ฮานาโกะ ช้างไทยที่ต้องตายอย่างโดดเดี่ยวในญี่ปุ่น หลังเยียวยาเด็กกำพร้า

4 ก.ค. 66

ฮานาโกะ ช้างไทยที่ถูกส่งไปญี่ปุ่นเพื่อเยียวยาจิตใจให้กับเด็กหลังสงครามโลก กลับต้องกลายเป็นช้างที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก

พลายศักดิ์สุรินทร์ ชื่อของช้างไทย 1 ใน 3 เชือกที่รัฐบาลไทยมอบให้กับรัฐบาลศรีลังกา เพื่อเป็นทูตสันถวไมตรีเมื่อมกราคม ปี 2544 สำหรับร่วมแห่พระบรมสารีริกธาตุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ไทยจะพากลับมารักษาอาการป่วย หลังถูกให้ร่วมเดินขบวนอย่างหนักถึง 30 ครั้งต่อเดือน และมีการดูแลที่ไม่เหมาะสมจนทำให้ พลายศักดิ์สุรินทร์ มีสภาพร่างกายทรุดโทรมมากกว่าวัยที่ควรจะเป็น

การส่งช้างเพื่อเป็นทูตสันถวไมตรีเคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับแต่นั้นถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวของ "ช้างไทยที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" ทั้งที่ช่วงชีวิตของเธอได้เยียวยาจิตใจให้กับเด็กกำพร้าที่เผชิญกับความสูญเสียจากเหตุแห่งความพ่ายแพ้ในสงครามของญี่ปุ่น

ฮานาโกะ ช้างพังวัยเพียง 2 ปี ซึ่งถือว่ายังเป็นช้างที่เด็กมากเกินที่จะจับแยกกับแม่ให้อยู่ลำพัง ถูกส่งขึ้นเรือจากประเทศไทย โดย ร้อยเอก สมหวัง สารสาส ทายาทของ พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) ต้นตระกูล “สารสาส”  อดีต รมต.กระทรวงเศรษฐการ สมัย รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ไปยัง สวนสัตว์อุเอโนะ กรุงโตเกียว เพื่อเป็นการปลอบโยนเด็ก ๆ ที่ต้องหวาดกลัวกับสงครามครั้งนี้

*ช้างพัง หมายถึง ช้างเพศเมีย

2 กันยายน พ.ศ. 2492  วันที่เดินทางมาถึงท่าเรือเมืองโกเบ ดอกไม้สีทอง ความหมายของชื่อเธอเมื่อแปลจาก ฮานาโกะ (Hanako) แต่เดิมช้างพังตัวนี้มีชื่อเรียกว่า พังคชา และผู้ดูแลชาวญี่ปุ่นเรียกว่า คชาโกะ ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียกฮานาโกะตามที่ทางสวนสัตว์ตั้ง

 

“…ข้าพเจ้าก็แปลกใจมากที่วันนั้นมีเด็กมาชุมนุมกันเกือบแสนคนเพื่อดูช้าง…”

ข้อความจากหนังสือ ธรณีสีเหลือง เขียนโดย ร้อยเอกสมหวัง สารสาส ซึ่งได้บอกถึงบรรยากาศของวันนั้น เมื่อวันที่ ฮานาโกะ ถูกส่งมอบให้กับทางสวนสัตว์

ต่อมาได้ย้าย ฮานาโกะ ไปอยู่ที่สวนสัตว์อิโนะกะชิระ (Inokashira Park Zoo) เมือง Musashino เป็นการถาวร และได้กลายเป็นขวัญใจมหาชน และเป็นสัญลักษณ์ประจำสวนสัตว์อิโนะกะชิระ สวนสัตว์เป็นรูปฮานาโกะ และเมืองมูซะชิโนะ ก็เป็นรูปช้างฮานาโกะ อีกทั้งฮานาโกะยังถูกใช้ในงานรณรงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การป้องกันอัคคีภัย

ฮานาโกะ เสมือนทูตวัฒนธรรมไทยกับญี่ปุ่น ช่วงปี พ.ศ. 2520 ฮานาโกะ มีบ้านที่ค่อนข้างสะดวกสบาย เป็นโรงช้างพื้นที่ 260 ตารางเมตร มีพื้นที่หลบแดด และมีเครื่องทำความร้อนสำหรับหน้าหนาว มีบ่อน้ำกลางแจ้ง และลานกว้างให้ฮานาโกะได้เล่นได้

แต่แล้วเรื่องราวความโดดเดี่ยวของ ฮานาโกะ ก็ได้เริ่มขึ้น ชีวิตที่เคยเป็นขวัญใจกลับต้องพลิกกลายเป็น ช้างผู้โดดเดี่ยว สื่อมากมายเขียนถึง ฮานาโกะว่าเป็น The World’s Loneliest Elephant และ World’s Saddest Elephant ภายหลังจากเหตุการณ์ที่ฮานาโกะเคยทำให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เสียชีวิตในช่วงปี พ.ศ.2503 จนต้องถูกจับล่ามโซ่และขังเดี่ยวในคอกคอนกรีตซึ่งถือว่าเป็นการทำร้ายช้างที่มีอุปนิสัยเป็นสัตว์สังคม และเรื่องนี้ก็ถูกเขียนเป็นหนังสือ และสร้างเป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นมาแล้ว

ช้างฮานาโกะ

ฮานาโกะ เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2559 ขณะอายุ 69 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นช้างเชือกที่อายุมากที่สุดในญี่ปุ่นตอนนั้น แต่ที่น่าเศร้าคือการตายของฮานาโกะนั้นช่างโดดเดี่ยวอยู่ในคอกคอนกรีตแคบๆ ที่ถูกขัง โดยก่อน ฮานาโกะ จะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558 มีช้างไทยอยู่ในสวนสัตว์ทั่วญี่ปุ่นทั้งหมด 14 เชือก

ต่อมาทางการญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ทำรูปปั้นเท่าตัวจริงของฮานาโกะ สูง 1.5 เมตร เป็นอนุสรณ์แก่ช้างไทยชื่อกระฉ่อนโลกเชือกนี้ ปัจจุบัน รูปปั้นฮานาโกะ ตั้งอยู่ที่หน้าสถานีรถไฟ คิชิโจจิ (Kishijoji Station) ในเมือง Musashino ชานกรุงโตเกียว

เรื่องราวความโดดเดี่ยวของ ฮานาโกะ ช่วยปลุกกระแสพิทักษ์สัตว์ การปรับวิธีการโดยคำนึงถึงเมตตาธรรมในการดูแลช้างในสวนสัตว์ทั่วญี่ปุ่นให้เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะเกิดในช่วงโค้งสุดท้ายของชีวิตฮานาโกะก็ตาม แต่องค์กรอย่าง Elephants in Japan และ Zoocheck องค์กรพิทักษ์สัตว์ป่าสากล ก็ได้ช่วยผลักดันให้ช้างเชือกอื่นๆ ได้รับการดูแลอย่างเข้าใจมากขึ้นโดยเฉพาะช้างชราที่ปลดระวางจากการทำงาน หรือช้างในสวนสัตว์นั้นต้องไม่ถูกเลี้ยงอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ฟุจิโกะ เอฟ ฟุจิโอะ กับบันทึกความทรงจำของ ฮานาโกะตัวที่ 1 

ฟุจิโกะ เอฟ ฟุจิโอะ ฮานาโกะ บันทึกความทรงจำของช้างไทยตัวแรกในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช้างที่รัฐบาลไทยส่งไปสานสัมพันธ์กับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 โดยมีชื่อเดิมว่า "วันดี" โดยเขียนถึงความผูกพันของคนโตเกียวกับช้างไทยฮานาโกะยุคก่อนล้มตายเพราะความอดอยากในระหว่างสงครามโลกครั้ง 2

ข้อมูลจาก : sarakadeelite

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส