ธุรกิจการตลาด

ปอศ. สอบกว่า 10 บจ. เข้าข่าย 'ปั่นหุ้น' อ้างทำ 'เหมืองทิพย์คริปโท'

22 ส.ค. 65
ปอศ. สอบกว่า 10 บจ. เข้าข่าย 'ปั่นหุ้น' อ้างทำ 'เหมืองทิพย์คริปโท'
ไฮไลท์ Highlight
  • ปอศ. ส่งข้อมูลย่างน้อย 10 บจ. ให้ ก.ล.ต. ตรวจสอบ หลังพบอ้างลงทุน 'เหมืองคริปโททิพย์' ใช้ปั่นหุ้น
  • ชี้อาจทำผิดเข้าผิดเข้าข่ายอาจผิดทั้ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ-พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล 
  • พบ บจ. ได้ทยอยซื้อเครื่องขุดคริปโทเคอร์เรนซี แต่ไม่มีรายได้เป็นรูปธรรม
  • รมว.คลัง สั่ง ก.ล.ต. ดูแลให้ใกล้ชิด พร้อมเตือนนักลงทุนให้ระวังการลงทุน

ในช่วงปี 2564 ถือเป็นช่วงตลาดขาขึ้นหรือ 'กระทิง' ของตลาดคริปโทเคอเรนซี่อย่างชัดเจน โดยในเดือ ม.ค. 2564 ราคา 'บิตคอยน์' ทะยานขึ้นแตะ 1 ล้านบาทต่อบิตคอยน์ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเป็นที่ฮือฮาของคนชาวคริปโท เมื่อในเดือน ต.ค.2564 ราคา 'บิทคอยน์' ทะยานขึ้ แตะ 67,000 ดอลลาร์หรือมีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านบาทต่อบิตคอยน์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์

ส่งผลให้ในช่วงปี 2564 ต่อเนื่องในปี 2565 มีนักลงทุนหน้าใหม่จำนวนมากมายต่างพากันตบเท้าเข้าลงทุนใตลาดคริปโท รวมถึงบริษัทจดทะเทียน(บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกหลายแห่งที่ประกาศแผนจะเข้ามาลุยลงทุนในตลาดคริปโทหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีหลายปัจจัยมากดดันภาพการลงทุนทำให้ตลาดคริปโทกลับทิศทางกลายเป็นขาลง จนมีทำให้ บจ.ที่ลงทุนไปแล้วขาดทุนไปก็มีหรือต้องชะลอหรืออาจพับแผนการลงทุนไปเลยก็มี 

ปอศ. ส่งข้อมูลอย่างน้อย 10 บจ.อาจเข้าข่ายปั่นหุ้นให้ ก.ล.ต.ตรวจสอบ

 ปอศ.ตรวจสอบ บจ.ลงทุนเหมืองคริปโทใช้ปั่น

ล่าสุด กองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(ปอศ.) โดย พล.ต.ต.พุฒิเดช  บุญกระพือ ผู้บังคับการ ปอศ. ออกมาให้ข้อมูลว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้เข้าดำเนินการตรวจสอบบริษัทที่จดทะเบียน(บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ประกอบกิจการเหมืองขุดเงินดิจิทัล หลังพบเห็นความผิดปกติในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

โดยพบว่ามีอย่างน้อย 10 บริษัท ที่มีการเผยแพร่ข่าวสารหรือการให้ข้อมูลต่อประชาชนผ่านสำนักข่าวต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาของหลักทรัพย์อย่างผิดปกติจากสภาพของตลาด หรือเป็นการ “ปั่นหุ้น” ทั้งในทางราคาขึ้น ราคาลง หรือราคาคงตัว โดยไม่ปรากฏการพัฒนาที่สำคัญของบริษัทจดทะเบียนแต่อย่างใด


“การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ หากบริษัทจดทะเบียนฝ่าฝืนข้อบัญญัติของกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
และตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

โดยทาง บก.ปอศ. ได้ประสานงานส่งข้อมูลทั้ง 10 บริษัทให้กับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการสืบสวน และตรวจสอบการกระทำผิดกรณีดังกล่าวแล้ว หากพบว่าเป็นความผิดตามที่ ปอศ. ตรวจสอบพบ ก.ล.ต. ก็สามารถเข้าร้องทุกข์กับตำรวจ เพื่อจัดการกับบริษัทที่อาจจะเรียกได้ว่า “เหมืองทิพย์” หรือไม่มีการทำเหมืองจริงตามที่กล่าวอ้าง นี้ได้ทันที”

ขณะที่ก่อนหน้านี้ในช่วงปีที่ผ่านมา กระแสการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก มูลค่าการซื้อขายต่อวันสูงหลักหลายร้อยล้านบาท พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จีงสั่งการให้ดำเนินการตรวจสอบ จนพบว่าเกิดการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล อาทิ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ต้องได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 

พล.ต.ต.พุฒิเดช กล่าวด้วยว่า ต่อมาตนจึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.จักรกริช  เสริบุตร ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผกก.3 บก.ปอศ.) และ พ.ต.ท.ชวลิต น้ำใจสัตย์ สารวัตร กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (สว.กก.3 บก.ปอศ) ตรวจสอบในเชิงลึก พบอีกว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นหลายบริษัทได้ประกาศแผนการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เบื้องต้นพบว่ามีจำนวนประมาณ 25 บริษัท


พบ บจ.ลงทุนซื้อ 'เครื่องขุดคริปโท' แต่กลับไม่มีรายได้เข้ามา

ส่ง ก.ล.ต.ตรวจสอบ 10 บจ.เข้าข่ายปั่นหุ้น

โดยมีรูปแบบแผนธุรกิจแตกต่างกันในรายละเอียด รูปแบบส่วนใหญ่ คือ การลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์ (Bitcoin Mining) โดย บจ. ต่างๆ ได้ทยอยจัดซื้อเครื่องขุดสกุลเงินดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) และอาจจะเป็นกระแสที่กระตุ้นราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นทำการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งที่ในทางตรงกันข้าม นับตั้งแต่ต้นปี 2564 ถึงปัจจุบัน ยังไม่มีบริษัทจดทะเบียนใด มีรายได้จากการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม.

“ในกรณีเมื่อพบว่าเป็นการกระทำความผิดว่าปั่นหุ้น หรือไม่มีเหมืองขุดเงินดิจิทัลอยู่จริงตามที่บริษัทโฆษณาไว้ ก็อาจจะมีผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนและสังคม ทาง บก.ปอศ. และ ก.ล.ต. จึงมีการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อกัน โดยการร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงาน จะทำให้กระบวนการสืบสวนและตรวจสอบมีความรวดเร็วและลดขั้นตอนของกระบวนการสืบหาพยานหลักฐาน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายในตลาดทุนมีประสิทธิภาพและเห็นผลอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดกับนักลงทุนในตลาดทุนโดยรวม” ผบก.ปอศ กล่าว


ขณะที่ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้(22 ส.ค.) มีรายงานว่า ขณะนี้ชุดสืบสวน ปอศ. อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งอาจจะต้องเชิญบางบริษัทมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็น ตรวจสอบเอกสารแผนดำเนินการการลงทุน และอยู่ระหว่างประสานข้อมูล ก.ล.ต. หากพบว่ามีความผิดทาง ก.ล.ต. จะต้องร้องทุกข์กล่าวโทษ เพราะถือว่า การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ หากบริษัทจดทะเบียนฝ่าฝืนข้อบัญญัติของกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และตาม พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 

รมว.คลัง กำชับ ก.ล.ต. ดูแลให้ใกล้ชิด เตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังการลงทุน

คลัง สั่ง ก.ล.ต.ตรวจ 10 บจ.ปั่นหุ้น

อย่างไรก็ดีเบื้องต้นความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น ทั้งในลักษณะของตัวเงินและตัวผู้เสียหายไม่มี และเรียกตัวแทนมาชี้แจงว่าทำธุรกิจในลักษณะใด ได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดได้รับอนุญาตจาก กลต. ส่วนรายชื่อของ บจ. ยังเปิดไม่ได้ เพราะความผิดไม่เกิด และยังไม่มีผู้เสียหายมาร้อง

โดยมีรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เน้นย้ำกำชับให้ ทาง ก.ล.ต.กำชับให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรจะต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน รวมทั้งใช้ความระมัดระวัง หากถูกชักชวนให้ลงทุนโดยอ้างว่าสามารถให้ผลตอบแทนในระดับที่สูง และควรตรวจสอบว่าผู้ที่ชักชวนเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ซึ่งผู้ที่ระดมทุนโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และผู้ที่ชักชวนให้ลงทุนในหลักทรัพย์จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.

advertisement

SPOTLIGHT