ธุรกิจการตลาด

หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

9 พ.ย. 66
หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

ดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลต่อทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีหนี้ เช่นในตลาดที่อยู่อาศัย ผู้ที่มีสินเชื่อจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภาระหนี้ที่สูงขึ้น ยิ่งหากรายได้มีจำกัดจะยิ่งส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และยังต้องเผชิญความเสี่ยง จากความผันผวนของเศรษฐกิจในเวลานี้อีกด้วย

หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

จากข้อมูลทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย นางสาวอัจจนา ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบแบบจำลองและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP)ในช่วงปีที่ผ่านมารวม2% จากที่เคยอยู่ในระดับ 0.50% ต่อปี เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 จนปัจจุบันมาอยู่ในระดับ 2.50% ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MRR) ปรับขึ้นประมาณ 1% ส่งผลกระทบต่อลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขอกู้สินเชื่อบ้านใหม่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทันที 

ส่วนคนที่มีหนี้เดิมอยู่แล้ว สถาบันการเงินจะมีการคิดดอกเบี้ยเผื่อไว้ (buffer) อยู่แล้วเฉลี่ย 1-2% รองรับในทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ที่อาจทำให้ส่งผลกระทบไม่มากนัก แต่ อย่างไรก็ตาม อาจมีลูกหนี้บางคนเริ่มไม่ไหว เพราะตอนเริ่มต้นทำสัญญากู้บ้านจะเป็นแบบดอกเบี้ยคงที่ แต่หลังจากเริ่มผ่อนและเริ่มเข้าสู่ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อา่จกระทบกับลูกหนี้บางคน ที่มีรายได้ไม่แน่นอน 

คนเป็นหนี้เร่งสำรวจโครงสร้างการผ่อนจ่าย
หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

จากข้อมูลของ ธปท. ได้ ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่น้อย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • กลุ่มที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ กลุ่มที่ยังคงอยู่ในช่วง 2-3 ปีแรกที่ได้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ตลอดระยะเวลาผ่อนชำระ ส่งผลให้ค่างวดคงที่เท่าเดิมตลอด

  • กลุ่มที่เริ่มได้รับผลกระทบ ได้แก่ กลุ่มที่ครบกำหนดเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะอิงตามอัตราดอกเบี้ยตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ดอกเบี้ยเดิม 3% ต่อปี ปรับเป็น 4% ต่อปี ส่งผลให้ค่างวดปรับขึ้นและทำให้ลูกหนี้อาจจ่ายไม่ไหว

สำหรับกลุ่มที่เริ่มได้รับผลกระทบ กรณีค่างวดไม่พอดอกเบี้ย ธนาคารจะให้ลูกค้าจ่ายมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่เลือกผ่อนชำระค่างวดน้อยในช่วงแรก ส่งผลให้เงินต้นลดลงน้อยลง และเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นก็ยิ่งทำให้ค่างวดสูงขึ้นมากขึ้น

ตัวอย่างกรณีที่มีข่าวลูกค้าชำระค่างวดบ้านแต่หักเงินต้นเพียง 5 บาท เกิดขึ้นได้หากลูกค้าเลือกผ่อนชำระค่างวดน้อยในช่วงแรก เช่น ในช่วง 2 ปีแรก สมมติอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.5% ต่อปี และปีที่ 3 ดอกเบี้ยลอยตัวเป็น 3.5% ต่อปี ก็จะทำให้เกิดภาวะ “ดอกเบี้ยบวม” เกิดจากเจอดอกเบี้ยลอยตัวและดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้ค่างวดสูงขึ้นอย่างมากจนหักเงินต้นเพียงเล็กน้อย

ดังนั้น ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยต่อสินเชื่อที่อยู่อาศัย นอกจากเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว ยังเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น โครงสร้างการผ่อนชำระของลูกค้าด้วยเช่นกัน โดยลูกค้าควรวางแผนการผ่อนชำระอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้อย่างสบายใจและไม่เป็นภาระในอนาคต

อนาคต คนไทยจะมีบ้านเป็นของตัวเองน้อยลง 

หนี้บ้านน่าห่วง ดอกเบี้ยขึ้น บางคนอาจผ่อนต่อไม่ไหว

จากข้อมูลของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้เปิดเผยว่า เวลานี้สัดส่วนที่ คนไทย เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยลดลง จากสาเหตุเผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน  โดยสาเหตุสำคัญมาจากราคาที่อยู่อาศัยที่ยังปรับตัวสูงต่อเนื่อง ทั้งราคาที่ดินและต้นทุนการก่อสร้างดันราคาบ้าน-คอนโดฯ พุ่ง 

ด้าน อัตราดอกเบี้ยบ้าน ในเวลานี้ก็เป็นตัวแปรสำคัญทำให้ ผู้ซื้อที่มีระดับรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบาง รวมไปจนถึง กลุ่มคนรายได้ปานกลาง ต้องทบทวนอย่างหนักก่อนที่จะซื้อบ้านเป็นเจ้าของ โดย “SCB EIC” พบว่า กลุ่มคนส่วนใหญ่ยังอยากซื้อบ้านมากกว่าเช่าอยู่ หากแต่พวกเขามีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับซื้อบ้าน โดยเฉพาะในเวลานี้ คนไทยส่วนใหญ่รายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ทำให้คนกลุ่มนี้มองหาที่พักแบบเช่ามากกว่าซื้อและขาดความพร้อมในการขยับขยายมาเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เพราะยังมีเงินดาวน์ไม่พอและยังกังวลเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายที่จะมาถึงในอนาคตร่วมด้วย

จากข้อมูล สัดส่วนบ้านเช่าปี 2565 อยู่ที่ 42% เพิ่มขึ้นจากปี 2564 อยู่ที่ราว 4% ทั้งยังพบว่า แม้จะมีโครงการบ้านจัดสรรแถบชานเมือง-ปริมณฑล แต่ราคาขายก็ยังสูงเกินเอื้อมอยู่ดี เนื่องจากปัจจุบันที่ดินผืนใหญ่เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยหาได้ยากขึ้น บวกกับการมาถึงของการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้า ดันพื้นที่นอกเมืองราคาสูงขึ้นจากความเป็นเมืองที่ขยายตัวครอบคลุม นอกจากนี้ด้านหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงต่อเนื่องส่งผลให้มีการ ขอกู้บ้านยากมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย, SCB EIC

advertisement

SPOTLIGHT