เงินดิจิทัล 10,000 บาท กู้ตามงบประมาณปกติ ย้ำให้ใช้อย่างคุ้มค่าเพราะคือภาระของประเทศ

11 เม.ย. 67

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เผยเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นการกู้ตามงบประมาณปกติ ต่างจาก พ.ร.บ.เงินกู้ ย้ำชัดเงินทุกบาทคือภาระประเทศ ขอให้ใช้อย่างคุ้มค่า หมุนเวียน กระจายเป็นวงกว้างจริงๆ

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ นักวิชาการ และอดีตเลขาธิการ ก.ล.ต. ถามตรง ให้สัมภาษณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟประเด็น "เศรษฐาฝ่าแรงปะทะแจก 1 หมื่น" ผ่านรายการ "คลุกวงใน" ถามตรง ถามจริง ทางช่อง อมรินทร์ ทีวี หมายเลข 34 โดยสองตัวพ่อแห่งวงการข่าว ใหม่-อิทธิพันธ์ บัวทอง และ หมู-พัชระ สารพิมพา รับหน้าที่เขย่าลึกทุกประเด็นร้อน

1712827277138

ดร.วรพล เผยถึงประเด็น นายกฯ เศรษฐา ลุยแจกเงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาท โดยมองว่า ทุกปีรัฐบาลจะต้องมีการเสนอ พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดินเข้าสภา ถ้าสภาเห็นชอบก็สามารถไปใช้จ่ายได้ ที่ผ่านมาประเทศไทยบริหารประเทศแบบขาดดุล นั่นคือมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เราเกิดการสะสมหนี้สาธารณะ วิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือการผลักดันเงินเข้าสู่ระบบ สำหรับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นการกู้เงินภายใต้ระบบรายจ่ายของรัฐบาล ต่างจาก พ.ร.บ.เงินกู้ ซึ่งในวินัยการเงินการคลัง การจะออก พ.ร.บ.เงินกู้ ได้ต้องมีภาววะวิกฤติเท่านั้น เพื่อจะขอกู้เงินมาแก้ไขปัญหา ที่มีกฎกติกามากมาย ซึ่งไทยยังไม่เข้าข่ายนี้

1712827307474

อีกส่วนหนึ่งคือใช้กลไกผ่าน ธ.ก.ส. ซึ่งรัฐบาลใช้ พ.ร.บ.มาตรา 28 ภายใต้ 5 มาตรการ คือ ฟื้นฟู กระตุ้น เพิ่ม ช่วยเหลือ และยกระดับ ซึ่งก็อาจจะต้องส่งให้กฤษฎีกาตีความ ซึ่งหากสอดคล้องก็ใช้ได้ แต่ข้อควรระวังคือ โครงการนี้น่าจะช่วยให้เกษตรดีขึ้น แต่ไม่ใช่เอาเงินไปช่วยผู้ประกอบการอื่นก็จะผิดวัตถุประสงค์ ถ้าช่วยเกษตรกรตนคิดว่าอยู่ในข่ายทำได้ ก็ขอตีความให้ชัดเจน เงินทุกบาทเป็นภาระของประเทศ การใช้จ่ายจะต้องคุ้มค่า ทั้งหมดนี้อยู่กติกาที่ตั้งเอาไว้ ก็หวังว่าเงินก้อนนี้หมุนเวียนและกระจายไปวงกว้างจริงๆ

1712827495744

ดร.วรพล เผยว่า เรื่องที่หลายคนห่วงคือปัญหาหนี้สินของประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีรัฐบาลตั้งไว้จากกระทรวงทุกกระทรวงรวมกันผ่านสภาเรียบร้อยว่าจะใช้จ่ายอย่างไร แต่มีการขาดดุลระหว่างรายรับรายจ่ายติดต่อกันมา 10 ปี ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็มีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทุกปี งบประมาณรายจ่าย 100% เป็นค่าใช้จ่ายประจำราว 75% งบชำระหนี้และดอกเบี้ย 5% ที่เหลือเป็นงบลงทุน 20% รายรับของประเทศน้อยต้องแก้ไขตรงนี้ ต้องให้ทุกคนมีความสามารถในการหารายได้ ต้องทำให้คนเก่งขึ้น เราเป็นประเทศที่มีปัญหาคู่แฝดหลายอย่าง เช่น เรามีอุตสาหกรรมเก่าและอุตสาหกรรมใหม่ เรามีคนยากจนและคนรวยที่มีปัญหาเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้ รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตนไม่ห่วงเรื่องหนี้สิน แต่ตนห่วงเรื่องว่าจะหารายได้ยังไงมากกว่า

advertisement

ข่าวยอดนิยม