ทุ่นระเบิดและเศษซากระเบิดจากสงครามทั่วโลกยังคงเป็นภัยที่คุกคามชีวิตนับพันทุกปี โดยรายงาน Landmine Monitor 2024 ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Landmines) อย่างน้อย 5,757 คนทั่วโลก
ในจำนวนผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว 1,983 คนเสียชีวิต และ 3,663 คนได้รับบาดเจ็บ ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้รับการบันทึกเท่านั้น และยังไม่รวมถึงอีกหลายกรณีที่ไม่ได้ถูกรายงานอย่างเป็นทางการ
84% ของเหยื่อคือพลเรือน
ในปี 2566 เมียนมากลายเป็นประเทศที่มียอดผู้บาดเจ็บจากทุ่นระเบิดสูงสุด ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และ 84% ของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นพลเรือน โดยมีเด็กมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมดนี้
ตัวเลขเหล่านี้ตอกย้ำให้เห็นว่าทุ่นระเบิดเป็นอาวุธที่ไร้มนุษยธรรม ไม่เลือกเหยื่อ และสร้างความสูญเสียอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกับผู้บริสุทธิ์และเด็ก
58 ประเทศเสี่ยงภัยทุ่นระเบิด
รายงานระบุด้วยว่า อย่างน้อย 58 ประเทศและพื้นที่ทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดและเศษซากระเบิด แม้จะมีความพยายามในการเก็บกู้ โดยในปี 2566 มีพื้นที่ที่ได้รับการเก็บกวาดทุ่นระเบิดรวมกว่า 281.5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่เก็บกวาดได้มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2562
ขณะที่กัมพูชาและโครเอเชียเป็นประเทศที่มีผลงานการเก็บกวาดพื้นที่มากที่สุด รวมกันถึงร้อยละ 75% ของพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกเก็บกวาดในปีที่ผ่านมา
10 ประเทศที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดในปี 2023
1.เมียนมา (Myanmar) : 1,003 คน
2.ซีเรีย (Syria) : 933 คน
3.อัฟกานิสถาน (Afghanistan) : 651 คน
4.ยูเครน (Ukraine) : 580 คน
5.เยเมน (Yemen) : 499 คน
6.ไนจีเรีย (Nigeria) : 343 คน
7.บูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso) : 308 คน
8.มาลี (Mali) : 174 คน
9.เอธิโอเปีย (Ethiopia) : 106 คน
10.อิรัก (Iraq) : 102 คน
ในบรรดา 10 ประเทศนี้ มีเพียง อัฟกานิสถาน ยูเครน และ บูร์กินาฟาโซ เท่านั้นที่เป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญาห้ามใช้ทุ่นระเบิด ขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังไม่ได้เข้าร่วม
ที่มา : https://www.the-monitor.org/reports/landmine-monitor (Landmine Monitor 2024)
Advertisement