positioning

บีไอจี - โรงไฟฟ้าราชบุรีศึกษาผลิตกรีนไฮโดรเจนจาก 
“โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ”

26 ก.พ. 67
บีไอจี - โรงไฟฟ้าราชบุรีศึกษาผลิตกรีนไฮโดรเจนจาก 
“โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ”
บีไอจี จับมือโรงไฟฟ้าราชบุรี ลงนามศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฮโดรเจน จากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขนส่ง ซึ่งจะเป็นกระบวนการผลิตกรีนไฮโดรเจน ที่มาจากพลังงานหมุนเวียนโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแห่งแรกในไทย

นายจตุพร โสภารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัดในเครือบมจ.ราช กรุ๊ป เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าราชบุรีได้ลงนามกับบีไอจีเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฮโดรเจนจากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Solar Floating Project) ขนาด 2 เมกะวัตต์ ซึ่งมีการติดตั้งอยู่แล้วในพื้นที่อ่างเก็บน้ำดิบของโรงไฟฟ้าราชบุรี เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการขนส่ง

โดยการศึกษาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการหาแนวทางการพัฒนาโครงการที่สามารถเป็นไปได้ในพื้นที่โรงไฟฟ้า หลังจากหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. แล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการประกาศความมุ่งมั่นความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2570 ของ บมจ.ราชกรุ๊ป เนื่องจากไฮโดรเจนจากกระบวนการผลิตนี้ จะเป็นกรีนไฮโดรเจน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นพลังงานสะอาด ที่เกิดจากการนำพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการแยกไฮโดรเจนจากน้ำ โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต นับเป็นหนึ่งพลังงานทางเลือก ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี กล่าวว่า บีไอจีเดินหน้าในการนำนวัตกรรมจากไฮโดรเจนที่บีไอจีและแอร์โปรดักส์ บริษัทแม่ของบีไอจีจากประเทศสหรัฐฯ มีความชำนาญและเป็นผู้ลงทุนโครงการกรีนไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดของโลก มุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนในระดับสากล มีกลยุทธ์ Generating A Cleaner Future ร่วมกับทุกภาคส่วน บีไอจีตระหนักถึงการใช้พลังงานสะอาดเพื่อร่วมผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ในประเทศไทยด้วยการผลักดันการผลิตและการใช้ประโยชน์จากพลังงานไฮโดรเจนซึ่งเป็นหนึ่งใน Climate Technology เพื่อเป็นแรงสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการร่วมมือศึกษาธุรกิจและพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนจากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำนี้ จะเป็นการผลิตกรีนไฮโดรเจนจากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแห่งแรกในประเทศไทย อีกทั้งยังจะสามารถเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ตามข้อตกลงระดับนานาชาติจากการประชุม COP28 ที่ผ่านมา มีการที่มีการเรียกร้องให้เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเป็น 3 เท่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็น 2 เท่าภายในปี พ.ศ. 2573

Powered By : Positioning

advertisement

SPOTLIGHT