ธุรกิจการตลาด

สิงคโปร์ใช้ AI ยกระดับบริการภาครัฐ จับมือ "IBM" พาบริการเข้าถึงทุกคน

19 ก.ย. 66
สิงคโปร์ใช้ AI ยกระดับบริการภาครัฐ จับมือ "IBM" พาบริการเข้าถึงทุกคน

การมาถึงของ Generative AI กระตุ้นให้ธุรกิจหาวิธีนำ GenAI นี้มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ เพิ่มผลกำไร แต่ศักยภาพของปัญาประดิษฐ์รุ่นใหม่นี้ยังสามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับ “ประชาชน” ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญของภาครัฐได้อีกด้วย ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุดลำดับที่ 4 ของโลกอย่าง “สิงคโปร์” ได้เริ่ม GenAI และหลากหลายเทคโนโลยีแห่งอนาคตมาให้บริการประชาชนแล้ว โดยมีพันธมิตรคนสำคัญเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ “IBM” และองค์กรด้านเทคโนโลยีท้องถิ่น

 

สิงคโปร์ AI
 

สิงคโปร์เสริมแกร่งการทำงานภาครัฐด้วย AI

 

องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนของสิงคโปร์ ได้มาร่วมถ่ายทอดตัวอย่างการนำ AI ยกระดับการให้บริการประชาชนในด้านสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ ใน “Think Singapore 2023” งานประชุมเทคโนโลยีประจำปีของ IBM ที่จัดขึ้นตามเมืองสำคัญๆ ทั่วโลก โดยในนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่รัฐบาลสิงคโปร์นำมาจัดแสดงภายในงาน ได้แก่

 

AI ภาครัฐ

 


แว่น AR อัจฉริยะสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

 

แว่น AR สำหรับเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ที่ใช้ AI เข้ามาช่วยในการตรวจความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนออกปฏิบัติงานจริง และหากต้องมีการส่งซ่อม ก็สามารถทำได้ทันทีผ่านคำสั่งเสียง ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดเวลาการทำงาน ให้เจ้าหน้าที่พร้อมออกปฏิบัติการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

และยังมีระบบการสนับสนุนแบบเรียลไทม์ในแว่น AR ที่เจ้าหน่าที่ด่านหน้าสามารถสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญที่สถานี เพื่อรับคำแนะนำสำหรับการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที

โดยโครงการแว่น AR อัจฉริยะนี้เกิดจากความร่วมมือของกองกำลังป้องกันฝ่ายพลเรือนแห่งประเทศสิงคโปร์ (SCDF), สำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ (IMDA), HTX หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Starhub ผู้ให้บริการโทรคมนาคมท้องถิ่นชื่อดัง และ IBM ที่ร่วมกันนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ได้แก่ อินเตอร์เน็ต 5G, ระบบ AI, เทคโนโลยี AR และแว่น AR อัจฉริยะมาทำให้เกิดโซลูชั่นที่มีศักยภาพในการใช้งานได้จริง
 

 

AI สุขภาพ



ระบบสแกนจอตาตรวจวัดเบาหวานขึ้นตา

 

เบาหวานขึ้นตาเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายอันดับ 1 สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ที่เป็นเบาหวานนานกว่า 10 ปี มีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตาถึง 80% หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้ตาบอดในที่สุด

Synapxe หน่วยงานด้าน Healthtech ระดับชาติของสิงคโปร์ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ National University of Singapore (NUS) และ ศูนย์ดวงตาแห่งชาติสิงคโปร์ พัฒนาระบบตรวจจับอาการเบาหวานขึ้นตาด้วยภาพถ่าย ภายใต้ชื่อ “SELENA+” ซึ่งใช้ AI มาประมวลผลภาพถ่ายจอตา แทนการตรวจด้วยวิจารณญาณของแพทย์เพียงอย่างเดียวแบบเดิม ช่วยลดเวลาในการตรวจและเพิ่มความแม่นยำ ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ย่างทันท่วงที

โดยในแต่ละปี มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้กว่า 100,000 คน และทางหารสิงคโปร์มีแผนจะขยับตัวเลขดังกล่าวขึ้น 2 เท่า ภายในปี 2050 ซึ่งนอกจากจากช่วยพัมนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลจากการเข้าถึงการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อีกด้วย

 

AI แชทบอท


แชทบอทภาครัฐแบบ One-Stop-Service

 

ภายในงาน Think Singapore 2023 หนึ่งโซลูชั่นสำหรับภาครัฐที่ IBM ได้ยกมาแสดง คือ แชทบอทสำหรับภาครัฐแบบ GenAI ซึ่งไม่ใช่เพียงถาม-ตอบประชาชชนด้วยภาษาทั่วไปได้เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยในการกรอกฟอร์มเอกสารทางราชการสำคัญๆ ได้ในนี้ด้วย

IBM ยกตัวอย่างการใช้งานขึ้นมา 2 เคส นั่นคือ บริการการให้คำแนะนำการหาอสังหาริมทรัพย์มือ 2 (ซึ่งได้รับความนิยมในสิงคโปร์) ที่นอกจากจะสามารถให้คำแนะนำเรื่องการจัดหาสินเชื่อที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลแล้ว ยังสามารถสมัครขอรับสินเชื่อจากภาครัฐได้ทันทีจากเดิมที่ต้องไปรับบริการที่สถานที่ราชการ และบริการช่วยจัดหาทุนสำหรับ SME หรือ Startups ซึ่งก็สามารถขอคำแนะนำ และสมัครขอทุนได้จากการโต้ตอบกับแชทบอทได้เลย แม้ว่าปัจจุบันบริการนี้จะยังไม่ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชน แต่ IBM คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการกับประชาชนได้ในอนาคตอันใกล้นี้
 

 

รัฐมนตรี สิงคโปร์

 
ถอดหลักคิดรัฐบาลสิงคโปร์ นำ AI มาใช้กับหน่วยงานรัฐ

 

ในสุนทรพจน์ของ Josephine Teo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีรักษาการหน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์และสมาร์ตเนชั่นของประเทศสิงคโปร์ ในพิธีเปิดงาน Think Singapore 2023 นั้น เธอได้พูดถึงการนำ AI มาใช้ยกระดับบริการภาครัฐของสิงคโปร์ ว่า AI สามารถมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในหลายภาคส่วน อาทิ โลจิสติกส์, การเงิน, สาธารณสุข หรือแม้แต่ตัวรัฐบาลเอง

ในปี 2022 ที่ผ่านมา มีหน่วยงานรัฐในสิงคโปร์ที่นำ AI มาใช้พัฒนาโครงการที่สร้างผลกระทบต่อสังคม คิดเป็น 85% หรือ 17 กระทรวงจากทั้งหมด 20 กระทรวง ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ One-stop portal สำหรับการเข้าถึงบริการจากภาครัฐที่สื่อสารกับประชาชนด้วยแชทบอทและจบในที่เดียว ตั้งแต่ขั้นการถามตอบไปจนถึงการช่วยกรอกแบบฟอร์มให้, การนำ AI มาช่วยในการวางผังเมือง โดยอิงจากข้อมูลและความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ

 

AI Framework



สำหรับรัฐบาลสิงคโปร์แล้วหลักคิดสำคัญของการพัฒนาและนำ AI มาใช้ก็คือ “ความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานทุกคน” ซึ่งพึงจะต้องปลอดภัยมาตั้งแต่ขั้นต้นของการออกแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้งานด้วย จึงได้พัฒนาโมเดล “AI Governance Framwork” ขึ้นในปี 2019 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล อธิบายขั้นตอนการทำงานได้ โปร่งใส และยุติธรรม โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่จะต้องพิจารณาคือ

 

  •  โครงสร้างและมาตรวัดธรรมาภิบาลภายในองค์กร ได้แก่ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน, SOP ( มาตรฐานการปฏิบัติงาน) เพื่อเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยง, การฝึกทักษะให้กับพนักงาน
  • ระดับการมีส่วนร่วมของมนุษย์ และการตัดสินใจโดยมี AI ช่วยสนับสนุน ได้แก่ กำหนดระดับการมีส่วนร่วมในการทำงานและตัดสินใจของมนุษย์ที่ชัดเจน, จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับแต่ละบุคคลให้น้อยที่สุด
  • การจัดการการทำงาน ได้แก่ จำกัดอคติของข้อมูลและโมเดลให้น้อยที่สุด, การตรวจสอบตามแนวความเสี่ยง (Risk-based approach) เช่น ความสามารถในการอธิบายโมเดล, ความคงทนของซอฟต์แวร์หากเกิดเหตุไม่คาดคิด, และการปรับจูนอย่างต่อเนื่อง
  • ปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ สื่อสารนโยบายการใช้งาน AI แก่ผู้ใช้งาน, มีช่องทางให้ผู้ใช้งานแสดงความคิดเห็น, สื่อสารกับผู้ใช้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

 

นอกจากนี้สิงคโปร์ยังได้สร้าง ‘AI Verify’ อันเป็น Framework การทดสอบธรรมาภิบาลของ AI และซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบขึ้นเพื่อเปิดให้สาธารณชนได้ใช้ ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กรขนาดระดับโลกกว่า 50 องค์กรรวมถึง IBM และนำไปสู่การจัดตั้งมูลนิธิ AI Verify ที่มีสมาชิกเป็นองค์กรสำคัญๆ ซึ่งจะมาร่วมกันกำหนดกลยุทธ์และโร้ดแมปให้กับ AI Verify อีกด้วย

 


ที่มา : Gov.sg, IBM, Synapxe

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT