การเงิน

คนไทยรู้เรื่องการเงิน-การลงทุน ปานกลาง เร่งส่งเสริมภูมิคุ้มกันการเงิน

21 เม.ย. 66
คนไทยรู้เรื่องการเงิน-การลงทุน ปานกลาง เร่งส่งเสริมภูมิคุ้มกันการเงิน

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมหลายด้าน ทั้งตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หรือ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2572 เร็วขึ้นจากเดิม 2 ปี และยิ่งบวกกับสถานการณ์ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลจากสงครามรัสเซียยูเครน ล้วนแล้วแต่ทำให้เราทุกคนควรมีความรู้เรื่องการเงิน และการลงทุนมากขึ้นเพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต และให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

แต่ผลการสำรวจโครงการ ทักษะทางการเงิน พฤติกรรมการลงทุนและการรับรู้ความเสี่ยงในการลงทุนและสินทรัพย์ทางการเงินของประชากรแต่ละช่วงวัย ซึ่งทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,292 คน พบว่า ระดับความรู้ทางการเงินโดยเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมทดสอบ ประมาณ 50%-60% ซึ่งถือเป็นระดับปานกลาง 

โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความเข้าใจเกี่ยวกับ การลงทุนแบบสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น หุ้น ตารสารอนุพันธ์ ตราสารหนี้ มากกว่า การลงทุนในสินทรัยพ์ดิจิทัล เช่น คริปโคเคอร์เรนซี่ ยูทิลิตี้โทเคน ซึ่งความรู้ด้านนี้อยู่ในระดับต่ำ  

นอกจากนี้พบว่า 565 คนจาก 1,292 คน ของกลุ่มตัวอย่างมีการลงทุนใน Digital Assets หรือคิดเป็น 44% ของ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 

ในสินทรัพย์แบบดั้งเดิม พบว่า กลุ่ม  Baby Boomer ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น 

ส่วนทัศนคติความเสี่ยงต่อการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน 

  • กลุ่ม Baby Boomer มีทัศนคติต่อความเสี่ยงของ Utility Tokenและ Investment Token สูงที่สุดในทุกกลุ่ม ขณะเดียวกันมองว่าการลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาลให้ความเสี่ยงต่ำทีสุด
     
  • กลุ่ม Gen X มีทัศนคติต่อความเสี่ยง Digital Assets ต่ำที่สุดในทุกกลุ่ม 

  • Gen Z มีมุมมองต่อความเสี่ยงใน Traditional Assets สูงที่สุด 

  • ทุก Generation มีทัศนคติต่อความเสี่ยงของ Cryptocurrency สูงที่สุดและ ใกล้เคียงกัน

ปัจจัยที่ ส่งผลต่อการยอมรับความเสี่ยงในแต่ละ Generation 

  • กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงสามารถยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่า 
  • กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่สูงมากขึ้นสามารถยอมรับความ เสี่ยงในระดับที่สูงขึ้น 
  • กลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีแนวโน้มยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่ากลุ่ม นักลงทุนที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยได้ทำการสำรวจระดับทักษะทางการเงินของไทยในปี 2563 ปละพบว่า คนไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอในการส่งเสริมทักษะทางการเงินให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มในประเทศ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

  1. การส่งเสริมความรู้ทางการเงินพื้นฐานในรูปแบบที่เหมาะสมกับประชาชนแต่ละช่วงวัยผ่านช่องทางต่าง ๆ ระดับความรู้ทางการเงินของคนไทยมีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีหัวข้อที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
  1. การส่งเสริมพฤติกรรมการเงินโดยมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง - แม้ผลสำรวจจะแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีระดับพฤติกรรมทางการเงินที่สูงกว่าระดับสากลค่อนข้างมากซึ่งอาจตีความได้ว่าประชาชนมีความตระหนักถึงรูปแบบพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญคือการลงมือปฏิบัติในชีวิตจริง ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย การบริหารจัดการหนี้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ตลอดจนการจัดสรรเงินเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยสะท้อนจากผลสำรวจเรื่องพฤติกรรมการออมเงินของคนไทย

    ทั้งนี้ การกระตุ้นพฤติกรรมให้สำเร็จนั้นเป็นความท้าทายที่อาศัยเวลาและทรัพยากรในการติดตามผลโดยหน่วยงานต่าง ๆ อาจใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมพื่อให้เข้าใจลักษณะที่แตกต่างกันของประชาชนแต่ละกลุ่ม 
  1. ส่งเสริมวินัยทางการเงินเพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์(Financial resilience)

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT