อินไซต์เศรษฐกิจ

จาก "การลาออกครั้งใหญ่" สู่ "การเลิกจ้างครั้งใหญ่" The Great Layoffs

29 มิ.ย. 65
 จาก "การลาออกครั้งใหญ่" สู่ "การเลิกจ้างครั้งใหญ่" The Great Layoffs
ไฮไลท์ Highlight

จากข้อมูลของเว็บไซต์ Layoffs.fyi ซึ่งเก็บรวบรวมสถิติการเลิกจ้างในกลุ่มเทคสตาร์ทอัพทั่วโลก พบว่า ตลอดทั้งปี 2565 นี้ มีบริษัทเทคสตาร์ทอัพเลย์ออฟไปแล้วถึงประมาณ 143 แห่งทั่วโลก คิดเป็นตัวเลขคนที่ถูกเลย์ออฟมากกว่า 40,000 คน แต่นี่เป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้นเฉพาะบริษัทที่แจ้งจำนวนการเลย์ออฟเท่านั้น ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่ไม่เปิดเผยตัวเลขออกมา ซึ่งเป็นที่คาดว่าจำนวนการเลย์ออฟที่แท้จริงในเทคสตาร์ทอัพทั่วโลก "จะสูงกว่านี้มาก"

ถ้า "การลาออกครั้งใหญ่" หรือ The Great Resignation คือกระแสของปีที่แล้ว ที่เกิดคลื่นคนทำงานแห่ลาออกกันครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะในสหรัฐ

ปี 2565 นี้ก็คงเป็นกระแส "ตีกลับ" เมื่อกำลังเกิด "การเลิกจ้างครั้งใหญ่" The Great Layoffs แทน


เพราะเพียงแค่ 6 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขการเลิกจ้างเฉพาะในกลุ่ม "เทคโนโลยีสตาร์ทอัพ" หรือ Tech startup ก็ปาเข้าไปมากกว่า 40,000 คนแล้ว (นับเฉพาะบริษัทที่มีการเปิดเผยจำนวนเลย์ออฟ)


เรามองว่ากระแสคลื่นการเลย์ออฟครั้งนี้ มี 2 ประเด็นหลักๆ ที่น่าสนใจด้วยกันก็คือ Startup

  1. ทำไมบริษัทในกลุ่ม Startup จึงเป็นกลุ่มแรกที่ถูกเลย์ออฟก่อนใครเพื่อน

  2. คลื่นการเลย์ออฟในสตาร์ทอัพทั่วโลก จะลุกลามไปถึงภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การเงิน การท่องเที่ยว หรือไม่

 artboard1



Tech Startup: เพราะเปราะบาง จึงไปก่อน?


Startup นั้นมีโมเดลทางธุรกิจที่ไม่เหมือนกับธุรกิจทั่วไป ดังที่บทความในตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยระบุเอาไว้ก็คือ

“เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน”


รูปแบบที่คล่องตัว ขึ้นง่าย ใช้คน/พื้นที่ไม่เยอะ เน้นขายไอเดียและนวัตกรรมเป็นหลักนี่เอง ที่ทำให้ Startup เป็นธุรกิจที่ผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมากในยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูและเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับธุรกิจทั่วไปที่ขึ้นได้ช้ากว่า


สิ่งที่ไม่เหมือนกันอีกเรื่องก็คือ "แหล่งเงิน" เพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่นั้นมีที่มาของทุนจาก "การระดมทุน" (Seed funding) ไม่ใช่ขายสินค้าหรือบริการเหมือนธุรกิจทั่วไป เพราะสตาร์ทอัพเน้นขายไอเดียและต้องมีช่วงของการลองผิดลองถูก แหล่งทุนหลักๆ จึงมาจาก "นักลงทุน" ที่สนใจซื้อไอเดียทางธุรกิจนั้นๆ ตั้งแต่นักลงทุนอิสระ (Angel investor) ไปจนถึงบรรดากองทุนเวนเจอร์ (Venture Capital) และบริษัทลงทุนทั่วไป


แต่เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มมีปัญหา เกิดภาวะเงินเฟ้อหนัก แบงก์ชาติซึ่งนำโดย "เฟด" เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันทั้ง "ต้นทุนกู้ยืมแพงขึ้น" และ "ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง" ทำให้บรรดา Startup ทั่วโลกที่เคยเฟื่องฟูหรืออาจถึงขั้น "เฟ้อ" ต้องเดินหน้าลดต้นทุนกันขนานใหญ่ และนำมาสู่มหกรรมเลย์ออฟที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

Startup ทั่วโลกเลย์ออฟกันเท่าไรแล้ว?


จากข้อมูลของเว็บไซต์ Layoffs.fyi ซึ่งเก็บรวบรวมสถิติการเลิกจ้างในกลุ่มเทคสตาร์ทอัพทั่วโลก พบว่า ตลอดทั้งปี 2565 นี้ มีบริษัทเทคสตาร์ทอัพเลย์ออฟไปแล้วถึงประมาณ 143 แห่งทั่วโลก คิดเป็นตัวเลขคนที่ถูกเลย์ออฟมากกว่า 40,000 คน


แต่นี่เป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้นเฉพาะบริษัทที่แจ้งจำนวนการเลย์ออฟเท่านั้น ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่ไม่เปิดเผยตัวเลขออกมา ซึ่งเป็นที่คาดว่าจำนวนการเลย์ออฟที่แท้จริงในเทคสตาร์ทอัพทั่วโลก "จะสูงกว่านี้มาก"


ที่จริงแล้ว การลิกจ้างถือเป็นการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นตามปกติของธุรกิจ แต่ประเด็นก็คือ ตัวเลขบริษัทที่เลิกจ้างนั้น "เริ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ" ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงมิถุนายนนี้


ช่วง 4 เดือนแรกของปี จะเห็นได้ว่า จำนวนบริษัทที่เลย์ออฟยังไม่ได้มีเยอะมาก เพียงแต่บางบริษัทอาจลดทีเดียวเป็นหลักพันคน เช่น ฟิตเนสระดับยูนิคอร์น Peloton ที่เลย์ออฟรวดเดียวถึง 2,800 คน เพราะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของลู่วิ่งไฟฟ้าจนนำไปสู่การเรียกคืนสินค้าครั้งใหญ่ และกระทบต่อบริษัทที่เพิ่งจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างนี้สะท้อนถึงธุรกิจที่มีปัญหาเป็นรายๆ ไป แต่ยังไม่ได้บ่งชี้ถึงปัญหาของเทคสตาร์ตอัพในภาพรวม


แต่ตัวเลขของบริษัทที่เลย์ออฟเริ่มพุ่งไปถึง 74 บริษัท ในเดือนพฤษภาคม และเลย์ออฟถึง 16,985 คน ภายในเดือนเดียว (นับเฉพาะบริษัทที่เปิดเผยตัวเลข) ถือเป็นสัญญาณเตือนทันทีให้ทุกคนหันมาจับตาที่ภาคเทคสตาร์ทอัพ ซึ่งคลื่นการเลย์ออฟยังดำเนินไปต่อเนื่องจนถึงเดือน มิถุนายนนี้


จากการรวบรวมตัวเลขถึง ณ วันที่ 27 มิ.ย. เดือนนี้มีการเลย์ออฟไปแล้ว 12,176 คน ใน 134 บริษัท โดยประเภทกิจการที่ตกเป็นเป้าการเลย์ออฟหลักๆ ได้แก่ ธุรกิจคริปโทเคอร์เรนซี ที่ถูกกระทบหนักจากตลาดขาลง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถูกกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง, และธุรกิจอาหาร ที่ลดความร้อนแรงลงเพราะสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย คนออกมาใช้ชีวิตตามปกติกันมากขึ้น

istock-1351825510_1

คริปโทเคอร์เรนซี นั้นเป็นกลุ่มที่ถูกจับตามองมากที่สุดในฐานะที่สินทรัพย์กำลังดิ่งลงหนัก จากที่เคยทุบสถิติสูงสุดเกือบ 69,000 ดอลลาร์/บิตคอยน์ เมื่อปลายปีที่แล้ว ปีนี้บิตคอยน์ถึงกับหลุด 18,000 ดอลลาร์/บิตคอยน์ไปแล้ว ตามทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐที่ถูกกดดันจากเฟด ซึ่งราคาเหรียญที่ร่วงลงมากกว่า 50% กำลังส่งผลกระทบแบบ "โดมิโน" ไปทั่ววงการคริปโทฯ ตั้งแต่แพลตฟอร์มเทรด จนถึงกองทุนคริปโทฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ในปีนี้ มีบริษัทชื่อดังเกี่ยวกับคริปโทฯ เลย์ออฟกันมาต่อเนื่อง เช่น Bybit ในสิงคโปร์ ที่ลดคนไป 600 คน, BlockFi ในนิวยอร์ก ลดไป 250 คน, Coinbase ลดไป 1,000 คน และคาดว่าตลาดคริปโทฯ จะมีการเลิกจ้างเพิ่มต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้

ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า "อาเซียน" แถวบ้านเรานั้น ก็มีการเลย์ออฟไม่น้อยเช่นกัน โดย CNBC รายงานว่า ตลอดช่วง 2-3 เดือนมานี้ มีบริษัทสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วอย่างน้อย 6 แห่ง ที่เดินหน้า "เลิกจ้างพนักงาน" รวมแล้วหลายร้อยคน ซึ่งสะท้อนว่าธุรกิจสตาร์ทอัพอาจกล่าวได้ว่า ที่เคยเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีและธุรกิจอนาคตใหม่ ก็ไม่อาจรอดพ้นจากผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั่วโลก

artboard1copy3(16)

หนึ่งในสตาร์ทอัพรายใหญ่ระดับยูนิคอร์น (มูลค่าบริษัท 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป) ที่เลย์ออฟพนักงานครั้งนี้ก็คือ Sea Limited ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Shopee ที่เพิ่งประกาศเลิกจ้างพนักงานในหลายประเทศ รวมถึง "ประเทศไทย" ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะในไลน์ธุรกิจ Shopee Pay และ Shopee Food ที่คาดว่าจะโดนเลิกจ้างมากถึงเกือบครึ่ง

 


จากเทคสตาร์ทอัพ จะลามไปเลย์ออฟภาคเศรษฐกิจอื่นๆ หรือไม่?


อาจกล่าวได้ว่า ตอนนี้ยังไม่เห็นสัญญาณคลื่นเลย์ออฟในภาค Real Sector "แต่ก็มีบ้างประปราย" ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณ "ภาวะเศรษฐกิจถดถอย" จากปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงและเฟดกำลังเร่งขึ้นดอกเบี้ย


ในภาคการเงินนั้น JPMorgan แบงก์ใหญ่ในสหรัฐ เพิ่งตกเป็นข่าวจากการประกาศเลย์ออฟเพราะผลจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด CNN Business รายงานอ้างแหล่งข่าววงในว่า JPMorgan จะเลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน หรือมีการโอนโยกย้าย หรือมอบหมายตำแหน่งใหม่ โดยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย


ส่วนในภาคการผลิตนั้น บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเบอร์ 1 ของโลก Tesla Inc. ของอีลอน มัสก์ เป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุดที่ประกาศจะเลย์ออฟพนักงานราว 10% จากพนักงานทั่วโลกราว 1 แสนคน เพื่อลดต้นทุนเตรียมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลง โดยมัสก์จะลดพนักงานประจำและหันไปจ้างพนักงานรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นแทน ทำให้เราได้เห็นการเลย์ออฟใฟญ่ หรือ Mass layoffs พนักงานมากถึง 500 คน ในโรงงานของเทสลาที่เนวาดา จนเป้นคดีฟ้องร้องกันอยู่ในขณะนี้

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT