ธุรกิจการตลาด

เหลือใคร? ในสังเวียน E-Marketplace ประเทศไทย

31 ม.ค. 66
เหลือใคร? ในสังเวียน E-Marketplace ประเทศไทย

เมื่อ JD CENTRAL ประกาศยุติการให้บริการในประเทศไทย จะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 หลังจากปีที่ผ่านมามีกระแสข่าวออกมาต่อเนื่องว่า ต้องประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องและเตรียมทิ้งตลาดในประเทศไทยและอินโดนีเซีย 

เจดี เซ็นทรัล เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดจากการผนึกกำลังกันของบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และเจดีดอทคอม จากประเทศจีน เปิดดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2560 ถือเป็นรายใหญ่ รายหนึ่งที่โดดเข้ามาแข่งกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Lazada และ Shopee 

ต่อจากนี้ จะเหลือเพียง Lazada และ Shopee ที่เป็น 2 เจ้าใหญ่ ที่เหมือนเป็นเจ้าตลาดที่จะมีอำนาจเหนือตลาด ทำให้มีข้อสังเกตจากกูรูแวดวงอีคอมเมิร์ซที่กังวลการมีอำนาจเหนือตลาด การผูกขาด ขณะที่จำนวนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทีม Spotlight ได้นำเสนอข้อมูลมาให้ดูว่า ขณะนี้ตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คู่แข่งมีอะไรบ้าง 

artboard1copy2_1

เริ่มจาก Shopee รวมทั้งบริษัทในกลุ่ม SEA (ประเทศไทย) อยู่ภายใต้บริษัท SEA สัญชาติสิงคโปร์ ปี 2564 พบว่า มีรายได้รวมปี 2564 อยู่ที่ 43,283 ล้านบาท ขาดทุน 5,908 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์ของบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ที่ 6,766 ล้านบาท 

โดยมีบริษัทในกลุ่ม SEA (ประเทศไทย) ทั้งหมด 9 บริษัทด้วยกัน ได้แก่ บริษัท ช้อปปี้ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ช้อปปี้เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอสคอมเมิร์ซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีมันนี่ (แคปปิตอล) จำกัด บริษัท ยูนิคอร์น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอินชัวร์ โบรคเกอร์ จำกัด และบริษัท ช้อปปี้ฟู้ด จำกัด ซึ่งตัวเลขผลประกอบการของทั้ง 9 บริษัทนี้ 

ทั้งนี้ มีเพียง 3 บริษัทที่สามารถทำกำไรได้ คือ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ให้บริการเกมส์ออนไลน์บนเว็บไซต์ มีกำไรในปี 2564 กว่า 30 ล้านบาท และบริษัท ช้อปปี้เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจผ่านระบบสื่อสารไร้สาย มีกำไรในปี 2564 กว่า 153 ล้านบาท และบริษัท ช้อปปี้ฟู้ด จำกัด ผู้บริหารด้านอาหารอื่นๆ มีกำไร 274,527 บาท

s__18071616

ขณะที่ Lazada Group ภายใต้กลุ่มอาลีบาบา พบว่า ปี 2564 มีรายได้รวม 38,834 ล้านบาท มีกำไร 3,244 ล้านบาท ส่วนสินทรัพย์ปี 2564 ของบริษัท ลาซาด้า จำกัด อยู่ที่ 6,617 ล้านบาท โดยมีทั้งหมด 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท ลาซาด้า จำกัด บริษัท ลาซาด้า โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส จำกัด บริษัท ลาซาด้า อี-สมาร์ท ฮับ(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด เป็นผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่ยังมีตัวเลขขาดทุนในปี 2564

เมื่อเทียบกันทั้ง 2 บริษัท จะพบว่า ขนาดสินทรัพย์ของ Shopee มีขนาดที่ใหญ่ว่า Lazada แต่ผลประกอบการ ยังขาดทุนอยู่ ซึ่งเชื่อว่าต้องมีการปรับกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น 

ทั้งนี้ ปลายปีที่ผ่านมา Lazada ขอปรับอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส (Marketplace Service Fee) เป็น 2% จาก 1% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้กับ Lazada

s__18071609

ด้านนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้กล่าวกับ “Spotlight” ว่า “ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ เชื่อว่าทุกเจ้าจะเข้าสู่การทำกำไร และทำทุกวิถีทางที่จะให้มีกำไร ภาวะการแข่งขัน e-MarketPlace เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร้านค้ากำไรน้อยลง และจะเข้าสู่ภาวะการผูดขาดของ “ค้าปลีก” ประเทศไทย” 

เเนวโน้มของ e-Commerce ไทยในปี 2566 จะมีความเปลี่ยนเเปลงทั้งในด้านเเพลตฟอร์มการให้บริการ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสใหม่ๆ ซึ่งคนทำธุรกิจต้องเตรียมแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัลเอาไว้ 

โดยสรุป Thailand E-Commerce Trend 2023 ออกมาเป็นเทรนด์ 12 ข้อ ดังนี้

  1. มูลค่าการค้าออนไลน์ดีดกลับอีกครั้ง และคาดว่าตัวเลขจะเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกำลังกลับมา
  2. สงคราม e-Marketplace กำลังจะจบลงแล้ว จะเริ่มเข้าโหมดเน้นการเติบโต เนื่องจากเจ้าใหญ่อย่าง Shopee ยังมีตัวเลขขาดทุน
  3. สินค้าจีนบุกไทยเต็มสูบ 
  4. On-Demand Commerce สงครามการค้าออนไลน์รูปแบบใหม่กำลังก่อตัว มาในลักษณะPlatform จัดส่งอาหาร หรือ Food Delivery จะต้องเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริการที่มากกว่าอาหาร หรือที่เรียกว่า Beyond Food ปัจจุบันผู้ให้บริการหลายรายมีการแข่งขันมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา จากธุรกิจจัดส่งอาหาร หรือการเรียกรถ ก็จะมีบริการอื่นเช่น Grab Mart, Grab Home เห็นได้ว่ามีการขยายฐานบริการ e-Commerce โดยเฉพาะ Grab
  5. การบุกของ DFS (Digital Financial Service) คือ ผู้ให้บริการการเงินทางออนไลน์ ที่มิใช่ธนาคาร หรือที่เรียกว่า Non bank เช่น ผู้ให้บริการรับชำระเงิน, ผุ้ให้บริการกู้เงินทางออนไลน์, ผู้ให้บริการประกันออนไลน์, ผู้ให้บริการดูแลความมั่งคั่ง ดูแลสินทรัพย์ออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินออนไลน์ หรือโอนเงินข้ามแดน
  6. สงคราม Short Video Commerce ที่กำลังดุเดือดมากในปัจจุบัน ทั้ง Tiktok, Youtube, Facebook เเละ Instagram ที่กระโดดลงมาเเข่งขัน หรือแม้แต่ผู้ให้บริการอย่าง Line ก็ลงมาเเข่งในสนาม Video เช่นกัน ซึ่งโฆษณาออนไลน์ที่มีทางเลือกมากขึ้น Facebook ได้ผลน้อยลง
  7. โฆษณาออนไลน์มีทางเลือกมากขึ้น Facebook ได้ผลน้อยลง โดยหลายปีที่ผ่านมา Facebook Ads เป็นทางเลือกอันดับแรกของการโฆษณา แต่ตอนนี้ผู้โฆษณาหันไปทางเลือกอื่นเพิ่มมากขึ้น เพราะการโฆษณาผ่าน Facebook แล้วได้ผลลัพธ์ลดลง ขณะที่คู่แข่งอย่าง Tiktok พัฒนารูปแบบการโฆษณาจนได้ผลลัพธ์ที่ดี และแนวโน้มหันไปใช้ TikTok มากขึ้น
  8. Affiliate Marketing การตลาดผ่านการบอกต่อ กำลังเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโต เพราะคนที่เป็น Influencer เริ่มมีฐานลูกค้าเป็นของตัวเองมากขึ้นผ่าน Social Media เครื่องมือที่ทำให้เรามีความสามารถบอกต่อสินค้าไปยังกลุ่มเพื่อนๆ ได้ และเราเองยังสามารถได้ส่วนเเบ่งกำไรจากการที่สินค้าเหล่านั้นมีการขายได้เมื่อเพื่อนๆ กดสั่งซื้อ 
  9. MarErce เมื่อ MarTech ผสานเข้ากับ E-Commerce คือ รูปเเบบการทำธุรกิจดิจิทัลที่อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ผสานเข้ากับมาร์เทค (MarTech) เรียกว่า มาร์เอิร์ซ จากเมื่อก่อนคนทำการตลาด (Marketing) จะเน้นเรื่องการตลาด และคนค้าขายออนไลน์ (e-Commerce) ก็เน้นเรื่องการขาย แต่หลังจากนี้จะไม่ใช้วิธีการเเบบเดิมอีกต่อไป 
  10. การแข่งขัน E-Commerce ของ Platform ยักษ์ใหญ่ อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้ง Facebook, Line, Tiktok ทุกรายเริ่มมีแพลตฟอร์มที่รองรับเเละส่งเสริม e-Commerce มากขึ้น ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระโดดข้ามไปใช้บริการของคู่แข่ง เช่น Facebook : Facebook Shop, Facebook Live, Facebook Marketplace, Facebook Messenger, Line : Line Chat, Line OA, Line Shop, Line Pay ฝั่ง Tiktok : Tiktok Video, Tiktok Ads, Tiktok Shop ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้เกิด e-Commerce บนแพลตฟอร์มใหญ่เพิ่มมากขึ้น
  11. การขาดดุลดิจิทัลของไทย กรมสรรพากรออกกฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 จากข้อมูลล่าสุด มีผู้ให้บริการต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนเเล้วจำนวน 127 ราย ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บสะสม 6 เดือน (ต.ค. 2564 – มี.ค. 2565) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,200 กว่าล้านบาท และคาดการณ์ว่า กรมสรรพากรอาจเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มต่างชาติได้เกือบหมื่นล้านบาท และมูลค่าซื้อขายสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย มีโอกาสสูงเกือบ 2 แสนล้านบาท จึงต้องมาดูว่าจะมีตัวเลขขาดดุกลารค้าดิจิทัลหรือไม่ อย่างไร
  12. D2C จะฆ่าตัวกลางทางการค้า หรือการขยายตรงไปยังผู้บริโภค ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่น เพราะคนรุ่นใหม่หันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม รู้หรือไม่!! ว่า มีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของไทยรายหนึ่ง ที่เริ่มเข้ามาบุกตลาดนี้ เขาเป็นใคร รายได้เท่าไหร่ มาดูกันนะคะ

s__18071620

Shopat24.com ของบริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ม้ามืด มาเงียบๆ แต่ไม่ขาดทุน ผู้ถือหุ้น คือ ซีพี ออลล์ 100% ในปี 2564 มีรายได้รวม 11,852 ล้านบาท มีกำไร 428 ล้านบาท และสินทรัพย์ 3,929 ล้านบาท เริ่มได้เข้ามาเป็นผู้เล่นในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากขึ้น เป็นอีกบริษัทที่น่าจับตามอง..น่าจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญอีกรายในตลาดนี้

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT