สินทรัพย์ดิจิทัล

ก.ล.ต. จะออกกฎคุม DeFi ชี้เป็นธุรกรรมเสี่ยงหลายด้าน ไม่สนับสนุนธุรกิจนี้

17 ส.ค. 65
ก.ล.ต. จะออกกฎคุม DeFi ชี้เป็นธุรกรรมเสี่ยงหลายด้าน ไม่สนับสนุนธุรกิจนี้
ไฮไลท์ Highlight

-ก.ล.ต.อยู่ระหว่างหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกกฎคุม DeFi เหตุไม่ต้องการสนับสนุนธุรกิจนี้

-ก.ล.ต. ออกประกาศเตือนนัลงทุนให้ระวังการลงทุนใน DeFi เพราะไม่ได้อในกำกับดูแล แถมมีความเสี่ยงโดน 'ฉ้อโกง'

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาระบุว่า ก.ล.ต. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่สนับสนุนธุรกรรมลักษณะการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝาก (deposit taking & lending) เช่น นำไปให้ยืม หรือนำไปลงทุนต่อ ซึ่งเป็นทั้งในรูปแบบการทำธุรกรรมเกี่ยวกับบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Finance: DeFi) หรือ centralized finance

 

ดังนั้นปัจจุบัน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสมต่อไป

 

 

เตือนนักลงทุนลงทุนระวัง DeFi ยังไม่ได้ถูก กลต.คุม-มีความเสี่ยงหลายด้าน

ก.ล.ต.เตรียมออกกฎคุม DeFi

 

ก.ล.ต. ได้ประกาศออกคำเตือนให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังในการทำธุรกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับ DeFi ด้วยเหตุผลเพราะอะไรนั้น ก.ล.ต. ได้มีคำอธิบายชี้แจง ดังนี้่

  • DeFi ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลของไทย แต่ปัจจุบันการให้บริการและการเข้าไปลงทุนใน DeFi ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
  • โดยเฉพาะ DeFi ทีมีรูปแบบการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝาก (deposit taking & lending) เช่น นำไปให้ยืม หรือนำไปลงทุนต่อ โดยให้ผลตอบแทนสูงเพื่อจูงใจผู้ซื้อขายให้เข้ามาทำธุรกรรม

 

การทำธุรกรรม DeFi มีความเสี่ยงหลายด้านอีกด้วย 

  • ตัวผลิตภัณฑ์และบริการ ที่มีความซับซ้อน ความเสี่ยงจากการให้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลเกินกว่ามูลค่าหลักประกัน (overleverage)
  • มีความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอาจได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ หรือถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการ
  • มีความเสี่ยงด้านเทคนิคและความปลอดภัย ทั้งข้อกำหนด เงื่อนไข และฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ ที่อาจมีช่องโหว่ ตลอดจนการถูกหลอกลวง ฉ้อโกง เช่น การ Rug Pull เป็นต้น

 

รู้จัก DeFi คืออะไร?

defi4

 

หากอธิบาย ให้เข้าใจแบบง่าย DeFi(Decentralized Finance) คือการเปลี่ยนตัวเองให้เป็นสถาบันการเงินแบบเปิด เป็นระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลางมาคอยควบคุม โดยการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้สำหรับรองรับสกุลเงินแบบ Cryptocurrency สำหรับ DeFi จะถูกสร้างบนระบบนิเวศน์ของ Ethereum ถึงแม้จะไม่มีตัวกลางมาคอยควบคุม แต่ทุกธุรกรรมจะต้องดำเนินการผ่าน Smart Contract หรือสัญญาซื้อขายเงินดิจิทัล ข้อดีการใช้ Smart Contract คือ ไม่ว่าใครก็จะไม่สามารถแก้ไข หรือปลอมแปลงข้อมูลในธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้

 

ทำให้ระบบ DeFi มีความโปร่งใสเพราะไม่ว่าใครก็สามารถเข้าตรวจสอบผ่าน Smart Contract ได้ทุกเวลา และอีกหนึ่งสิ่งหากเราจะเข้าไปใช้งานระบบ DeFi เราควรจะต้องมี กระเป๋าเงิน ที่ใช้สำหรับเก็บเหรียญ Cryptocurrency ตอนนี้ก็มีหลากหลายผู้ให้บริการ แต่อาจต้องจ่ายค่าทำธุรกรรม หรือที่หลายคนรู้จักก็คือจ่ายค่า Gas ขึ้นอยู่กับว่า DeFi ของเราต้องให้เหรียญสกุลใดเป็นค่าธุรกรรม

 

ทำไม DeFi ถึงกำเนิดขึ้นมา แค่การซื้อ-ขาย Cryptocurrency เพียงอย่างเดียวยังไม่พออีกหรืออย่างไร เพราะ DeFi ต้องการสร้างระบบการเงินที่เปิดกว้างให้ทุก ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเงิน และเกิดความโปร่งใสที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถโกงธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบของ DeFi ได้นั่นเอง

advertisement

SPOTLIGHT