ข่าวเศรษฐกิจ

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดโปร 25 บาท/เที่ยว สายสีแดงขิงผู้ใช้นิวไฮ

30 ม.ค. 67
รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดโปร 25 บาท/เที่ยว สายสีแดงขิงผู้ใช้นิวไฮ

 

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดตัวโปรใหม่ เหมาจ่ายค่าโดยสารรายสัปดาห์ เพียง 25 บาทต่อเที่ยว* ตลอดสาย เริ่ม 1 ก.พ.นี้ สายสีเหลือง 10 เที่ยว / 7 วัน ราคา 250 บาท (ราคา 25 บาท ต่อเที่ยว)ใช้เดินทางในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง 23 สถานี (สถานีลาดพร้าว ถึงสถานีสำโรง)

ขณะที่ “สายสีแดง” ขิงทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) อีกครั้ง หลังดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท

บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดตัวโปรโมชันแพ็กเกจเที่ยวเดินทางเหมาจ่ายรายสัปดาห์ “โปรใหม่! แบบสัป(ดาห์) นั่งไปไหนก็ 25 บาท” เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 – 30 เมษายน 2567 

แพ็กเกจนี้ สำหรับผู้ถือบัตรแรบบิท บุคคลทั่วไป และนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ผู้โดยสารที่ซื้อแพ็กเกจ จะได้รับเที่ยวเดินทางจำนวน 10 เที่ยว และมีระยะเวลาในการใช้งาน 7 วัน ในราคา 250 บาท  (25 บาท ต่อเที่ยว) และสามารถใช้เดินทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองได้ทั้ง 23 สถานี 

ตั้งแต่สถานีลาดพร้าว - สถานีสำโรง โดยสามารถซื้อแพ็กเกจได้ 2 ช่องทาง คือ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ทุกสถานี และแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส 

พิเศษ! สำหรับผู้ซื้อแพ็กเกจผ่านแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส จะได้รับคูปองส่วนลดพิเศษมากมาย จากร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ และสำหรับผู้ที่ถือบัตรแรบบิทที่ผูกบัญชีกับไลน์ เพย์ สามารถซื้อแพ็กเกจผ่านแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส ได้ช่องทางเดียวเท่านั้น

สำหรับเงื่อนไข 

- โปรโมชันแพ็กเกจเที่ยวเดินทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง 10 เที่ยว / 7 วัน ราคา 250 บาท (ราคา 25 บาท ต่อเที่ยว) 

  ใช้เดินทางในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง 23 สถานี (สถานีลาดพร้าว ถึงสถานีสำโรง) เท่านั้น

- ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่าธรรมเนียมในกรณีการออกบัตรแรบบิทใหม่

- โปรโมชันจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2567 - 30 เมษายน 2567 

- โปรโมชันสำหรับบัตรแรบบิท บุคคลทั่วไป และนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น

- สำหรับบัตรแรบบิทที่ผูกไลน์ เพย์สามารถซื้อแพ็กเกจผ่านแอปพลิเคชันแรบบิท รีวอร์ดส ได้ช่องทางเดียวเท่านั้น

- ผู้โดยสารจะต้องใช้เที่ยวเดินทางแรกจากแพ็กเกจภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ซื้อแพ็กเกจ และเที่ยวเดินทางที่เหลือจะมีอายุ

  การใช้งาน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการใช้เที่ยวเดินทางครั้งแรก (เที่ยวเดินทางที่ไม่ได้ใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

  จะหมดอายุโดยอัตโนมัติ) 

- เที่ยวเดินทางไม่สามารถขาย แลกเปลี่ยน โอน หรือถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดหรือโปรโมชันอื่น ๆ ได้

“สายสีแดง” ทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) หลังดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท

โดยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เผยสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) หลังดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า หลังจากรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ขานรับนโยบาย Quick Win ของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทั้ง 2 เส้นทาง ได้แก่ สายธานีรัถยา ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีรังสิต และสายนครวิถี ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีตลิ่งชัน ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในปัจจุบัน 

ทั้งนี้ ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะมากยิ่งขึ้นนั้น โดยตั้งแต่เริ่มนโยบายดังกล่าวมาเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน มีปริมาณผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จนสามารถทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) ได้อีกครั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 35,352 คน โดยสถานีที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด คือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ มีจำนวนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 9,458 คน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 - 10 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการจัดงานเกษตรแฟร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ยังเตรียมความพร้อมในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย และความพร้อมของขบวนรถไฟฟ้า เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มมากขึ้น 

โดยผู้ใช้บริการที่จะเดินทางไปที่เที่ยวในงานเกษตรแฟร์ สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงได้อย่างสะดวก โดยลงที่สถานีบางเขน และเลือกใช้ทางออกที่ 7 หรือ 8 ซึ่งรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จนสามารถทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) ได้อีกครั้ง

เมื่อโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเดินทางในเมืองไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครอบคลุม สะดวก สบาย เข้าถึง และในราคาที่ประหยัด เชื่อว่า ปริมาณการใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้น ช่วยคาร์บอนให้กับโลกใบนี้ได้เพิ่มขึ้นเลยทีเดียว

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT