อินไซต์เศรษฐกิจ

ค่าไฟฟ้าคิดมาจากอะไรบ้าง

17 มี.ค. 65
ค่าไฟฟ้าคิดมาจากอะไรบ้าง

ค่าไฟฟ้าคิดมาจากอะไรบ้าง

 

หลังจากที่มติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้มีมติขึ้นค่า FT หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร 23.38 สตางค์ ต่อหน่วย สาเหตุจาก ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานทุกชนิดให้ปรับตัวสูงขึ้น                ทีมงาน SPOTLIGHT ชวนมาสำรวจดูบิลค่าไฟไฟฟ้า ที่ประชาชนใช้กันอยู่ทุกวัน ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

 

ก่อนอื่นทำความเข้าใจการคิดค่าไฟในประเทศไทยก่อนว่า มีต้นทุนหลักอยู่ 3 ตัว คือ

 

1.ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าความต้องการไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าบริการ          

ค่าไฟฟ้าฐานจะปรับไม่บ่อย มีการปรับทุก 3 - 5 ปี และถูกแบ่งออกเป็น หลายประเภท เช่น ใช้ในครัวเรือน ใช้กับกิจการขนาดต่างๆ ในที่นี้ ขกยกกรณีในครัวเรือน มี 2 ประเภทหลัก

*ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน มีอัตราดังต่อไปนี้

15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 15)             หน่วยละ          2.3488 บาท

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)                               หน่วยละ          2.9882 บาท

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)                               หน่วยละ          3.2405 บาท

65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)                            หน่วยละ          3.6237 บาท

50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)                          หน่วยละ          3.7171 บาท

250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)                        หน่วยละ          4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)                  หน่วยละ          4.4217 บาท

ค่าบริการ (บาท/เดือน) :           8.19

 

*ใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน มีอัตราดังต่อไปนี้

150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150)   หน่วยละ          3.2484 บาท

250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 )                      หน่วยละ          4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)             หน่วยละ          4.4217 บาท

ค่าบริการ (บาท/เดือน) :           38.22 

 

2.ค่า FT (Float time ) หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ 

คำนวณตามต้นทุนการผลิต  เช่นค่าเชื้อเพลิง  ค่าซื้อไฟฟ้า

มีการพิจารณาปรับทุก 4 เดือน เดือนล่าสุด กกพ.มีมติปรับขึ้น จากต้นทุนที่สูงขึ้น  38 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าเอฟที อยู่ที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย

 

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตรา 7% เก็บในขั้นตอนสุดท้ายของค่าใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

 

983042

ส่วนในบิลค่าไฟฟ้า เราจะเห็นได้ว่า จะประกอบไปด้วย   6 รายการ

1.ค่าพลังงานไฟฟ้า (ประจำเดือน/ปี)    ซึ่งนั่นก็คือค่าไฟฐานที่คำนวณการใช้มาแล้ว

2.ค่าบริการ   คือ  ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน เก็บ 8.19 บาท/เดือน

ใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ค่าบริการ   38.22 บาท/เดือน

3.ค่าเอฟที

4.ส่วนลด  เช่นกรณี รับบาลมีมาตรการลดค่าไฟ ก็จะถูกคำนวณส่วนลดมาให้ในบิล

5.ราคาค่าไฟก่อนคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม

6.ภาษีมูลค่า คิดอัตรา 7% จากยอดรวมทั้งหมด

ทั้งหมด จึงออกมาเป็นค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายต่อเดือนนั่นเอง  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่าไฟขึ้นแตะ 4 บาท/หน่วย ผลจากขึ้นค่าเอฟที 23.38 สต./หน่วย มีผลรอบ พ.ค.-ส.ค.65

 

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT