กรณี ‘กำนันนก’ ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นทำให้สังคมกลับมาสนใจปัญหาอิทธิพลมืดในท้องถิ่น และปัญหาการคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวโยงกับทั้งผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และตำรวจทีทำงานร่วมกันเพื่อหาผลประโยชน์จากกิจการและโครงการต่างๆ ของรัฐ จนยากที่จะกำจัดให้หมดไปได้
ล่าสุดในวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ออกมาเปิดข้อมูลสถิติการชนะประมูลโครงการรัฐ พบว่าในช่วงปีงบประมาณ 2554-2566 ธุรกิจของกำนันนกคือ บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด และบริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด ได้งานของรัฐไปทั้งหมด 1,544 โครงการ (แบ่งเป็นของ ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง 923 โครงการ และ ป.รวีกนก ก่อสร้าง 621 โครงการ) ในวงเงินงบประมาณ 7,579,402,078.72 บาท และวงเงินทำสัญญารวม 6,964,815,249.47 บาท
ที่สำคัญคือ ในจำนวน 1,544 โครงการนี้ เป็นโครงการใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 30 ล้านบาท ถึงจำนวน 20 โครงการ และมี 2 โครงการที่เข้าข่ายว่ามีการ “ฮั้วประมูล” หรือการตกลงราคาหรือกฎเกณฑ์การยื่นซองประมูลล่วงหน้าเพื่อล็อกผู้ชนะการประมูล ได้แก่
ทำให้ในช่วงวันจันทร์ถึงวันพุธหน้า (18-20 ก.ย. 66) DSI จะเชิญผู้ที่เคยอยู่ในการประมูลดังกล่าวมาสืบหาว่ามีการตกลงราคากันก่อนเพื่อให้บริษัทของกำนันนกชนะประมูลโครงการรัฐไปจริงหรือไม่ ทำไมกำนันนกจึงรู้ราคาประมูลของเจ้าอื่นก่อนจึงทำให้ยื่นราคาในระดับที่ต่ำกว่าได้ หรือว่ามีการข่มขู่ให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ไม่สามารถเข้าร่วมยื่นซองประมูลได้หรือไม่
เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้สังคมไทยได้เห็นกันชัดๆ อีกครั้งถึงโครงข่ายอิทธิพลที่กำลังกัดกินสังคมไทย ในบทความนี้ ทีม SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนมาดูวิธีสังเกตการทุจริตในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐกัน เพื่อที่ในอนาคต เราจะได้เป็นหูเป็นตา ช่วยสอดส่องความผิดปกติ และแจ้งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานได้ในทันที
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ ที่จะเกิดการทุจริตเพราะ การจัดซื้อจัดจ้างในประเทศต่างๆ รวมถึงไทย เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินงบประมาณจำนวนมากที่ภาครัฐเก็บมาจากประชาชน และเป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ทำให้ผู้มีอิทธิพลและนายทุนเงินหนาต่างๆ มีโอกาสแทรกแซง เข้าหาคนในภาครัฐได้ในหลายระดับ และยื่นข้อเสนอ เงิน หรือผลประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้คนเหล่านี้ยอมทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของผู้มีอิทธิพลและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
จากข้อมูลของ OECD การติดสินบนถึง 57% เกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ และจากข้อมูลของ ป.ป.ช. ในปีงบประมาณ 2566 การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นหัวข้อที่ทางป.ป.ช. ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 โดยคิดแล้วเป็นมูลค่าโครงการทั้งหมด 2,092 ล้านบาท
ปัญหาทุจริตในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงจนถ้าหากปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำผิดต่อไปก็จะส่งผลเสียอย่างมากต่อทั้งเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ที่อาจได้รับอันตรายจากสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน
จากข้อมูลในการวิจัยของ TDRI การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบหลักๆ ด้วยกันคือ 1. การให้สินบน 2. การสมยอมหรือ “ฮั้ว” กันในการเสนอราคา 3. การใช้บริษัทอื่นบังหน้า และ 4. รูปแบบอื่นๆ และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน คือ
โดยส่วนมากการทุจริตจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในทุกขั้นตอน จากผู้มีอิทธิพลไม่กี่ราย ทำให้มีข้อสังเกตสำคัญคือ บริษัทที่ชนะการประมูลในพื้นที่นั้นมักจะเป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของหรือดูแลโดยคนคนเดียว หรืออาจจะเป็นผู้เล่นหน้าเก่าหน้าเดิมที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน วนกันขึ้นมาเป็นผู้ชนะประมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติหากเจ้าหน้าที่รัฐมีการออกกฎเกณฑ์ หรือมีการพิจารณาผู้ได้รับคัดเลือกอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสจริง
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนระดับนโยบายที่จะกำหนดว่าโครงการใดจะได้รับงบประมาณบ้าง ได้มาจากแหล่งใด และได้เท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนอื่นๆ ที่ตามมา ซึ่งโดยหลักแล้วมีผู้เกี่ยวข้องสำคัญ 2 ฝ่ายด้วยกัน คือ
ในระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่ นักการเมืองส่วนมากมักต้องการให้มีการก่อสร้างถนนหรือโครงการต่างๆ ในพื้นที่ของตัวเองเพื่อหาเสียงจากประชาชน ทำให้นักการเมืองอาจเข้าไปตกลงติดต่อกับรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องให้อนุมัติโครงการในพื้นที่ของตัวเอง อาจจะด้วยทั้งการติดสินบน หรือการเสนอผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งทำให้มีข้อเสียสำคัญคือ โครงการนั้นๆ อาจไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสให้มีผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นเข้าไปหาผลประโยชน์กันได้อีกเป็นทอดๆ ในขั้นตอนอื่นๆ ของการจัดซื้อจัดจ้าง
เมื่อโครงการหนึ่งได้รับอนุมัติแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการประกาศข่าวเพื่อให้ผู้สนใจเข้ามายื่นซองประมูล ซึ่งก่อนจะยื่นได้ก็ต้องศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนว่าบริษัทมีคุณสมบัติและประสบการณ์ในการทำงานมากพอหรือไม่ และจัดเตรียมเอกสารให้ครบตามกำหนดเพื่อยื่นซองประมูลแข่งขันกับผู้รับเหมารายอื่น
อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนนี้ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ยื่นประมูลอาจหาทางทุจริตเพื่อล็อกผู้ชนะการประมูลได้หลายทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
ขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพราะจะเป็นการพิจารณาว่าบริษัทใดจะได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ถึงแม้โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานรัฐจะใช้เกณฑ์ราคาเป็นตัวชี้วัด แต่ในบางโครงการอาจต้องมีการพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ด้วย เช่น ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า ต้นทุนในการบำรุงรักษา และบริการหลังการขาย
นี่ทำให้ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เสี่ยงถูกแทรกแซงได้สูงมาก เพราะต้องใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการในการตัดสินใจ และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ยื่นซองประมูลสามารถร่วมมือกันเพื่อชี้นำผลลัพธ์ได้ในหลายทางด้วยกัน ทั้งการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเพื่อให้เจ้าหน้าที่คนนั้นโน้มน้าวให้กรรมการคนอื่นเลือกบริษัทที่ต้องการ หรือการติดสินบนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเพื่อหาทางบิดกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง โดยอาจปรากฎออกมาเป็นความผิดปกติ เช่น
หลังจากได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว การทุจริตอาจดำเนินต่อมาในขั้นตอนนี้ได้เพราะเป็นขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ควบคุมการส่งมอบ การใช้วัสดุต่างๆ ที่ทั้งผู้รับเหมาและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถหาผลประโยชน์ส่วนเกินจากตรงนี้ได้อีก โดยความผิดปกติในขั้นตอนนี้อาจะเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น
โดยถ้าหากมีการทุจริตในขั้นตอนนี้ ผลลัพธ์อาจเห็นได้ช้ามาก เพราะกว่าประชาชนจะทราบว่าโครงการนี้ใช้วัสดุไม่ตรงสเปคหรือไม่ได้มาตรฐาน เวลาก็อาจจะผ่านไปค่อนข้างนานแล้ว หรืออาจจะไม่มีความรู้เพียงพอในการประเมินระยะการเสื่อมของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ควบคู่ไปกับปริมาณการใช้งานได้เพราะไม่มีข้อมูล
จากข้อมูลเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่ายมาก นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่ให้การช่วยเหลือปกป้องผลประโยชน์กันอย่างเหนียวแน่น จนยากที่จะสืบสาวเข้าไปตรวจสอบการทุจริตได้หากไม่มีอำนาจในการขอดูข้อมูลจากหน่วยงาน หรือไม่มีกำลังคนมากพอในการเข้าไปสืบเสาะหาเรื่องราวต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย
ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเพิ่มความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ว่าจะเป็นประกาศการรับประมูล คุณสมบัติของผู้เข้าประมูลในโครงการต่างๆ ข้อมูลบริษัทที่เข้าประมูล และหากมีการประมูลไปแล้วจะต้องมีการเปิดเผยเอกสารยื่นประมูลทั้งหมดเพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาหาผู้ได้รับคัดเลือกจากเอกสารและกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้จริงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
ในข้อนี้เอง นายก เศรษฐา ทวีสินได้ประกาศไว้แล้วในวันต่อต้านการคอร์รัปชั่นในปี 2566 ว่าจะมีการจัดให้เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และทำให้การทำงานของรัฐบาลต่างๆ ตรวจสอบได้บนระบบออนไลน์ในรูปแบบของรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งในความเป็นจริงจะทำได้หรือไม่ก็คงต้องมาติดตามดูกันต่อไป