ธุรกิจการตลาด

ส่องรถ EV ยอดฮิต 5 ค่าย พร้อมค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่กังวลใจ

8 มิ.ย. 66
ส่องรถ EV ยอดฮิต 5 ค่าย พร้อมค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่กังวลใจ
ไฮไลท์ Highlight
“ผู้บริโภคเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนวิถีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่และการเดินทาง ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายด้าน ทั้งการส่งเสริมมาตรการทางด้านภาษี ส่งผลให้มีราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการสนับสนุนในส่วนของการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกสู่ทั่วโลกในอนาคต ทำให้ตัวเลขยอดผู้ใช้รถ EV เพิ่มมากขึ้น”

ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถ EV กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการยานยนต์บ้านเรา และกำลังได้รับกระแสความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างการลดฝุ่น pm2.5

ภาครัฐเองก็ได้มีการออกมาตรที่อุดหนุนการใช้ และการผลิตรถยต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้มียอดจดทะเบียนสะสมรถยนต์EV ที่กรมการขนส่งทางบกมากถึง 382,738 คัน ในเดือนมี.ค.66  

โดยนายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) รองประธานจัดงานมอเตอร์โชว์ 2023 กล่าวว่า

“ผู้บริโภคเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนวิถีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่และการเดินทาง ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายด้าน ทั้งการส่งเสริมมาตรการทางด้านภาษี ส่งผลให้มีราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการสนับสนุนในส่วนของการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกสู่ทั่วโลกในอนาคต ทำให้ตัวเลขยอดผู้ใช้รถ EV เพิ่มมากขึ้น”

แต่นอกจากการซื้อรถ ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่คนใช้รถEV ต้องกังวลใจ นั้น ก็คือ ค่าใช้จ่ายแอบแฝง เช่น ราคาแบตเตอรี่ ราคาประกันภัย ภาษีประจำปี เเละสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 

SPOTLIGHT ได้รวบรวมรถไฟฟ้า 5 แบรนด์ ที่น่าสนใจ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช่สำหรับเรา (รวบรวม ณ วันที่ 7 มิ.ย.66)

1.Tesla Model 3 Rear-Wheel Drive

teslamodel3

ราคารถ : 1,709,000 (ณ วันที่ 7 มิ.ย.66)

ประเภทแบตเตอรี่ : LFP 57.5 kWh 

วิ่งได้ไกลสูงสุด : 491 km./ชาร์จ (WLTP)

ราคาแบตเตอรี่ : ยังไม่เปิดเผย

ราคาประกันภัยชั้น 1 : 54,000 – 100,000 บาท/ปี

ภาษีประจำปี :1,600 บาท/ ปี

ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 448 คัน

2.BYD ATTO 3 Standard Rage

bydatto3

ราคารถ : 1,099,900 บาท

ประเภทแบตเตอรี่ : BYD Blade 49.9 kWh

วิ่งได้ไกลสูงสุด : 410 km./ ชาร์จ (NEDC)

ราคาแบตเตอรี่ : 528,730 – 656,030 บาท

ราคาประกันภัยชั้น 1 : 27,000 – 37,000 บาท/ปี

ภาษีประจำปี :1,900 บาท/ ปี

ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 2,434 คัน

3.MG 4 Electric

mg4

ราคารถ : เริ่มต้น 869,000 บาท

ประเภทแบตเตอรี่ : RUBIK’s CUBE 51 kWh 

วิ่งได้ไกลสูงสุด : 425 km./ชาร์จ (NEDC)

ราคาแบตเตอรี่ :  525,000 บาท

ราคาประกันภัยชั้น 1 : 21,000 – 32,000 บาท/ปี

ภาษีประจำปี :1,600 บาท/ ปี

ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 447 คัน

4.NETA V

oip

ราคารถ : 549,000 บาท

ประเภทแบตเตอรี่ : Lithium-ion 38.5 kWh 

วิ่งได้ไกลสูงสุด : 384 km./ชาร์จ (NEDC)

ราคาแบตเตอรี่ : ยังไม่เปิดเผย

ราคาประกันภัยชั้น 1 : 17,000 –25,000 บาท/ปี

ภาษีประจำปี : 800 บาท/ปี

ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 693 คัน

5.ORA Good Cat 400 Pro

oragoodcat400

ราคารถ : 828,500 บาท

ประเภทแบตเตอรี่ : LFP 47.79 kWh

วิ่งได้ไกลสูงสุด : 400 km./ชาร์จ (NEDC) 

ราคาแบตเตอรี่ : 445,000 –580,000 บาท

ราคาประกันภัยชั้น 1 : 25,000 –32,000 บาท/ปี

ภาษีประจำปี : 1,600 บาท/ปี

ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 214 คัน

นอกจากนี้ สถานีชาร์จ นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถ EV ทำให้ปัจจุบันมีผู้เล่นทั้งภาครัฐและเอกชน กระโดดเข้ามาจับตลาดสถานีชาร์จ EV อาทิเช่น:

1.MEA EV ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

img_6d80c0fa5ebd348b4ad924277

จำนวนสถานี : 34 สถานี 138 หัวจ่าย และจะเพิ่มเป็น 500 หัวจ่าย ในปี 69

อัตราค่าบริการ : 7.5 บาทต่อหน่วย (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2.EV Station PluZ ของบมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR)

ev-station-pluz-2-400x2632x

จำนวนสถานี : 800 สถานีในปี 66 และจะเพิ่มเป็น 7,000 ในปี 73

อัตราค่าบริการ : ค่าชาร์จ ช่วง Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย , ช่วง Off-Peak 4.5 บาทต่อหน่วย 

(ค่าจองเวลาชาร์จล่วงหน้า 20 บาทต่อช่วงเวลา)

3.EleX by EGAT ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

16501338838329-scaled

จำนวนสถานี : 50 แห่ง

อัตราค่าบริการ : ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PT ตู้ชาร์จแบบ DC ขนาด 120 kW : 7.5 บาทต่อหน่วย, ตู้ชาร์จ AC ขนาด 22 kW : 7.5 บาทต่อหน่วย และในพื้นที่ กฟผ. ตู้ชาร์จ DC ขนาด 50 kW: 6.5 บาทต่อหน่วย, ตู้ชาร์จ AC ขนาด 22 kW: 5.5 บาทต่อหน่วย

4.GINKA Charge Point ของบมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART)

artboard1copy3_2

จำนวนสถานี : 5,000 สถานี

อัตราค่าบริการ : 6.5 บาทต่อหน่วย

5.MG Super Charge ของบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

b31e7e75e3e8a49db29c9f72baacd

จำนวนสถานี : 129 สถานี

อัตราค่าบริการ : ชาร์จราคาเดียว 7.5 บาทต่อหน่วย

6.Supercharger ของ Tesla

artboard1copy3_0

จำนวนสถานี : 13 แห่งในปี 66

อัตราค่าบริการ : ฟรีเฉพาะรถ Tesla

ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 หรือ 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีก 567 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 827แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถ EV มากขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : 

Pricezamoney 

ประชาชาติธุรกิจ 

Infoquest

สํานักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

DailyNews

กรมขนส่งทางบก

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT