การเงิน

ฟังกูรูวิเคราะห์ ! เงินหายเพราะสายชาร์จดูดเงิน มีจริงหรือไม่ ?

18 ม.ค. 66
ฟังกูรูวิเคราะห์ ! เงินหายเพราะสายชาร์จดูดเงิน มีจริงหรือไม่ ?
ไฮไลท์ Highlight
  -สายชาร์จดูดเงิน ยังไม่มีขายในประเทศไทย   -ในต่างประเทศมีขายแต่อยู่ในรูปแบบการโชว์ เพื่อนำไปทดลอง พิสูจน์   -ราคาขายในต่างประเทศประมาณ 6,000 -7,000 ต่อสาย   -ต่างประเทศมีการทดลองแต่โอกาสสำเร็จมีน้อยมาก เพราะมีรายละเอียด และกระบวนการทำค่อนข้างเยอะ ยาก และสลับซับซ้อน -ยังไม่พบว่ามีการใช้สายชาร์จในการดูดเงินในประชาชนทั่วไป ทั้งในไทยและต่างประเทศแต่อย่างใด
สายชาร์จดูดเงินออกจากบัญชีกลายเป็นประเด็นร้อน เพราะมีกรณีผู้เสียหายที่เป็นข่าวดัง ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย  ออกมาแถลงร่วมกันแล้วว่า กรณีผู้เสียหายรายดังกล่าวที่ถูกดูดเงินออกจากบัญชีไม่ได้เกิดจากสายชาร์จปลอม แต่เกิดจากผู้เสียหายติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ไว้จึงทำให้มิจฉาชีพได้ข้อมูล และถูกดูดเงินออกจากบัญชี ซึ่งทางแบงก์ชาติและสมาคมธนาคารไทยให้เร่งพัฒนาระบบให้ดีขึ้น เพื่อป้องมิจฉาชีพ
.

แม้กรณีที่เกิดขึ้นจะไม่ได้มาจากสายชาร์จปลอม แต่ทีมงานทีม“Spotlight” เกิดข้อสงสัยว่า แล้วที่จริงสายชาร์จปลอม มีจริงมั้ย และมันสามารถดูดเงินออกจากบัญชีเราได้จริงหรือเปล่า เพื่อเป็นข้อมูลให้ทุกคนระมัดระวังภัยใกล้ตัว


กูรูชี้สายชาร์จดูดเงินไม่มีในประเทศไทย 

โดยได้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ดร.ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปประเด็นที่น่าสนใจให้หลายคนหายสังสัย พร้อมมีคำแนะนำ ดังนี้ 
 
-สายชาร์จดูดเงิน ยังไม่มีขายในประเทศไทย
 
-ในต่างประเทศมีขายแต่อยู่ในรูปแบบการโชว์ เพื่อนำไปทดลอง พิสูจน์
 
-ราคาขายในต่างประเทศประมาณ 6,000 -7,000 ต่อสาย
 
-ต่างประเทศมีการทดลองแต่โอกาสสำเร็จมีน้อยมาก เพราะมีรายละเอียด และกระบวนการทำค่อนข้างเยอะ ยาก และสลับซับซ้อน

-ยังไม่พบว่ามีการใช้สายชาร์จในการดูดเงินในประชาชนทั่วไป ทั้งในไทยและต่างประเทศแต่อย่างใด
 
อย่างไรกตามปัญหาการที่เงินถูกดูดอกจากบัญชี ดร.ปริญญา มองว่า มีเกิดขึ้นในลักษณะดังนี้ต่อไปนี้
-กดลิ้งก์แปลก ลิงค์ปลอม แล้วเผลอกรอกข้อมูลส่วนตัว
 
-ได้รับSMS แปลก แล้วกดเข้าไปดูแล้วกดต่อเข้าไปถึงข้อมูล รวมถึงการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแปลกๆลงในเครื่องจากนั้นโปรแกรมเหล่านั้นจะเข้ายึดเครื่องและทำการดูดเงินได้
 
-กรณีใช้แอป หรือ Mobile Banking ในที่สาธารณะต้องตรวจสอบที่มาของ Wi-Fi ต้องตรงกับสถานที่ อย่าใช้ Wi-Fi ไม่มีแหล่งที่มา หรือไม่น่าเชื่อถือ
 
ดร.ปริญญา มองว่า ระบบโทรศัพท์ของไอโฟนมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพราะโปรแกรมนอกจะดาวน์โหลดผ่าน Apple Store ไม่ได้ ส่วนระบบความปลอดภัยของแบงก์ไทย ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ระบบมีความปลอดภัยสูงมาก แต่ประชาชนก็ต้องมีการป้องกันตัวเองร่วมด้วยถึงจะปลอดภัย ถือได้ว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน
 
สำหรับกรณีที่ประชาชนถูกดูดเงินออกไปจากบัญชีที่ผ่านมาแบงก์จะพิจารณาและให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป หากพิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้เกิดจากความประมาทของลูกค้าก็จะมีการชดเชยเงินให้ คำแนะนำดังกล่าว สอดคล้องกับกับข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

คำแนะนำให้ปลอดภัยจากการถูกดูดเงินในบัญชี 

 
 
1. ไม่คลิกลิงก์จาก SMS LINE อีเมล ที่ไม่น่าเชื่อถือ
2.ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม นอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุม
3. อัปเดต Mobile Banking ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ
4.ไม่ใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน
5. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
.
แน่นอนว่าปัจจุบันโลกแห่งดิจิทัลไปไกลแล้วมากๆ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต แต่ในขณะเดียวกันก็มีช่องโหว่ให้เราตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้เช่นกัน ดังนั้นเราต้องใช้ให้เป็นและรู้ให้ทัน !
.
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย , ดร.ปริญญา หอมอเนก
. 

advertisement

SPOTLIGHT