เลือกตั้ง 2566 มีพรรคการเมืองไทยร่วมลงแข่งขันในศึกนี้รวม 67 พรรค ประชาชนคนไทยในช่วงนี้คงมีโอกาสเห็นกับโฉมหน้าของผู้สมัคร นโยบายพรรค รวมถึงหมายเลขของผู้สมัครแต่ละคนไปแล้ว ทั้งจากป้ายหาเสียง และตามหน้าสื่อต่างๆ
แต่หนึ่งสิ่งในสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ‘ชื่อพรรค’ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงจุดยืน อุดมการณ์ รวมถึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือการทำ ‘แบรนดิ้ง’ ของพรรคการเมืองอีกด้วย
ชื่อพรรคการเมืองแต่ละพรรค มีคีย์เวิร์ดสำคัญอะไรอยู่ในนั้นบ้าง? SPOTLIGHT นำสถิติ ‘คำยอดฮิตที่มักถูกหยิบไปใช้ตั้งชื่อพรรคการเมือง’ จากต้นฉบับที่ถูกเผยแพร่โดย คุณ ศักดิ์สิทธิ์ ไสยสมบัติ ผู้สื่อข่าวชาวไทยจากสำนักข่าว CNA สิงคโปร์ พบว่ามีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2566
รายชื่อพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 67 พรรค ดังนี้
ชื่อพรรคการเมืองไทย แม้มองผิวเผินจะดูคล้ายกัน แต่เบื้องลึกเบื้องมีความผูกโยงกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่มีมาอย่างยาวนานเกือบศตวรรษ “ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์” อาจารย์และนักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าให้ Spotlight ฟังว่า จากสถิติข้างต้นเกี่ยวกับชื่อพรรคการเมืองไทย อาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
ตัวอย่างคำที่นิยมใช้ในชื่อพรรค : พลัง, รวม, ประชา
ตัวอย่างคำที่นิยมใช้ในชื่อพรรค : ไทย, ชาติ, รัฐ, แผ่นดิน
อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงการสังเกตจากชื่อพรรคเท่านั้น ในความเป็นจริง อาจมีพรรคการเมืองที่ชื่อพรรค กับอุดมการณ์มิได้เป็นไปตามข้างต้น เช่น ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งจากชื่อควรเป็นพรรคในกลุ่มรัฐนิยม แต่จุดยืนของพรรคจริงๆ แล้วค่อนไปทางเสรีนิยม เจาะกลุ่มรากหญ้ามากกว่า หรือ ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ก็เป็นการหยิบคำจากทั้งสองฝั่งมาตั้งชื่อพรรค โดยมีจุดยืนทางการเมืองค่อนไปทางเสรีนิยม และมีฐานเสียงเป็นคนรากหญ้าเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย
สำหรับพรรคการเมืองแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย แม้ไม่ได้มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการนั้น อาจถือได้ว่า ‘คณะราษฎร’ หรือ สมาคมคณะราษฎร หรือต่อมาใช้ว่า สโมสรราษฎร์สราญรมย์ นั้น เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 โดยคณะผู้ก่อการรวม 7 คน ได้แก่
ก่อนพรรคการเมืองพรรคแรกของไทยนี้ จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนจะวิวัฒน์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในเวลาต่อมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางการเมืองของไทยที่ดำเนินมาแล้วกว่า 91 ปี