พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย และ นางมาระตี นะลิตา อันดาโม รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงผลการประชุมศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ ศบ.ทก. ประจำวันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 2568
โดย พล.ร.ต.สุรสันต์ กล่าวชี้แจงกรณี สถานการณ์ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และในฐานะ ผอ.ศบ.ทก. ได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี เยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บ เหยียบกับระเบิดขณะปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนพื้นที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี โดยทหารทั้ง 3 นาย อยู่ในสภาวะขวัญและกำลังใจที่ดีเยี่ยม ปัจจุบันได้ดูแลอย่างใกล้ชิดจากคณะแพทย์ เป็นไปตามมาตรฐาน และทันท่วงทีจนอาการทั้ง 3 นายอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย
สำหรับพลทหารที่เหยียบกับระเบิดจนทำให้ขาด้านซ้ายขาด กองทัพภาคที่ 2 ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือสวัสดิการให้กับกำลังพลอย่างเต็มที่ โดยมีการปูนบำเหน็จเลื่อนขั้นจากพลทหารเป็นสิบเอก หลังจากรักษาตัวเสร็จด้วยเหตุสูญเสียจากการรบ นอกจากนี้ได้รับบำเหน็จเดือนละ 15,600 บาท หากรวมเงินรายเดือนจากหน่วยงานต่างๆ คาดว่าจะได้รับเงินจำนวนถึง 29,800 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ยังได้รับเงินก้อนจากหน่วยงานองค์กรต่างๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้านบาทเศษ ซึ่งทางราชการเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ที่กำลังพลได้ปฏิบัติช่วยเหลือทางราชการ มองเห็นการบรรจุทายาททดแทน ซึ่งทางพี่สาวเขากำลังพลดังกล่าวประสมที่จะรับราชการก็จะมีการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้รับเหรียญพิทักษ์เสรีชนประเภท 2 ชั้น 1 และบัตรทหารผ่านศึกชั้นที่ 3 ที่จะมีสิทธิลดค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเดินทางตลอดชีวิตของกำลังพล
ขณะเดียวกันหน่วยทุ่นระเบิด กองทัพบก ส่งหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อเก็บหลักฐานนำมาวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดอย่างละเอียดซึ่งคาดการณ์ว่าจะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ชัดเจนในเรื่องของชนิดและห้วงเวลาที่มีการวางทุ่นระเบิด ว่าจะเป็นการวางทุ่นระเบิดขึ้นมาใหม่หรือเป็นของเดิม ซึ่งหากเป็นการวางทุ่นระเบิดใหม่ ถือว่าเป็นการละเมิดต่ออนุสัญญา
ออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้และเก็บสะสมทุ่นระเบิดสังหารบุคคล เพราะไทยและกัมพูชา เป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 พร้อมเน้นย้ำว่าทางรัฐบาลไทย ถ้ามีการตรวจพบว่าเป็นทุ่นระเบิดที่มีการวางใหม่ ฝ่ายไทยจะไม่เพิกเฉย
นอกจากนั้นหากมีการพบว่ามีการรุกล้ำอธิปไตยของไทยทางเราจะมีการดำเนินการโต้ตอบอย่างชัดเจน พร้อมขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าเราไม่ได้นิ่งนอนใจถึงสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นทางฝ่ายไทยได้ยึดมั่นในการใช้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหลักการที่เรายึดมั่นมาโดยตลอด ในการยึดถือปฏิบัติตามหลักสากลโดยข้อมูลต่างๆเหล่านี้จะนำไปสู่การปฏิบัติของฝ่ายไทยต่อไป
ส่วนกรณีที่หญิงชาวกัมพูชาตะโกนใส่ทหารไทย ที่ปราสาทตาเมือนธม วันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา ทางฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ประชุมหารือเมื่อวันที่ 16 ก.ค. เพื่อร่วมกำหนดมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ซ้ำซ้อน โดยทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุป หากมีปัญหาจากนักท่องเที่ยวเกิดขึ้น ขอให้ชุดประสานประสาทของฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการของนักท่องเที่ยวประเทศนั้น และหากมีปัญหาในพื้นที่ให้ชุดประสานงานปราสาทที่มีอยู่ฝ่ายละ 7 คนแก้ไขปัญหาให้ชุดประสาน เป็นผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องเรียกกำลังชุดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเผชิญหน้าจากทั้งสองฝ่าย พร้อมขอให้ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการคัดกรองนักท่องเที่ยวของแต่ละฝ่ายก่อนขึ้นมาท่องเที่ยวบริเวณปราสาทอย่าเข้มข้น ซึ่งก็น่าจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยวขึ้นมาได้เนื่องจากจะมีการตรวจสอบ อย่างเข้มข้นมากขึ้น
ด้านนางมาระตี กล่าวว่า สถานการณ์ในจุดผ่านแดนและครอบครัวมีความเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไทยยังคงมาตรการเดิมไม่ติดด่านแต่เพิ่มมาตรการควบคุมการผ่านแดนให้เข้มข้น พร้อมขอกัมพูชาประสานเวลาเปิด-ปิดด่าน เพื่อลดผลกระทบกับประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ที่ต้องการผ่านข้ามแดน และเพื่อประโยชน์ของความร่วมมือต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกัน
ขณะเดียวกันทาง กระทรวงการต่างประเทศ ขอแสดงความเสียใจ กับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี และในระหว่างที่กองทัพบกกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นของเก่าหรือของใหม่ กระทรวงการต่างประเทศไม่ได้นิ่งนอนใจ และเมื่อรับทราบ ผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ จากรายการในพื้นที่แล้วจะดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งปัจจุบันทั้งไทยและกัมพูชาเป็นภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ซึ่งในข้อบทแรกของอนุสัญญาดังกล่าวชัดเจนว่า ห้ามใช้ ห้ามผลิต ภาคีมีหน้าที่ที่ต้องทำลายคลังทุ่นระเบิดที่มี ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเองเป็นเจ้าภาพ การประชุม ทบทวนอนุสัญญา ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 25 -29 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ดังนั้นหากการตรวจสอบและพบหลักฐานที่เป็นที่ประจักษ์ นอกเหนือจากจะเป็นที่ผิดหวังของรัฐภาคี ที่สำคัญก็จะถือว่า ผิดต่อภาคีอนุสัญญา ใครจะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการประท้วงโดยตรงต่อกัมพูชาและทวิภาคีและมาตรการอื่นๆ ตามความเหมาะสม
โดยเฉพาะหากพบว่า เป็นการละเมิด MOU 2543 และละเมิดอธิปไตย แต่ว่าไทยเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ยืนยัน จุดยืนที่จะเจรจาทวิภาคี เพื่อแก้ไขสถานการณ์ความตึงเครียดในเวลานี้ ผ่านกลไกที่มีอยู่ โดยเฉพาะ JBC RBC และ GBC ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะมีหนังสืออย่างเป็นทางการ ไปถึงฝ่ายกัมพูชา เพื่อประชุม JBC สมัยพิเศษ ที่ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงเดือนกันยายนที่กรุงเทพฯ ตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว
Advertisement