ธุรกิจการตลาด

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทย ดาวรุ่งส่งออกไปเกาหลี กลุ่มรสชาติเผ็ด จัดจ้าน

10 เม.ย. 66
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทย  ดาวรุ่งส่งออกไปเกาหลี กลุ่มรสชาติเผ็ด จัดจ้าน
ไฮไลท์ Highlight
มูลค่าการนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีใต้ในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 1.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายเพิ่มขึ้นถึง  57.1% แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย นำเข้าอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากจีน และ ญี่ปุ่น

แม้ว่าเกาหลีใต้จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากอันดับต้นๆของโลก และน่าจะผลิตได้เองภายในประเทศ แต่ก็พบว่าการที่คนเกาหลีใต้นิยมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาก ทำให้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศด้วยเช่น จีน และญี่ปุ่น โดยทางกระทรวงพาณิชย์ของไทยออกมาชี้เป้าว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประเภทรสชาติจัดจ้านจากประเทศไทย เช่น รส“ต้มยำ-ผัดไทย-ปูผัดผงกะหรี่” กำลังมีโอกาสส่งออกไปเกาหลีใต้ได้ไม่ยาก

มูลค่าการนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีใต้ในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 1.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายเพิ่มขึ้นถึง  57.1% แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย นำเข้าอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากจีน และ ญี่ปุ่น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  บอกว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยที่มีโอกาสในการขยายตลาดเกาหลี ทูตพาณิชย์ได้ให้ข้อมูลว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้สูง โดยเฉพาะรสชาติเผ็ดและรสชาติของอาหารไทย เช่น รสต้มยำกุ้งหรือผัดไทย หรืออาจจะพัฒนารสชาติใหม่ๆที่น่าจะเป็นที่นิยมในตลาดเกาหลี เช่น ปูผัดผงกะหรี่เนื่องจากจะเป็นจุดเด่นและสร้างความแตกต่างในตลาดเกาหลีได้เป็นอย่างดี และในการผลิตควรเพิ่มปริมาณในซองให้มากขึ้น เพราะชาวเกาหลีบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารไม่ใช่แค่อาหารว่าง

ปัจจุบันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย สามารถเจาะเข้าสู่ตลาดได้แล้ว โดยสามารถหาซื้อได้ตามไฮเปอร์มาร์เก็ตของเกาหลี โดยมีสินค้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเส้นหมี่ขาว ในรูปแบบซองและรูปแบบถ้วย โดยมีการเติบโตอย่างมาก แต่ปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก

นอกจากนี้เทรนด์การสนใจในสุขภาพเพิ่มขึ้นผู้บริโภคชาวเกาหลีจำนวนมากเลือกที่จะบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ลดโซเดียมและเลือกบะหมี่ชนิดที่ไม่ผ่านการทอด (Non-fried) ผู้ประกอบการไทยจึงอาจจะผลิตและส่งออกสินค้าบะหมี่เพื่อสุขภาพ และติดตามกระแสความนิยมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด

ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายผ่านไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ดังนั้น การร่วมมือทางธุรกิจกับผู้นำเข้าที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ที่ต้องการทำตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเกาหลีต้องให้ความสำคัญ

ปีที่ผ่านมา The World Instant Noodles Association (WINA) มีการเปิดเผยผลการสำรวจการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปครั้งที่ 30 ปี 2021 พบว่า เวียดนาม เป็นประเทศที่มีการบริโภคบะหมี่ต่อคนสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ 87 ซองต่อคนต่อปี แซงแชมป์เก่าอย่างเกาหลีใต้ ที่เคยครองอันดับ1มายาวนาน โดยการบริโภคบะหมี่ของคนเกาหลีใต้อยู่ที่ 73 ซองต่อคนต่อปี ส่วนอันดับที่ 3 คือ เนปาล 55 ซองต่อคนต่อปี

advertisement

SPOTLIGHT