ธุรกิจการตลาด

ส่องอาณาจักร WHA Group ตั้งเป้าสู่บริษัทเทคโนโลยี ภายในปี 67

18 ม.ค. 67
ส่องอาณาจักร WHA Group ตั้งเป้าสู่บริษัทเทคโนโลยี ภายในปี 67

นิคมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สร้างรายได้ให้แก่แรงงานไทย สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากการการลงทุนและสร้างเม็ดเงินมหาศาล ซึ่งหากพูดถึงผู้เล่นในตลาดนี้ หลายคนต้องนึกถึง บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” หรือ “WHA Group” อย่างแน่นอน

ยิ่งช่วงปีหลังๆ ที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังมา ทำให้แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าดังหลายเจ้าต่างเข้ามาตีตลาดไทย พร้อมกับสร้างโรงงานสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยในพื้นที่อาณาจักรของ WHA ไม่ว่าจะเป็น BYD, Changan, GWM หรือแม่แต่ค่ายญี่ปุ่นอย่าง ซูซูกิ, มาสด้า และ อีซูซุ ทำให้ปัจจุบันกลุ่มยานยนต์นั้นครองสัดส่วนลูกค้าถึง 31% ของ WHA เลยทีเดียว

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนไปรู้จักบริษัท WHA Group ผ่าน 4 กลุ่มธุรกิจหลักที่สามารถสร้างงานได้มากกว่า 200,000 ตำแหน่ง

screenshot2024-01-18150509

รู้จัก WHA

WHA Group ได้เริ่มก่อตั้งในปี 2546 หรือเมื่อ 21 ปีที่แล้ว นำโดย นพ.สมยศ อนันตประยูร และคุณจรีพร จารุกรสกุลโดยมีธุรกิจแรกคือโลจิสติกส์อย่างคลังสินค้า ก่อนจะขยายมาสู่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีลูกค้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก

จนกระทั่งในปี 2557 “ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเมื่อปี 2560 ได้รวมกิจการกับบริษัทเหมราช พัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) นักพัฒนาที่ดินที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศไทยด้านนิคมอุตสาหกรรม ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน และทางเลือกด้านที่ดิน ส่งผลให้ WHA Group เข้มแข็งยิ่งขึ้นกว่าเดิม

จากความแข็งแกร่งในการขยายพอร์ตธุรกิจไม่หยุด จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนธุรกิจชั้นนำของไทยที่สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจประเทศไทยแล้วกว่า 2 ล้านล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 2 แสนตำแหน่ง เกิดการพัฒนาเมืองในจุดที่เข้าไปพัฒนานิคมอุตสาหกรรม พร้อมๆ ไปกับการดูแลชุมชนโดยรอบควบคู่กัน ภายใต้พันธกิจ WHA: WE SHAPE THE FUTURE ในการสร้างคน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน

โดยทั้งหมดนี้จะช่วยผลักดันให้ WHA Group บรรลุเป้าหมายที่จะก้าวเป็น “บริษัทเทคโนโลยี” อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2567 

160829237093

เปิดนิคมอุตสาหกรรมของอาณาจักร WHA 13 แห่ง

WHA มีประสบการณ์ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมายาวนาน ทำให้มีพื้นที่รวมกันกว่า 71,800 ไร่ และมีกลุ่มนักลงทุนกว่า 871 บริษัท

ในปัจจุบันนิคมฯ ในการดูแลของ WHA มีทั้งหมด 13 แห่ง แบ่งเป็น

  • นิคมฯ และเขตประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC 11 แห่ง

  • เขตประกอบการอุตสาหกรรม ในจังหวัดสระบุรี 1 แห่ง

  • นิคมฯ ในจังหวัด Nghe An, ประเทศเวียดนาม  1 แห่ง

    732603

เปิด 4 ธุรกิจในอาณาจักร WHA

1.กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์

ชื่อบริษัท : บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

: นับเป็นธุรกิจเริ่มต้นของ WHA ก่อนขยายเข้าสู่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ โดยให้บริการในด้านคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงานระดับพรีเมี่ยมที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก และยังเป็นรายแรกที่ทำอาคารโรงงาน และคลังสินค้าในรูปแบบ Built-to-Suit ในปี 2546 โดยในปัจจุบัน มีพื้นที่รวมกว่า 2.9 ล้านตารางเมตร บนทำเลจุดยุทธศาสตร์ 52 แห่ง ทั่วประเทศ

เช่น โครงการ Green Logistics ที่เป็นการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาปรับใช้กับกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ ได้แก่ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในการขนส่งสินค้า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า  การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นศูนย์กลางในการควบคุมการดำเนินงานของยานยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศในระยะยาว

 697295

2.กลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม

ชื่อบริษัท : บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน))

: โครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณูปโภคครบวงจร ได้แก่ การผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย การทิ้งและฝังกลบขยะ และการผลิตพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบัน ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มีนิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 13 แห่ง บนพื้นที่กว่า 71,300 ไร่ ทั้งในประเทศไทย และประเทศเวียดนาม

ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออก เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยมาตรฐานการจัดการนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์อัจฉริยะ (Smart ECO Industrial Estate)

 309484

3.กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า

ชื่อบริษัท : ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

: ผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภคแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม ด้วยกำลังการผลิตน้ำรวมถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี และกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของโรงไฟฟ้าที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 870 เมกะวัตต์

โดยมีโครงการที่น่าสนใจดังนี้ :

  • Floating Solar โดยโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำของบ่อเก็บน้ำ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าขนาด 8 เมกะวัตต์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 5,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567
  • Solar Carpark บนหลังคาที่จอดรถขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่หลังคารวม 59,000 ตารางเมตร มีขนาดไฟฟ้ารวม 7.7 เมกะวัตต์ และพร้อมเปิดดำเนินการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2567
  • Solar Rooftop กำลังผลิตไฟฟ้าขนาด 24.24 เมกกาวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 18,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

 899850

4.กลุ่มธุรกิจดิจิทัล โซลูชัน

ชื่อบริษัท : ดับบลิวเอชเอ ดิจิทัล จำกัด (มหาชน)

: ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมระดับโลก โดยพัฒนาธุรกิจและทางเลือกด้านข้อมูลที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนลูกค้านิคมอุตสาหกรรมทั้งจากบริษัทในประเทศและต่างประเทศ

 whaunifiedoperationcenter

ตัวอย่างนวัตกรรมไฮไลต์ของ WHA

ศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Unified Operation Center: UOC)

: ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMcC) ระบบกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย (CCTV) และระบบควบคุมการจราจร (VMS) และศูนย์ควบคุมระบบน้ำและระบบบําบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นการบูรณาการข้อมูล ที่จะแสดงข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ ของกลุ่มบริษัทฯ แสดงผลการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นค่าความบริสุทธิ์ของน้ำจากระบบผลิตน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ของดับบลิวเอชเอ การจราจรภายในเขตนิคม ฯลฯ เพื่อให้ได้รู้ข้อมูลตลอดเวลา หากเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และยังสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกลุ่มบริษัทฯ ที่ต้องการให้มีการแสดงข้อมูลผลชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส เป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยงานรัฐในการเผยแพร่ผลการตรวจวัดสู่สาธารณะ

whaunifiedoperationcenter_1

โครงการ Clean Water for Planet

: ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงระดิษฐ์ (Wet Land) ที่ออกแบบระบบเป็นแบบน้ำไหลใต้ผิวชั้นกรองในแนวนอน (Subsurface flow wetland) มีหลักการทำงานคือ สารแขวนลอยขนาดใหญ่ที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสียจะถูกกรองโดยชั้นกรองหินของบึงประดิษฐ์ และสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสียจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่รากพืชและชั้นกรอง ซึ่งระบบนี้จะได้รับออกซิเจนจากระบบรากพืช และการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นกรองลงมา โดยระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์นอกจากจะสามารถกำจัดสารอินทรีย์และสารแขวนลอยในน้ำเสียได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียได้อีกด้วย

 758025

advertisement

SPOTLIGHT