มนุษย์เงินเดือนเอกชน นอกจากสิทธิที่ต้องได้รับเงินเดือนตามวันที่ชัดเจนในจำนวนที่ตกลงกันไว้แล้ว ยังมีสิทธิหรือสวัสดิการต่างๆ ที่ต้องได้รับตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ทำให้พลาดการใช้สิทธิไปก่อนนี้ ซึ่งสิทธิหรือสวัสดิการที่ คนทำงานประจำเอกชนต้องรู้ หลักๆ ได้แก่
ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่าในแต่ละวันชั่วโมงการทำงานของพนักงานต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดขึ้นกับประเภทงาน ซึ่งโดยทั่วไปกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หากให้ทำงานเกินต้องมีความจำเป็นและมีการจ่ายค่าล่วงเวลา อย่างไรก็ตามด้วยรูปแบบการทำงาน ณ ปัจจุบันที่เป็นแบบ Work from home หรือ Hybrid Working ทำให้การวัดชั่วโมงการทำงานต่างไปจากการเข้า Office เกณฑ์ชั่วโมงการทำงานนี้ จึงอาจขึ้นกับวัฒนธรรมแต่ละองค์กร ที่เป็นที่ยอมรับทั้งของนายจ้างและพนักงาน
· ในแต่ละสัปดาห์ต้องมีวันหยุด ไม่น้อยกว่า 1 วัน (ทำงานไม่เกิน 6 วัน)
· วันหยุดประเพณี ต้องไม่น้อยกว่า 13 วันต่อปี (ที่ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์ เช่น เสาร์-อาทิตย์)
· เมื่อทำงานครบ 1 ปี ต้องมีวันลาพักร้อน/ลาพักผ่อน ไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี
· กรณีลาป่วย ไม่ถึง 3 วัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ สามารถทานยาพักผ่อนที่บ้านได้
· ลากิจธุระส่วนตัว เช่น ติดต่อราชการ ฯลฯ ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี
· ผู้หญิง ลาคลอดบุตรได้ 98 วันต่อปี โดยนับรวมวันหยุดใดๆ ระหว่างการลาดคลอดด้วย
สำหรับพนักงานที่มีบุตร นอกจากพนักงานหญิงที่มีสิทธิลาคลอด 98 วัน โดยยังได้รับเงินเดือนระหว่างที่ลาคลอดแล้ว ทั้งพนักงานหญิง และ/หรือ สามี ยังสามารถขอรับเงินจากประกันสังคมได้อีก รวม 111,000 บาท ต่อการมีบุตร 1 คน ดังนี้
ฝ่ายหญิงที่เป็นผู้ประกันตน สามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน ในอัตรา 50%ของฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท หรือสูงสุดเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวม 22,500 บาท โดยสามารถขอรับเงินส่วนนี้ได้สูงสุด 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกันตนแต่ละคน (ต่างจากค่าคลอดบุตรที่ไม่จำกัดจำนวน)
หลังจากคลอดบุตร ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงที่เป็นผู้ประกันตน สามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 1,000 บาท ไปจนกว่าบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ รวมเป็นเงิน 72,000 บาท สำหรับผู้ประกันตนที่มีบุตรเล็กหลายคน ในแต่ละเดือนสามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ไม่เกิน 3 คน
เมื่อพนักงานทำงานจนถึงวันที่ต้องเกษียณ เช่น อายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี จะได้รับเงินจากประกันสังคมและนายจ้าง ดังนี้
1) เงินชราภาพ จากประกันสังคม โดยแบ่งรูปแบบเงินที่ได้รับเป็น 2 กรณี ขึ้นกับระยะเวลาที่จ่ายประกันสังคมมา
2) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ที่แม้ว่าเป็นการเกษียณอายุ แต่ถือเป็นการเลิกจ้างตามสัญญาที่ได้ตกลงกันตั้งแต่วันเริ่มทำงาน โดยเงินที่ได้รับขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน เช่น
3) เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับบริษัทที่มีการจัดตั้งกองทุนฯ และพนักงานเลือกเป็นสมาชิกกองทุนฯ เงินที่ได้รับจากกองทุนฯ จะมาจากเงินที่พนักงานและนายจ้างนำเข้ากองทุนฯ 2%-15%ของเงินเดือน ทุกเดือน รวมกับผลตอบแทนที่กองทุนนำเงินไปลงทุน ซึ่งเงินก้อนนี้เสมือนมีนายจ้างช่วยเก็บเงินเกษียณเพิ่มให้เราทุกเดือน
นอกจากเงิน 3 ส่วนนี้ บางบริษัทอาจมีเงินบำเหน็จ/เงินก้อนให้กับพนักงานเกษียณนอกเหนือจากที่กล่าวมา ขึ้นอยู่กับสวัสดิการแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม เงินที่บริษัทให้เพิ่มนี้รวมถึงเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ถือเป็นเงินได้ที่ผู้รับต้องนำไปยื่นภาษี แต่เงินส่วนนี้ส่วนใหญ่มักเข้าเงื่อนไขการยื่นภาษีแบบ “ใบแนบ ภ.ง.ด.90/91” ทำให้ภาระภาษีค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการคำนวณภาษีแบบปกติที่ใช้กับ เงินเดือน/โบนัส
การถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือ การถูกเลิกจ้างโดยพนักงานไม่ได้กระทำความผิด เช่น บริษัทมีการปรับโครงสร้าง ลดต้นทุนพนักงาน จึงมีการปลดพนักงานออก เป็นต้น โดยสิทธิที่พนักงานที่ถูกเลิกจ้างต้องได้รับ มีดังนี้
อายุงาน | เงินชดเชยเทียบกับค่าจ้าง/เงินเดือน |
ไม่น้อยกว่า 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี | ค่าจ้าง 1 เดือนสุดท้าย (30 วัน) |
1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี | ค่าจ้าง 3 เดือนสุดท้าย (90 วัน) |
3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 6 ปี | ค่าจ้าง 6 เดือนสุดท้าย (180 วัน) |
6 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี | ค่าจ้าง 8 เดือนสุดท้าย (240 วัน) |
10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 20 ปี | ค่าจ้าง 10 เดือนสุดท้าย (300 วัน) |
20 ปีขึ้นไป | ค่าจ้าง 13.3 เดือนสุดท้าย (400 วัน) |
พนักงานเอกชนที่เป็นผู้ประกันตนประกันสังคม หากเกิดเหตุไม่คาดฝันจนเสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ดังนี้
จ่ายประกันสังคมมา ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี (36 - 119 เดือน) ได้รับเงินสงเคราะห์จำนวน 2 เท่าของฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท หรือไม่เกิน 30,000 บาท
จ่ายประกันสังคมมาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสงเคราะห์จำนวน 6 เท่าของฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท หรือไม่เกิน 90,000 บาท
สำหรับกรณีประสบเหตุจนกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ จากประกันสังคม ดังนี้
ซึ่งบุคคลทุพพลภาพรุนแรง หมายถึงบุคคลที่มือขาดทั้งสองข้างตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป
นอกจากเงินทดแทนการขาดรายได้แล้ว ผู้ที่เป็นบุคคลทุพพลภาพยังได้รับเงินจากประกันสังคมเพื่อเป็นค่าบริการทางการแพทย์ โดยหากใช้บริการสถานพยาบาลรัฐสามารถเบิกได้ตามความจำเป็นและเกณฑ์ที่กำหนด แต่หากใช้บริการสถานพยาบาลเอกชนสามารถเบิกได้ ดังนี้
· กรณีเป็นผู้ป่วยนอก ค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
· กรณีเป็นผู้ป่วยใน ค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
· รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งบุคคลทุพพลภาพกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท เป็นต้น
พนักงานประจำ มีหน้าที่ทำงานให้นายจ้างเพื่อรับเงินเดือนเป็นค่าตอบแทน แต่การทำงานดังกล่าวต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย รวมถึงเหตุไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อไม่ว่าจะเป็นการตกงาน ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ฯลฯ ซึ่งสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิให้กับพนักงานประจำเอกชนทุกคน
อย่างไรก็ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อาจมีบริษัทบางแห่งที่อาจให้พนักงานทำงานเกินเวลาบ้าง หรือพนักงานถืองานมากจนเลือกไม่ใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปี ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้หากทุกฝ่ายยอมรับด้วยความเต็มใจ เพราะหากองค์กรไปต่อไม่ได้จากพนักงานประจำที่มีเงินเดือนและสิทธิต่างๆ อาจกลายเป็นคนตกงานที่ไม่มีเงินเดือนเป็นรายได้อีกต่อไป
นักวางแผนการเงิน CFP