ธุรกิจการตลาด

เเนวโน้มธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

15 มี.ค. 67
เเนวโน้มธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

ปี 2567 ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ไทยเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะหดตัวลง 15% สาเหตุหลักมาจากยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัว โดยเฉพาะรถปิกอัพและรถยนต์นั่งใช้น้ำมัน

เเนวโน้มธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

เเนวโน้มธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

จากรายงานของ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ปี 2567 ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ไทยเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะหดตัวลง 15% สาเหตุหลักมาจากยอดขายรถยนต์ที่ชะลอตัว โดยเฉพาะรถปิกอัพและรถยนต์นั่งใช้น้ำมัน

เเนวโน้มธุรกิจธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

สำหรับรถปิกอัพ ซึ่งเคยเป็นตลาดหลักของดีลเลอร์ คาดว่าจะมียอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วน รถยนต์นั่งใช้น้ำมัน เผชิญแรงกดดันจาก รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น ดีลเลอร์รายเล็ก มีโอกาสได้รับผลกระทบหนักกว่ารายใหญ่ กลยุทธ์สำคัญเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ คือ การเพิ่มรายได้จาก ธุรกิจซ่อมบำรุง และ การหันมาจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า รายได้หลัก ของดีลเลอร์รถยนต์กว่า 90% มาจาก การขายรถยนต์ รายได้เสริมจาก ธุรกิจซ่อมบำรุง อยู่ที่ราว 10% เท่านั้น

เเนวโน้มธุรกิจธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

ทิศทางยอดขายรถยนต์ในประเทศ มีผลต่อ รายได้รวม ของธุรกิจดีลเลอร์โดยตรง ปีนี้ คาดการณ์ว่ายอดขายจะหดตัว บวกกับ กลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ของค่ายรถ ส่งผลให้ดีลเลอร์มีโอกาสทำรายได้จากการขายรถลดลง แม้จะมี การเร่ง เพิ่มรายได้จากธุรกิจซ่อมบำรุง แต่ รายได้รวม ของดีลเลอร์รถยนต์ปี 2567 ยังมีแนวโน้ม หดตัวลง 15% สาเหตุหลัก ของยอดขายรถยนต์ที่หดตัว มาจาก รถปิกอัพ ที่ขายได้น้อยลงต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าสัดส่วนยอดขายรถปิกอัพในปีนี้จะเหลือเพียง 31% ของยอดขายรถยนต์รวมในประเทศ ปรับลงจาก 46% ในปี 2565


ตลาดรถยนต์ไทยปี 2567 เผชิญมรสุมซัดยอดขายหดตัว

เเนวโน้มธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

ปี 2567 ตลาดรถยนต์ไทยเผชิญอุปสรรคหลายประการ ฉุดรั้งการเติบโต โดยเฉพาะ ตลาดรถปิกอัพ ที่มีแนวโน้มหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลักมาจาก การปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นของธนาคาร ตามนโยบาย Responsible Lending ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งผลต่อกลุ่มลูกค้าหลักของรถปิกอัพอย่าง เกษตรกร และ ธุรกิจ SME ที่มีรายได้ไม่แน่นอน

เเนวโน้มธุรกิจธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

ด้านตลาดรถยนต์นั่ง แม้จะหดตัวเล็กน้อย แต่ดีลเลอร์ต้องเผชิญความท้าทายจาก การขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) คาดการณ์ว่าสัดส่วนยอดขาย BEV ในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นเป็น 27% จาก 4% ในปี 2565 ส่งผลต่อ รายได้หลักจากการขายรถยนต์ ของดีลเลอร์ที่ขายรถยนต์นั่งใช้น้ำมัน เพราะดีลเลอร์รถยนต์ใช้น้ำมัน ได้รับผลกระทบหนักสุด โดยเฉพาะ ดีลเลอร์ค่ายรถที่มี Market Share ต่ำ คาดการณ์ว่ายอดจดทะเบียนรถใหม่จะลดลง 30% เทียบกับ 14% ของกลุ่มค่ายรถ Market Share สูง

เเนวโน้มธุรกิจธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ปี 2567 เผชิญมรสุมยอดขายหดตัว 15%

ด้านรายได้เสริมจากการซ่อมบำรุงจะมีแนวโน้มลดลง เพราะโดยปกติ ดีลเลอร์รถยนต์หากต้องการเพิ่มรายได้จะไปลุยกับเอาจากการซ่อมบำรุง เป็นแนวทางหลักที่ดีลเลอร์เลือกใช้ประคองรายได้รวม แต่ในอนาคต จำนวนรถยนต์ใช้น้ำมันที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในศูนย์ซ่อมบำรุงมีแนวโน้มลดลง อีกสาเหตุเพราะการซ่อมบำรุงรถยนต์ BEV แม้จะมีจำนวนรถเพิ่มขึ้น แต่การเข้าใช้บริการซ่อมบำรุงน้อยลง ส่งผลต่อ รายได้เสริม ของดีลเลอร์


สำหรับปี 2567 เป็นปีแห่งความท้าทายสำหรับธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ ดีลเลอร์จำเป็นต้องปรับตัวและหาทางออกใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับปัจจัยลบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ดีลเลอร์ควรปรับตัวสู่การลงทุนทำดีลเลอร์รถยนต์ BEV มากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ดังนั้นอนาคตของธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์ต่อจากนี้ไป การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น ดีลเลอร์ที่ปรับตัวได้เร็ว จะสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ ดีลเลอร์ที่ไม่ปรับตัว อาจจะต้องปิดกิจการ

ที่มา  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 

advertisement

SPOTLIGHT