สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่สร้างผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั่วโลก สร้างปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีหน้าเหลือ 2.7% ลดลง 0.2% จากที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือน กรกฎาคมทีผ่านมา
"ช่วงเวลาของปี 2023 จะทำให้ผู้คนนับล้านทั่วโลกจะรู้สึกเหมือนอยู่ในภาวะถดถอย พร้อมทั้งเตือนว่า “ความเลวร้ายที่สุดยังไม่มาถึง“ นี่คือช่วงเวลาที่การเติบโตอ่อนแอที่สุดนับจากปี2001”
รายงานประจำปีคาดการณ์เศรษฐกิจโลก สำหรับปีนี้ (2022) IMF ประเมินไว้ที่ระดับเดิมคือ 3.2% แต่ก็ถือว่าเติบโตลดลงจากปีที่แล้ว (2021) ที่เคยอยู่ระดับ 6%
รายงานยังระบุด้วยว่า มากกว่าหนึ่งในสามของเศรษฐกิจโลกจะเห็นการเติบโตแบบติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน ในขณะที่ 3 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มี่สุดของโลก นั่นคือ สหรัฐฯ ยุโรป และ จีน เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง
IMF ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้เหลือ 1.6% และปีหน้า เหลือ
1% โดยเป็นผลกระทบมาจากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ส่วนเศรษฐกิจจีนก็ถูกปรับลดคาดการณ์เช่นกัน ปีนี้ GDP โต 3.2% และปี 2566 โตเ 4.4% ซึ่งก็เป็นผลมาจากการใช้มาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความสำคัญถึง 1ใน 5 ของเศรษฐกิจจีน
ขณะที่เศรษฐกิจของยุโรป ปีนี้เติบโตได้ 3.5 % แต่ในปี 2023 จะเติบโตเหลือแค่ 0.5% เท่านั้น
ขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังพัฒนา ปีนี้และปีหน้าเติบโตคงตัวที่ 3.7%
เศรษฐกินอินเดีย ปี2022 โต6.8% ปี 2023 6.1%
ขณะที่กลุ่มประเทศ อาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปี2022 โต 5.3% ปีหน้าโต 4.9%
3 ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดสภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจคือ
สงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตค่าครองชีพสูงและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทั้ง3ส่วนนี้ร่วมกันสร้างช่วงเวลาที่ "ผันผวน" ทางเศรษฐกิจ ภูมิรัฐศาสตร์ และระบบนิเวศในโลก โดยในรายงานระบุว่า สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังคง “ทำลายล้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ก่อให้เกิดวิกฤตพลังงานที่ “รุนแรง” ในยุโรป รวมไปถึงการทำลายล้างในยูเครนเองด้วย
ราคาของก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากกว่าสี่เท่าตั้งแต่ปี 2564 เนื่องจากขณะนี้รัสเซียส่งมอบก๊าซน้อยกว่า 20% ของระดับที่ส่งในปี 2564 ขณะที่ราคาอาหารก็ยิ่งแพงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้ง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะสูงสุดในช่วงปลายปี 2565 จาก 4.7% ในปี 2564 เป็น 8.8% และจะอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนปีหน้ามีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจลดลงเป็น 6.5% และลดลงเหลือ 4.1% ภายในปี 2567