การเงิน

รู้จัก Property Backed Loan เครื่องมือบริหารภาษีที่ดิน

27 เม.ย. 65
รู้จัก Property Backed Loan เครื่องมือบริหารภาษีที่ดิน
ไฮไลท์ Highlight
           “ การจัดพอร์ตให้กับลูกค้า  Property   Backed Loan  เน้นการสร้างกระแสเงินสดที่เข้ามาในแต่ละปี   เราจะไม่ Take risk  ที่มีความเสี่ยงมาก  จะเน้นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ เพื่อให้เพียงพอที่ลูกค้าจะนำไปชำระภาษีที่ดิน   ดอกเบี้ยเงินกู้ และมีผลตอบแทนกลับเข้ามาด้วย  การจัด  Asset  Allocation  นอกจาก RM ที่คอยดูแลให้คำปรึกษากับลูกค้าแล้วยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในการเฟ้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ร่วมกับทีม Investment  consultant  ช่วยกันวิเคราะห์กลยุทธ์ และคัดสรรผลิตภัณฑ์  เพื่อให้ได้  Asset  Class ที่ตอบโจทย์ตามเป้าหมายของลูกค้า ”  ดร. กำพล  กล่าว

ปี 2565 เป็นนี้เป็นปีแรกที่รัฐบาลจะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตรา หลังจาก2 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ลดอัตราภาษีลง 90 %  เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2565  ตัวอย่างเช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

มูลค่าทรัพย์สิน 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.3%

มูลค่าทรัพย์สิน 50-200 ล้านบาท  เสียภาษีในอัตรา 0.4% 

มูลค่าทรัพย์สิน  200 -1,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 0.5% 

มูลค่าทรัพย์สิน 1,000 -5,000 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา  0.6% 

และมูลค่าทรัพย์สิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 0.7%  

 

SCB WEALTH ได้จัดสัมมนา “กลยุทธ์รับมือภาษีที่ดินปี 2565”  ให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ของธนาคาร  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมนำเสนอเครื่องมือทางการเงินในการบริหารสินทรัพย์ผ่าน Property Backed Loanเป็นหนึ่งทางเลือกในการบริหารจัดการภาษีที่ดินโดยการนำที่ดินที่มีอยู่แล้วมาจำนองกับธนาคาร  และนำเงินกู้ที่ได้รับไปมาบริหารให้เป็นพอร์ตการลงทุนอีกประเภทหนึ่งภายใต้การดูแลของทีมที่ปรึกษาการเงินและ Investment consultant  พร้อมจัด Asset  Allocation ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 6-8%ต่อปี

 

ดร. สาธิต  ผ่องธัญญา   ผู้อำนวยการอาวุโส   Estate Planning and Family Office  ธนาคารไทยพาณิชย์  บอกว่า SCB Wealth  ได้จัดสัมมนาให้กับกลุ่มลูกค้าเวลธ์ของธนาคาร ในหัวข้อ  “กลยุทธ์รับมือภาษีที่ดิน ปี 2565 ”  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่รัฐบาลจะจัดเก็บอัตราภาษีเต็มจำนวน ในปีนี้เป็นปีแรก โดยราคาประเมินที่ดินที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีในปี  2565 เป็นราคาประเมินในปี 2559 และในปี 2566 จะมีการปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการเสียภาษีที่ดินสูงขึ้นตามไปด้วย

 

นายปกรณ์    เภตรากาศ  ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย  Wealth Lending Product   ธนาคารไทยพาณิชย์  บอกว่า ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ Property Backed Loan  ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม Private Banking  ที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากที่ดินที่มีอยู่ดีกว่าการปล่อยรกร้างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ   จากการสำรวจพบว่าลูกค้าเวลธ์ส่วนใหญ่ถือครองที่ดินประมาณ 40-50% ของสินทรัพย์ทั้งหมด  และมีแผนที่จะส่งต่อที่ดินให้กับทายาทในรุ่นถัดๆไป   จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวในรูปแบบของ Property Backed loan ที่ให้สินเชื่อเพื่อนำเงินกู้ที่ได้จากธนาคารมาลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ  โดยการจัดเป็น Asset Allocation ภายใต้การดูแลของทีมที่ปรึกษาด้านการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี แม้จะหักดอกเบี้ยเงินกู้และชำระภาษีที่ดินแล้ว  ยังมีโอกาสเพิ่มความมั่งคั่งให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าได้อีกด้วย    นอกจากนี้  หากลูกค้าต้องการขายที่ดิน ก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมชำระก่อนกำหนด

 

ดร.กำพล  อดิเรกสมบัติ  ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office  (SCB CIO )  ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า Property  Backed Loan มุ่งเน้นในการสร้างผลตอบแทนที่ดี เพื่อนำเงินไปชำระภาษีที่ดินและดอกเบี้ยเงินกู้  โดยทีมที่ปรึกษาทางการเงิน จะแนะนำการจัดพอร์ตแบบ Asset  Allocation  เพื่อกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย  โดยพิจารณาทั้งเรื่องของกลุ่มประเทศ     ตลาด   ภาคอุตสาหกรรม  และ Valuation ที่เหมาะสม   โดยการจัดพอร์ตให้กับลูกค้าแบ่งเป็น 3  กลุ่มหลัก (Mild Moderate, Moderate, และ Aggressive allocation)    ตามผลตอบแทนที่คาดหวัง และความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ 

           “ การจัดพอร์ตให้กับลูกค้า  Property   Backed Loan  เน้นการสร้างกระแสเงินสดที่เข้ามาในแต่ละปี   เราจะไม่ Take risk  ที่มีความเสี่ยงมาก  จะเน้นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ เพื่อให้เพียงพอที่ลูกค้าจะนำไปชำระภาษีที่ดิน   ดอกเบี้ยเงินกู้ และมีผลตอบแทนกลับเข้ามาด้วย  การจัด  Asset  Allocation  นอกจาก RM ที่คอยดูแลให้คำปรึกษากับลูกค้าแล้วยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในการเฟ้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ร่วมกับทีม Investment  consultant  ช่วยกันวิเคราะห์กลยุทธ์ และคัดสรรผลิตภัณฑ์  เพื่อให้ได้  Asset  Class ที่ตอบโจทย์ตามเป้าหมายของลูกค้า ”  ดร. กำพล  กล่าว

            ผู้บริหาร SCB พูดเรื่อง “กลยุทธ์รับมือภาษีที่ดินปี 2565” 

 

 

advertisement

SPOTLIGHT