความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จำนวนประชากรโลก
ข้อมูลจาก องค์การสหประชาชาติ




อัตราการเกิดของประชากรโลกโตต่ำกว่า1%ตั้งแต่ปี 2563

 

ในปีที่ทั่วโลกเผชิญกับภาวะการระบาดใหญ่ของโควิด 19 คือ พ.ศ.2563 อัตราการเกิดทั่วโลกลดลงต่ำกว่า 1% ต่อปี เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2493 


ในปี พ.ศ. 2564 อัตราการเจริญพันธุ์โดยเฉลี่ยของประชากรโลกอยู่ที่ 2.3 คนต่อช่วงชีวิตของผู้หญิง  1 คน ลดลงจากปี 2493 ซึ่งเคยอยู่ที่ประมาณ 5 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน และคาดว่าภาวะเจริญพันธุ์ทั่วโลกจะลดลงไปอีกเหลือ  2.1 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนภายในปี 2593


อัตราการเกิดประชากรโลก
เส้นสีส้ม แสดงถึงอัตราการเกิดที่ลดลง และมีโอกาสต่ำกว่า 0.50 ในปี2050 
เส้นสีม่วง แสดงถึง การเพิ่มขึ้นของประชากร



ข้อมูลที่สำคัญเรื่องประชากรโลกพบว่า 2ใน3 ของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่คาดการณ์ไว้จนถึงปี 2050 มาจากประชากรคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน เพราะที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลหลายประเทศตั้งเป้าลดอัตราการเกิดใหม่ลง เพื่อชะลอความเร็วของการเติบโตของประชากร ผลกระทบดังกล่าวจึงสะสมมา ส่งผลให้การเติบโตของประชากรโลกลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ 

 istock-1133828517

 

ความท้าทายในการสร้างความยั่งยืน 

รายงานฉบับนี้องค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค.เนื่องในวันประชากรโลกซึ่งนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการ UN กล่าวว่า "นี่เป็นเครื่องเตือนใจถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลโลกของเรา และเป็นเวลาที่ควรไตร่ตรองว่าเรายังไม่สามารถทำตามพันธสัญญาที่มีให้กันในด้านใดบ้าง"

 

ขณะที่ นายหลิว เจิ้นหมิน ผู้ช่วยเลขาธิการ UN ด้านกิจการทางสังคมและเศรษฐกิจ กล่าวว่า "การที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้การขจัดความยากจน การต่อสู้กับความหิวโหยและภาวะการขาดแคลนอาหาร รวมถึงการเพิ่มความครอบคลุมของระบบสาธารณสุขและการศึกษาทำได้ยากขึ้น ในทางกลับกัน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การศึกษา และความเท่าเทียมทางเพศ จะช่วยลดอัตราการเจริญพันธุ์และชะลอการเพิ่มจำนวนของประชากรโลกลงไปเช่นเดียวกัน 

 

ข้อมูลจาก องค์การสหประชาชาติ 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT